1 ก.พ. 2563 3,094 739

สู้โคโรนาไวรัส Huawei และ Ericsson เร่งติดตั้ง 5G รอบโรงพยาบาลจีนภายใน 2 วัน ก่อนปิดพื้นที่เป็นจุดกักกันโรค

สู้โคโรนาไวรัส Huawei และ Ericsson เร่งติดตั้ง 5G รอบโรงพยาบาลจีนภายใน 2 วัน ก่อนปิดพื้นที่เป็นจุดกักกันโรค


เริ่มต้นที่ Huawei ได้เปิดเผยว่าได้ส่งทีมวิศวะเครือข่ายติดตั้งโครงข่าย 5G เป็นจำนวนมากกว่า 150 คน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่โรงพยาบาล ซึ่งในอนาคตพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นพื้นที่การกักกันโรคในอนาคต โดยเฉพาะในเขตอู่ฮั่นมีประชากรที่เสี่ยงติดเชื่อโรคดังกล่าว 11 ล้านราย

การติดตั้งโครงข่ายครั้งนี้เป็นการลากสายเคเบิลอินเทอร์เน็ตสายตรงแบบพิเศษแล้วส่งสัญญาณผ่านอุปกรณ์ 5G ทั้งโรงพยาบาล the Wuhan Vulcan Mountain Hospital,ร่วมทั้งจับมือกับโครงข่าย Hubei Mobile and Hubei Unicom.ใช้เวลาไม่ถึง 6 วัน

การดำเนินการดังกล่าวจะเป็นผลดีต่อการรับส่งข้อมูลทางการแพทย์ระยะไกล ที่ต้องมีความรวดเร็วที่สุดและมีความน่าเชื่อถือ เช่น การรับส่งข้อมูลการตรวจโรคเป็นต้น โดยทาง Huawei ได้เผยแพร่ภาพดังกล่าวถึงการติดตั้งอุปกรณ์โครงสร้างเพื่อฐานอย่างต่อเนื่อง

เช่นกันอีก 1 ค่ายที่ลงทุนในประเทศจีนนั้นคือ Ericsson เป็นผู้ที่ได้รับส่วนแบ่งในการติดตั้งโครงข่ายในประเทศจีน เดินหน้าเร่งติดตั้งอุปกรณ์ 5G เช่นกัน โดย Ericsson เร่งติดตั้งโรงพยาบาล Xunshan ซึ่้งรองรับผู้ป่วยได้ถึง 1000 เตียง โดยได้ติดตั้งสถานี 5G ชั่วคราว ตามจุดที่รัฐบาลจีนประกาศตั้งโรงพยาบาล เพื่อให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ได้รับความสะดวกให้มากที่สุด โดยโครงข่าย 5G ดังกล่าวเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

ภาพดังกล่าวเป็นภาพจากสื่อของประเทศจีนอย่าง C114 ระบุว่าทาง Ericsson ได้ติดตั้งระบบร่วมกับ Wuhan Mobile และ Wuhan China Unicom โดยใช้ระยะเวลาไม่ถึง 2 วันในการดำเนินการ

ที่ผ่านมานั้น กรณีการติดตั้งโครงข่ายในประเทศจีน มีสัดส่วนใหม่ของผู้ติดตั้งอุปกรณ์โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศจีนเริ่มเปลี่ยนไป เมื่อ HUAWEI เป็นผู้ชนะสัญญาติดตั้งโครงข่าย 5G ให้กับผู้ให้บริการอันดับที่ 1 อย่าง China Mobile โดยถือครองสัดส่วนร้อยละ 49% และที่เหลือแบ่งกับ Ericsson, Nokia และ ZTE

สิ่งที่ Huawei Technologies ต้องจัดหาอุปกรณ์ MME / SGSN (ทำหน้าที่บริหารจัดการสัญญาณควบคุม เชื่อมต่อทั้งอุปกรณ์ชุมสายโทรศัพท์) ร้อยละ 49 จากทั้งหมด และ SAE-GW / GGSN (จะทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ให้กับข้อมูลต่าง ๆ ในการรับส่งออกจากเครือข่าย) ร้อยละ 54 จากทั้งหมด (ที่เหลือเป็นหน้าที่ของ Ericsson และ ZTE) ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์หลักที่จำเป็นต่อการทำงานระบบโครงข่าย 5G ซึ่งต้องรับส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 5G


ถัดจากนั้น Ericsson ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ของสวีเดน ต้องจัดหาอุปกรณ์ MME / SGSN ร้อยละ 34 จากทั้งหมด และ SAE-GW / GGSN ร้อยละ 34 จากทั้งหมด

นอกจากนั้น Nokia ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ของฟินแลนด์ ต้องจัดหาอุปกรณ์ MME / SGSN ร้อยละ 12 จากทั้งหมด และ SAE-GW / GGSN ร้อยละ 9 จากทั้งหมด

ด้าน ZTE ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ของจีน ต้องจัดหาอุปกรณ์ MME / SGSN ร้อยละ 5จากทั้งหมด และ SAE-GW / GGSN ร้อยละ 3 จากทั้งหมด



ข้อมูล  shine  gizmochina  zdnet  gizmochina  businessinsider richardker

COMMENTS