9 ต.ค. 2562 1,973 130

นักศึกษาวิทยาลัยใน Alberta พัฒนา Wi-Fi Hot Spot เคลื่อนที่ได้ผ่านโดรน ช่วยให้การติดต่อในพื้นที่ห่างไกลราบรื่น

นักศึกษาวิทยาลัยใน Alberta พัฒนา Wi-Fi Hot Spot เคลื่อนที่ได้ผ่านโดรน ช่วยให้การติดต่อในพื้นที่ห่างไกลราบรื่น



ในสถานที่ห่างไกล ซึ่งไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้บริการ
การนำโดรนซึ่งปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi ดูจะเป็นความหวังของพวกเขา ซึ่งอยู่ระหว่างความเป็นความตาย กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาจาก Red Deer College สร้างโดรนต้นแบบซึ่งให้บริการ Wi-Fi แบบเคลื่อนที่ได้ ในการเชื่อมต่อของคนงานในพื้นที่ห่างไกล หรือทีมค้นหา กู้ภัย

พวกเขาเพิ่งได้รับการยอมรับจากสมาคมวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเทคโนโลยีแห่งอัลเบอร์ตา (ASET) สำหรับ Capstone Project of the Year Award ซึ่งมอบให้นักเรียนวิศวกรรมเทคโนโลยี

โฉมหน้าสมาชิกโครงการ Denon Magnes, Austin Smith, Jonathan Wong, Austin Wong, Kyler Sereda และ Garrett Stewart (จากซ้ายไปขวา) ภาพจาก Calgary

ในขณะที่ Jonathan Wong หนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมคิดค้น ยอมรับว่าโดรนสามารถเข้ามาช่วยให้ชีวิตของคนที่กำลังต้องการความช่วยเหลือดีขึ้น

โครงการนี้ ค่อนข้างมีประโยชน์สำหรับสถานที่ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร และไม่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือเลย ยกตัวอย่างเช่น บริษัทขุดเจาะและสำรวจ ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นหาและกู้ภัย

ในบางสถานที่ ไม่สามารถเข้าถึงได้เลยจริง ต้องปีนเขาเท่านั้น ขับรถผ่านไม่ได้เลยก็มี ดังนั้นโดรนจะบินไปได้ทุกที่  และให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ โดยมีน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม โดย Wi-Fi Hotspot นี้ ติดตั้งอยู่บนโดรนขนาดเล็ก มีอุปกรณ์เพิ่มการรับส่งสัญญาณของเซลล์ ให้บริการบนระดับความสูง 200 ฟุต เพื่อให้บริการผู้ที่ต้องการโทรและส่งข้อความขอความช่วยเหลือ

การนำโดรนมาให้บริการ Wi-Fi นั้นคล่องตัวกว่า เพราะขึ้นและลงจอดง่าย ชาร์จไฟใหม่ได้ โดยมีแผ่นรองชาร์จ เน้นใช้กรณีฉุกเฉิน ในภูมิประเทศที่เป็นป่า หรือเดินทางไม่สะดวก หรือเดินทางผ่านไม่ได้เลย ในบางสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องการการติดต่อ แต่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตเลย ถ้าแบบนี้ก็ทำให้ในป่าในสัญญาณเน็ตได้

แล้วสัญญาณเน็ต เอามาจากที่ไหนล่ะ?

บอกได้เลยว่า ต้องมีเสาสัญญาณมือถือ หรืออาจจะต้องเชื่อมกับโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมอีกที ซึ่งบางพื้นที่สร้างเสาไม่ได้ รถส่งสัญญาณก็เข้าไปไม่ได้ อาจจะต้องจอดรถส่งสัญญาณไว้ในที่ที่ปลอดภัย แล้วเชื่อมโยงสัญญาณกัน ลงทุนน้อยกว่าตั้งเสาใหม่ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แถมใช้เวลาติดตั้งน้อยกว่า ไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ และเข้ามาช่วยในการติดต่อสื่อสาร แทนที่จะใช้โทรศัพท์ผ่านดาวเทียม

แม้จะเป็นการทดสอบต้นแบบ แต่ก็ยังไม่มีแผนในอนาคต โปรเจคโดรนนี้น่าสนใจเพราะลองทดสอบในสภาพอากาศ -20 องศามาแล้ว ผ่านการทดสอบได้สบายๆ และแม้ว่าจะเป็นโครงการ 1 ใน 8 โปรเจคที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล กับ 1 ผู้ชนะ และ 7 ผู้เข้ารอบ แต่ก็ทำให้ Barry Cavanaugh, CEO ของ ASET ประทับใจกับแนวคิดนี้มากๆ  เพราะเป็นโครงการกู้โลก ช่วยเหลือมวลชนสาธารณะ

รางวัล The Capstone Awards ก่อตั้งขึ้นในปี 2560 เพื่อจัดแสดงโครงการของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจาก Red Deer College, Lethbridge College, สถาบัน Southern Alberta Institute of Technology และ Northern Alberta Institute of Technology

calgaryherald

COMMENTS