16 ก.พ. 2563 3,829 335

สรุปผลการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการโทรคมนาคม ย่าน 700 MHz 2600 MHz และ 26 GHz อย่างเป็นทางการ

สรุปผลการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการโทรคมนาคม ย่าน 700 MHz 2600 MHz และ 26 GHz อย่างเป็นทางการ

ใครประมูลคลื่นไหนบ้าง?


สรุปผลจากการประมูล

รวมเวลาประมูล 5 ชั่วโมง 35 นาที (วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ประกาศรับรองผลการประมูล)

รายละเอียดคลื่นความถี่ 

คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz

จำนวน 3 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 440 ล้านบาท

  • 51,460 ล้านบาท
  • เคาะราคา 20 ครั้ง

CAT Telecom ประมูลได้ 2 ชุด ย่าน 738-748MHz / 793-803MHz ราคาสุดท้าย 34,306 ล้านบาท เงินประมูลรวม 34,306,000,000 บาท  

AIS (AWN) ประมูลได้ 1 ชุด ย่าน 733-738MHz / 788-793MHz ราคาสุดท้าย 17,153 ล้นบาท ผลรวมราคาที่เสนอ 1,000,000 บาท เงินประมูลรวม 17,154,000,000 บาท

รวม 51,459 ล้านบาท รวมราคาที่เสนอ 1,000,000 บาท (51,460,000,000 บาท)

 

คลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz

จำนวน 19 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 1,862 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 93 ล้านบาท

  • 37,164 ล้านบาท เคาะราคา 2 ครั้ง

AIS (AWN) ได้ 10 ชุด ย่าน 2500-2600MHz ราคาสุดท้าย 19,560 ล้านบาท รวมราคาที่เสนอ 1,000,000 บาท เงินประมูลรวม 19,561,000,000 บาท 

TRUE ได้ 9 ชุด ย่าน 2600-2690MHz ราคาสุดท้าย 17,604 ล้านบาท รวมราคาที่เสนอ 268,888,888 บาท เงินประมูลรวม 17,872,888,888 บาท

รวมราคาสุดท้าย 37,164 ล้านบาท ราคาที่เสนอ 269,888,888 บาท เงินประมูลรวม 37,433,888,888 บาท

 

คลื่นความถี่ย่าน 26 GHz

จำนวน 27 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 423 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 22 ล้านบาท

  • 11, 570 ล้านบาท เคาะราคา 1 ครั้ง

AWN 12 ชุด ย่าน 25.2 - 26.4GHz ราคาสุดท้าย 5,340 ล้านบาท ผลรวมราคาที่เสนอ 5,000,000 บาท เงินประมูลรวม 5,345,000,000 บาท

TUC 8 ชุด ย่าน 24.3 - 25.1GHz ราคาสุดท้าย 3,560 ล้านบาท ผลรวมราคาที่เสนอ 16,888,888 บาท เงินประมูลรวม 3,576,888.888 บาท

TOT 4 ชุด ย่าน 26.4 - 26.8GHz ราคาสุดท้าย 1,780 ล้านบาท ผลรวมราคาที่เสนอ 15,000,000 บาท เงินประมูลรวม 1,795,000,000 บาท

DTN 2 ชุด 26.8-27.0GHz ราคาสุดท้าย 890 ล้านบาท ผลรวมราคาที่เสนอ 20,400,001 บาท เงินประมูลรวม 910,400,001 บาท

รวมราคา 11,570 ล้านบาท ผลรวมราคาที่เสนอ 57,288,889 บาท เงินประมูลรวม 11,627,288.889 บาท 

รวมราคาประมูลทั้งหมด 100,521,177,777 บาท (ไม่รวม VAT)

คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ไม่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูล

Live แถลงข่าวผลการประมูล 

เจาะความเห็น รมว. DES เรื่อง CAT และ TOT หลังเสร็จสิ้นการประมูล 5G

ฟังจากปาก "พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) เผยความเห็นเรื่อง CAT และ TOT หลังเสร็จสิ้นการประมูล

