หลายๆ องค์กร จึงเริ่มมีการนำดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ในการทำงานในแต่ละส่วนงาน เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งหากมองจากเทรนด์ของเทคโนโลยี หรือดิจิทัลในปีต่อๆ ไปนั้น จะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในธุรกิจมีแต่จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในอนาคต แล้วเราจะช้าได้อย่างไร? ในหลายๆ องค์กรก็ได้มีการจัดตั้งทีม “Digital Transformation” เพื่อผลักดันการปรับปรุงกระบวนการการทำงานให้ตอบรับกับยุคดิจิทัลมากยิ่งขึ้น บางองค์กรเน้นที่การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ หรือบางองค์กรเริ่มต้นจากการปรับปรุงกระบวนการและต่อยอดด้วยการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาเสริม ในขณะที่บางองค์กรมุ่งเน้นที่การพัฒนาศักยภาพของพนักงานในองค์กร โดยมีการผสมผสานเรื่องของดิจิทัลเข้ากับตัว Corporate Culture เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าใจและเข้าถึงดิจิทัล โดยมุ่งหวังให้ สามารถนำดิจิทัลไปใช้ในการทำงานและกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในทุกๆ วัน
กระแสของความ “เร็ว” จะหมุนตามอย่างไรให้ทัน
PTT Global Chemical หรือ GC ผู้นำธุรกิจด้านเคมีภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เห็นถึงกระแสความรุนแรงของพายุดิจิทัล รวมถึงตัว GC เองนั้น มีความต้องการที่จะพัฒนา ปรับเปลี่ยนกระบวนการการทำงานอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และ พัฒนาศักยภาพบุคลากรในองค์กร ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสบการณ์ที่ดีที่สุด
GC จึงได้จัดตั้งทีม Digital Transformation ขึ้นมาตั้งแต่ปลายปี 2560 โดยมีแนวคิดในการสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบ Triple Transformation นั่นคือ Business, Technology และ Organization Transformation โดยหากลงรายละเอียดในด้านการพัฒนาบุคลากร GC ในภาพของการทำ Digital Transformation GC ได้มีการหยิบนำโมเดลการทำงานแบบใหม่ ที่เรียกว่า “Hackathon” ภายใต้ชื่อของโครงการ GC Shark Tank เข้ามาใช้ โดยในปีนี้ จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งโครงการ GC Shark Tank นี้ นอกเหนือจากผลลัพธ์ปลายทางที่เป็นลูกค้าแล้วนั้น ตัวพนักงานเองก็จะเกิดความคุ้นชินกับการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ ภายใต้ข้อจำกัดขีดเส้นใต้ตัวหนาไว้ว่า “เวลา” นั่นเอง
“อย่างที่ทุกคนทราบว่าตอนนี้การแข่งขันของธุรกิจเคมีภัณฑ์มีความรุนแรงสูงมาก ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศอีกทั้งผลกระทบที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆของ Digital Disruption รวมทั้งปัจจัยภายนอกที่ไม่เราไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เราจะต้องเตรียม GC ให้พร้อมที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปภายใต้ความท้าทายต่างๆ เป็นที่มาของกลยุทธ์ 3 Steps ของ GC คือ Step Change/Step Out/Step Up ภายใต้แนวความคิด สานต่อและต่อยอด สานต่อสิ่งที่ทำได้ดีอยู่แล้ว และต่อยอด แสวงหาสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการลงทุนเพื่อนำพา GC ให้เติบโตแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน
ในส่วนของกลยุทธ์ 3 Steps นั้น Step Change คือการสานต่อการทำบ้านให้แข็งแรง รักษามาตรฐานการผลิต เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และต่อยอดขยายธุรกิจเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งเน้นสร้าง High Value Business เพื่อเพิ่มมูลค่า Step Out คือการตั้งเป้าเติบโตในระดับสากล สานต่อการสร้างบ้านหลังที่ 2 ในต่างประเทศให้สำเร็จ และต่อยอดเข้าสู่ธุรกิจใหม่ผ่านทาง M&A เพื่อสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด และสุดท้าย Step Up คือสานต่อความมุ่งมั่นในการสร้างองค์กรที่ยั่งยืน ซึ่งปีนี้ GC ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ของโลกด้านความยั่งยืนในกลุ่มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และอยู่ในระดับ Top 10 ของ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) หรือ ดัชนีประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 7 และเราจะต่อยอดให้เรื่องความยั่งยืนให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจและกระบวนการทำงาน โดยมีการตั้งเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน
