8 พ.ย. 2562 3,283 92

การบริหารโครงข่ายร่วมกัน หรือ Dynamic Spectrum Sharing จุดเปลี่ยนของการจัดสรรคลื่นความถี่

การบริหารโครงข่ายร่วมกัน หรือ Dynamic Spectrum Sharing จุดเปลี่ยนของการจัดสรรคลื่นความถี่

เทคโนโลยีนี้เป็นส่วนหนึ่งของ 3GPP Release 15 แต่ปัจจุบันจำเป็นจะต้องพัฒนาและปรับอุปกรณ์เครือข่ายและอุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถใช้งานได้ โดยอุปกรณ์ 5G ใน Gen แรก ใช้งานต่อไม่ได้ แต่ Gen 2 สามารถใช้โซลูชั่นของ Ericsson ในงาน MWC LA สามารถทำงานร่วมกันระหว่าง 4G และ 5G เพื่อให้ใช้งานได้อย่างราบรื่น

ข้อดีของ Dynamic Spectrum Sharing คือการใช้งานทั้ง 4G และ 5G ได้ในคลื่นเดียว แต่แบ่งพื้นที่จำกัดการปล่อยคลื่น ให้เสาส่งสัญญาณ 4G ให้บริการผู้ใช้ในบางพื้นที่ และให้มือถือหรืออุปกรณ์ที่รองรับ 5G ใช้งานได้ในคลื่นเดียวกัน

ในขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการ ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ และผู้ผลิตชิปมือถือ มองว่าเป็นจุดเปลี่ยน (game-changer) เพราะทำลายข้อจำกัดที่มีมากกว่า 2 ทศวรรษลงได้ ซึ่งทำให้การเปลี่ยนผ่านระหว่าง 2G ไป 3G และ 3G ไป 4G ยังช้ามาก ซึ่ง Dynamic Spectrum Sharing จะยอมให้มือถือ 4G และ 5G สามารถทำงานพร้อมกัน ในแทบทุกความถี่ที่ใช้บน 4G ปัจจุบัน

โมเด็ม ชิปรุ่นใหม่ ทำให้การทำงานแบบ multimode ราบรื่นขึ้น ประสิทธิภาพดีขึ้น

Qualcomm Snapdragon X55 5G modem ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานรับส่งสัญญาณ 5G mmWave, รับส่งสัญญาณคลื่น RF สำหรับ 5G sub-6 GHz และ LTE, และ sub-6 GHz RF front-end modules เพื่อใช้งานได้ทุกย่านความถี่หลัก

Dynamic Spectrum Sharing เป็นทางออกที่พิสูจน์ให้เราเห็นว่า 5G มีการเติบโตที่รวดเร็วกว่า 4G และควรเติบโตอย่างก้าวกระโดด บนความเร็วระดับ Gigabit ต่อวินาที เราอาจไม่ได้พูดเรื่องความเร็วในการดาวน์โหลด แต่เรามองไปถึงระบบที่ฉลาดขึ้น ด้วยความล้ำหน้าจาก Qualcomm และ Ericsson

ปี 2020 ปีแห่ง Dynamic Spectrum Sharing ที่จำเป็นสำหรับ
(คลื่น) ถนนทุกสาย

อีกไม่กี่เดือนก็จะหมดปี 2019 แล้ว การพัฒนาไปสู่ 5G กำลังจะเริ่มต้นขึ้น ดังนั้น Dynamic Spectrum Sharing จะช่วยให้การเปลี่ยนผ่าน ไวขึ้น  โดยมี snapdragon X55 บนมือถือ 5G ในปีหน้า การเปลี่ยนผ่านจาก 4G ไปใช้ 5G จะรวดเร็วกว่าที่เคยและราบรื่นกว่าตอนเปลี่ยนผ่านจาก 3G เป็น 4G

futurumresearch

microwavejournal

ttswireless.com

COMMENTS