ซึ่งเหตุกาณ์ภายในประเทศจีนขณะนี้ทางรัฐบาลสนับสนุนให้มีการใช้การระบบสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะการใช้งานผ่านโครงข่าย 5G บนคลื่น 3300 MHz ในการติดต่อสื่อสารระหว่างแพทย์ โรงพยาบาล และผู้ป่วย รับผู้ป่วยทั้งกลางวันและกลางคืน
เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยบางรายที่ติดเชื้อโรคโคโรนา อาจเกิดเหตุหัวใจวายในขณะรักษาได้ ซึ่งอาการเหล่านี้ต้องอาศัยการติดต่อผู้เชี่ยวชาญระยะไกลอย่างใกล้ชิด เช่น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง ได้แปลงห้องรักษาผู้ป่วยใช้เทคโนโลยี 5G, AI และ AR ในการตรวจสอบผู้เชี่ยวชาญระหว่างโรงพยาบาลกับส่วนกลางของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด ส่งภาพและเสียงในภาพถ่าย 360 องศา
ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่กักกัน ทำให้ไม่สามารถเดินทางได้อย่างสะดวก
นอกจากนี้เทคโนโลยี 5G ยังทำให้ญาติของผู้ป่วยสามารถติดต่อกับผู้ป่วยและโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด ลดความกังวลของผู้ป่วยได้เช่นกัน ลดความแออัดของประชาชนที่เข้ามาใช้บริการของโรงพยาบาลขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยระบบดังกล่าวเริ่มติดตั้งเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2563
นอกจากนี้ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) ในมณฑลกวางตุ้ง ประกาศใช้เทคโนโลยีในการคำนวนระยะเวลาในการวิเคราะห์ยีนไวรัสได้ไม่เกินชั่วโมง โดยได้ร่วมมือกับทาง Baidu มาช่วยเรียบเรียงยีนกับนักวิทยาศาสตร์ โดยจัดทำโครงสร้างผลการทำนาย 2019-nCoV RNA และการนำเทคโนโลยี AI มาช่วยมนุษย์ในการสังเกตเชื้อโรค
นอกจากนี้ China Mobile ได้ร่วมกับ thepaper ถ่ายทอดสด เกาะติดการสร้างโรงพยาบาลเฉพาะกิจสำหรับการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยใช้เทคโนโลยี 5G ในการถ่ายทอดสดการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง (สามารถรับชมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=fbi3n258KtY)
อีกหนึ่งผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมอย่าง ZTE ได้ติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคม 5G ใช้เพื่อประสานงานระหว่างทีมแพทย์ระหว่างโรงพยาบาลเวสต์ไชน่าและศูนย์คลินิกสาธารณสุขเฉิงตูของมหาวิทยาลัยเสฉวนในระยะทางมากกว่า 1,155 กิโลเมตร (718 ไมล์) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกๆ ของโลกที่วินิจฉัยโรคระยะไกลผ่าน 5G อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐต่อเนื่อง
ข้อมูล kenh14 tinnongmoingay pscp venturebeat Ruantian1234 lanacion lta.reuters globaltimes digitimes