อีกหนึ่งสิ่งที่่ GC ให้ความสำคัญคือ บุคคลากร เราสานต่อการปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง เพื่อหล่อหลอมให้พนักงานเป็นคนดี และยกระดับเพิ่มขึ้นในเรื่องความเก่ง ความรอบรู้ เพื่อเตรียมให้คนของเรามีความพร้อมรับกับสถานการณ์หรือเทคโนโลยีที่จะมีการเปลี่ยนไปในอนาคต
นอกจากนี้เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต รวมถึงเรื่องของ Digital Disruption GC เองมี กำหนดแผนงานในเรื่องของ Digitalization ที่ชัดเจน โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 Fundamental Uplift เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้คนของเรา รวมทั้งปรับปรุงให้ infrastructure ต่างๆมีรากฐานที่แข็งแรงขึ้น ระดับที่ 2 Digital Transformation of Process คือ การนำ digital มาใช้ในกระบวนการทำงาน เช่น การใช้ Advance Analytic เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สร้างกระบวนการทำงานให้มี Agility มากขึ้น ระดับที่ 3 คือ Digital Transformation of Business คือ การต่อยอดเข้าสู่ธุรกิจใหม่ๆ”
ดร. คงกระพัน อินทรแจ้ง Chief Executive Officer (CEO)
องค์กรไหนๆ ก็แห่กันทำ Hackathon แล้วที่ GC แตกต่างกันอย่างไร
Hackathon มาจากรากฐานของคำว่า Hack + Marathon ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการไอที และสตาร์ทอัพ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด คำถามคือ “แล้วเราจะหาปัญหาเหล่านั้นมาจากไหน แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าปัญหาเหล่านั้น มีคุณภาพ เหมาะสมที่จะนำมาแก้ไขรึเปล่า” ทำให้ที่ GC มีแนวคิดของการทำ Hackathon Model ว่า คนที่จะสามารถเข้าใจถึงปัญหาได้อย่างถ่องแท้ รวมถึงหาโอกาสในการแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้ดีที่สุด คือตัวพนักงานที่อยู่หน้างานเอง GC Shark Tank จึงเปิดโอกาสให้พนักงาน GC ทุกคน รวมถึงพนักงานในกลุ่มบริษัทย่อย ส่งไอเดียที่ต้องการจะแก้ไข "Pain point" หรือพัฒนากระบวนการการทำงานเข้ามา โดยไอเดียนั้นจะต้องสามารถแก้ไขได้ด้วย Digital Tool
บทสัมภาษณ์ TFE - ทิศทางของดิจิทัลใน GC + เหตุผลที่ดึงการทำงานแบบสตาร์ทอัพ เริ่มจากเล็กๆ แล้วค่อย scale up ให้ใหญ่ขึ้น
“เรามองว่าเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือหรือว่า enabler ที่ช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น เร็วขึ้น ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่เราให้ความสำคัญที่สุดในตอนนี้ เรามองว่าสุดท้ายแล้ว Digital Transformation เริ่มที่ คน ไม่ใช่เทคโนโลยี เราจึงได้มีกระปรับกระบวนการหลายๆ อย่างในองค์กร เพื่อสนับสนุนการทำงานรูปแบบใหม่นี้ให้เกิดขึ้นได้จริง เพื่อให้เป็น norm เข้าไปอยู่ใน culture การทำงานของคน GC ในทุกวันๆ”
ฉัตรสุดา กาญจนรัตน์ Senior Vice President Transformation Excellence
ความแตกต่างคือ เพื่อให้พนักงานได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ รวมถึงอัพสกิลของตัวเอง การเดินทางในเวที GC Shark Tank นี้ ใช้เวลาทั้งสิ้นกว่า 5 เดือนเต็ม ในตอนเริ่มต้น ไอเดียกว่า 200 ไอเดียหลั่งไหลเข้ามาจากหลายสายงาน องค์กรได้มีการคัดเลือกให้เหลือ 30 ไอเดีย โดยครอบคลุมทั้งฝั่ง Production และ Corporate หลังจากนั้น ทั้ง 30 ทีมกว่า 120 ชีวิต ทั้งจากสายงานเดียวกัน หรือ Cross Functional ได้มีโอกาส Reflect และ Re-Think กับผลงานตัวเองผ่าน Design Thinking Workshop สุดเข้มข้น เป็นเวลา 2 วันเต็ม เพื่อเค้นหา Root cause และ User Experience ที่แท้จริงของแต่ละปัญหา
