11 ก.พ. 2563 9,036 1,047

ทั่วโลกเตรียมเฮ 5G รูปแบบใหม่ DSS ดึงคลื่นมาผสมกันแรงทะลุตึก ลดค่าใช้จ่ายประมูลคลื่นความถี่

ทั่วโลกเตรียมเฮ 5G รูปแบบใหม่ DSS ดึงคลื่นมาผสมกันแรงทะลุตึก ลดค่าใช้จ่ายประมูลคลื่นความถี่



การให้บริการ dynamic spectrum sharing (DSS) เป็นการให้บริการในรูปแบบใหม่ที่ทำให้ผู้ประกอบการทั่วโลกให้ความหวัง เนื่องจากช่วยลดค่าใช้จ่ายในการประมูลคลื่นความถี่



ล่าสุด Vodafone ได้เริ่มเอาความคิด DDS มาทดสอบแบ่งปันคลื่นความถี่ต่ำจำนวนถึง 2 ความถี่ อย่าง 700 MHz และ 800 MHz มาไดนามิกซึ่งกันและกัน ในเมือง Düsseldorf ประเทศเยอรมนี โดยทดสอบคลื่นความถี่ภายในห้องปฏิบัติการ Ericsson, Huawei และ Qualcomm ในมาตราฐาน 3GPP Release 15 เป็นคลื่นที่ให้บริการ 4G LTE มาให้บริการแบบ 5G แบบไดนามิก

คลื่น 800 MHz จะถูกใช้ความถี่ในรูปแบบ “anchor band,” ในขณะที่คลื่น 700 MHz สามารถนำมาใช้งานคลื่น 4G และ 5G ซึ่งผลของการไดนามิกคลื่นกันจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถจัดสรรคลื่นความถี่ได้ ซึ่งรองรับอุปกรณ์โครงข่ายอย่าง Ericsson และ Huawei กับแพลตฟอร์มทดสอบมือถือ X55 ของ Qualcomm สามารถส่งมอบความเร็วสูงถึง 7 Gbps มากกว่า 5G และ 2.5 Gbps สำหรับ Cat 22 LTE

หากไม่มีการใช้ DSS ผู้ให้บริการจะต้องแยกคลื่นความถี่ 20 MHz แบ่งเป็น 10 MHz ให้บริการ 4G และ 10 MHz ให้บริการ 5G ซึ่งเหลือให้บริการ 5G น้อยจนเกินไป

เมื่อใช้ DSS แล้ว ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ไม่ต้องแยกคลื่นความถี่ 5G และ 4G LTE อีกต่อไป พวกเขาสามารถแบ่งปันเทคโนโลยีนี้ได้ทันทีบนความกว้างของคลื่น 20 MHz

ข้อดีของการเทคนนิคนี้นอกเหนือจากการจากลดต้นทุนการประมูล 5G ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเบื่อของผู้ประกอบการ เนื่องจากต้องยกเครื่องเปลี่ยนอุปกรณ์กระจายสัญญาณและการประมูลคลื่นความถี่ในแต่ละครั้งมักประสบปัญหาเรื่องราคาแพงแล้วนั้น เทคนิคนี้ยังสามารถทำให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนข้อมูลเพียงอัพเกรดซอฟต์แวร์เท่านั้น

ที่สำคัญ DDS เมื่อดำเนินการในคลื่นความถี่ต่ำ ก็จะทำให้การบริการ 5G สามารถให้สัญญาณครอบคลุมเหมือนสมัยให้บริการ 2G และ 3G เช่นเดิม คลื่นสัญญาณสามารถทะลุอาคารได้เช่นเดิม

เช่นเดียวกันผู้ประกอบการในประเทศสหรัฐอเมริกา อย่าง Verizon เตรียมให้บริการ 5G ในรูปแบบ DSS ภายในปี 2020 ทันที โดยการใช้คลื่น 600 MHz เป็นหลัก แล้วใช้คลื่น 700 MHz, 800 MHz ในการดำเนินการ “anchor band,” เพื่อเป็นการ 5G “layer cake” โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้

- 5G แบบคลื่นความถี่สูงอย่าง millimeter เช่น คลื่น 24 GHz หรือ 28 GHz เป็นคลื่นความถี่ที่มีระยะกระจายสัญญาณสั้นมากๆ แต่มีความเข้มข้นของ 5G สูง จะวางเป็นฮอตสปอตเล็กๆ ทั่วเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมากๆ
- 5G ที่ได้จากการทำ DDS นั้นจะเป็นคลื่นที่กระจายสัญญาณได้ทั่วประเทศ

โดยทางโครงข่ายจะทำการอัพเกรดซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในปี 2020 เพื่อให้บริการ 5G ซึ่งสอดคล้องกับ 5G FDD ในเชิงพาณิชย์ในปี 2020

การดำเนินการในครั้งนี้จะทำให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคม 5G ดำเนินการในการให้บริการการแบ่งปันคลื่นความถี่อย่างต่อเนื่องภายในปี 2020

ข้อมูล techblog.comsoc  techinvestornews  vodafone  phonescoop  sea.pcmag  saschasegan  fiercewireless  techradar

COMMENTS