ซึ่งหลังจากจบคลาสเรียนในวันนั้น เหล่าพนักงานจำเป็นจะต้องกลับไปทำการบ้านเพิ่มเติม ในการทำ User interview และกลับมาทดลองสนามที่เหล่าสตาร์ทอัพทุกคนต้องเจอนั่นคือการ pitching ต่อหน้ากรรมการคนในและคนนอกองค์กร ภายใต้เวลาจำกัดเพียง 4 นาที ทำให้พนักงานแต่ละคนจำเป็นจะต้องดึงศักยภาพของตัวเองออกมาให้ได้มากที่สุด
กว่า 200 คัดเหลือ 30 เค้นจนเหลือ 10 ทีมสุดท้าย เข้าสู่รอบ Final นอกเหนือจากทั้ง 10 ทีม จะได้อัพสกิลในด้านการเข้าใจถึงปัญหา และหาวิธีการแก้ไขเบื้องต้น ผ่านคลาสเรียนเรื่อง Problem Statement & Solution Validation รวมถึงเปิดประสบการณ์การทำงานด้วยกันแบบ non-stop 48 ชั่วโมงแล้วนั้น สิ่งที่ได้มากกว่านั้น คือการพบกับ Internal & External Mentor จากหลากหลายสายงาน ไม่ว่าจะเป็น Strategy, Financial, Business Investor, Production, Data Scientist, Developer, Digital & Business Transformation และ UX/UI Designer กว่ายี่สิบชีวิต เพื่อช่วยกันกลั่นไอเดียเหล่านี้ ให้กลายเป็น Prototype ที่สามารถนำไป Pitch ต่อหน้าคณะกรรมการรอบตัดสิน เพื่อขอเงิน Funding สำหรับทำโปรเจคให้เกิดขึ้นจริง
“รู้สึกดีใจที่ไอเดียของเราได้รับเลือก และจะได้ทำต่อให้เป็นประโยชน์กับองค์กร ตลอดโครงการได้เห็นเห็นเปลี่ยนแปลงเยอะมาก ไม่ใช่เฉพาะกับไอเดียของเราเองที่พัฒนามาไกลมากจากวันแรก ลองผิดลองถูก เราได้คำแนะนำที่ดีมากจากทั้งผู้บริหาร และ mentor จากภายนอกช่วยทำให้ไอเดียเราคมขึ้นในเวลาสั้นๆ แต่เราได้เห็นวิธีการคิดของเราเองที่เปลี่ยนไปด้วย โดยเฉพาะเรื่องของการที่ต้องไปเข้าใจ user จริงๆ ไม่ได้เอาเทคโนโลยีนำหน้า และก็การที่เราต้องเอาไอเดียไป test จริงๆ เราไม่ได้ยึดติดกับไอเดียแรกที่เราส่งเข้ามา เพื่อให้ได้สิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ”
ภาณุพันธ์ บุญศิริรัช Division Manager, Maintenance Planning
กลุ่มคนเล็กๆ กับการสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กร
“Digital Transformation Starts with People, Not Tech เป็นสิ่งที่เราขีดเส้นเอาไว้ในการทำ Digital Transformation ที่ GC การสร้าง mindset รวมถึงเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมผ่านการลงมือทำ เห็นภาพรวม และมีโอกาสเรียนรู้วิธีการทำงานแบบใหม่ๆ คือความมุ่งหวังของการทำ Organizational Transformation ซึ่งจริงๆ แล้ว GC Shark Tank เป็นเพียง Mechanism ที่จะทำให้พนักงานเข้าใจเรื่องพวกนี้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เรานำโมเดล Hackathon เข้ามาใช้ เรามีการพูดคุยทำงานกับสตาร์ทอัพ เราออกไปค้นหาสิ่งใหม่ๆ ที่น่าสนใจ เรานำกลับมาประยุกต์ใช้ ทดสอบและเรียนรู้ ว่าสิ่งไหนใช่ไม่ใช่ เวิร์คไม่เวิร์คกับองค์กรของเรา ในการทำ Transformation เราไม่กลัวที่จะเฟล หากเฟล เราก็เรียนรู้และเริ่มใหม่ เราเริ่มเทสต์ไอเดียจากโปรเจคเล็กๆ ทดลองกันอย่างรวดเร็ว เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าไอเดียเหล่านั้นเวิร์คหรือไม่ ถ้าเวิร์คเราค่อยขยายต่อยอดออกไปให้ทั้งองค์กรได้ใช้งานจริง เพื่อให้เกิดเป็น impact ในภาพรวม และโมเดบเล็กๆนี้ จะเป็นเหมือนตัวสร้างแรงกระเพื่อมที่ทำให้คนทุกคนใน GC หันมาเข้าใจถึงการทำ Digital Transformation มากยิ่งขึ้น”
พิทักษ์ เหล่าแสงงาม Head of Digital Transformation
อย่างที่คุณพิทักษ์สรุปทิ้งท้ายว่า...การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ไม่สามารถทำได้เพียงคนด้วยหยิบมือ แต่พนักงานจะต้องเข้าใจ มองเห็นภาพรวม ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการทำไอเดียเหล่านั้นให้เป็นจริงได้นั้น นั่นหมายถึงว่า สิ่งที่องค์กรได้รับ จะไม่ใช่แค่ Business Impact แต่เป็นการพัฒนาทักษะและความรู้ของพนักงาน ไปสู่อีกขั้น ด้วยบุคคลากรที่เข้มแข็งนี้ จะทำให้ GC สามารถยืนหยัดในการเป็นผู้นำทางด้านเคมีภัณฑ์ต่อไป