หลังจากที่การประมูลเสร็จสิ้นลง ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงรัฐวิสาหกิจอย่าง กสท. (CAT) และ TOT ซึ่งเข้าร่วมประมูล 5G คลื่น 700MHz 1800MHz 2600MHz 26GHz พุทธิพงษ์ มองว่า ทั้ง 2 องค์กร ควรหาช่องทางในการทำธุรกิจของตัวเองในอนาคตด้วย

ทั้ง 2 องค์กร มีการดูแลตนเอง มีการทำระบบบัญชี การเงิน แผนงานทางธุรกิจของตนเอง รัฐเพียงเปิดโอกาสให้บริษัทฯ นำไปสู่การพัฒนาในอนาคต แม้จะได้คลื่น ทั้ง 700MHz 26GHz ทั้ง 2 ควรไปดูแผนธุรกิจตนเองว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร ถ้าพัฒนาดีๆ สามารถนำไปรองรับ 5G ได้ รวมไปถึงแนวทางในการขยายอุปกรณ์ในอนาคตด้วย ซึ่งต่อไปต้องอัพเกรดอุปกรณ์ในอนาคตด้วย

การประมูลครั้งนี้ ทั้ง 2 องค์กร คิดภายใต้กรอบที่ตนเองวางไว้ ภาครัฐไม่ได้เข้าไปสนับสนุนอะไร เพราะเป็นธุรกิจของเขาอยู่แล้ว เขาสู้ในกรอบที่เขาสู้ได้ ในองค์ประกอบ ภาระหนี้สินต่างๆ ไม่ได้เกินตัว

ก่อนหน้านี้เรามีโอเปอเรเตอร์ 2 - 3 เจ้า ต่อจากนี้ไป CAT - TOT ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย ทำให้ในตลาดมีโอเปอเรเตอร์ที่แข่งขันกันมากขึ้น ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการแข่งขัน เป็นโอกาสทางธุรกิจ เพื่อหางานใหม่ๆ เข้ามา จากรายได้เดิมๆ ที่มาจากสัมปทาน ก็ต้องปรับตัว พนักงานสวัสดิการ ก็จะมีความหวัง

"ไม่อยากให้มอง CAT - TOT เป็นรัฐ อยากให้มองเรื่องการแข่งขันมากกว่า" ยิ่งมีการแข่งขันยิ่งดี รัฐไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือ สนับสนุนอะไร เป็นโอกาสในการสร้างการแข่งขันให้ขึ้นมาเป็นโอเปอเรเตอร์ในสายตาของประชาชนได้ ต้องทำให้ประชาชนเห็นให้ได้

CAT-TOT จำเป็นต้องปรับตัว ต้องฝึกอบรมพนักงาน ขยายความสามารถขององค์กร ไม่งั้นก็รอวันเกษียณ หรือวันเปลี่ยนงาน เมื่อมีการควบรวมในอนาคต ข้อดีคือมีคลื่นครบเทียบเท่าโอเปอเรเตอร์ยักษ์ใหญ่ได้เลย

นักข่าวถาม ที่แยกกันประมูล น่าจะปรึกษากันมาก่อนไหม พุทธิพงษ์มอง วันนี้ยังไม่มีการควบรวม ทุกวันนี้ทั้งสองบริษัทฯ ประมูลกันตามกำลังของตนเอง ต่างคนต่างเป็นองค์กรมหาชนของตนเอง มีบอร์ด มีหน้าตักของตนเองตามที่เขาคิดมา

บทบาทและโอกาสของการพัฒนาดิจิทัล

การพัฒนา 5G ไม่ใช่การพัฒนาเครือข่ายสำหรับโทรศัพท์มือถืออีกต่อไปแล้ว แต่ใช้ในภาคประชาสังคม การศึกษา เกษตร คมนาคม รวมไปถึงสาธารณสุข รองรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรม IoT AI ต่างๆ ให้พี่น้องประชาชนได้ใช้ 5G สนับสนุนสังคมได้มากขึ้น

วันนี้คือจุดเริ่มต้นของ CAT, TOT หลังจากได้คลื่นมาแล้ว จะเอาคลื่นไปใช้ประโยชน์อย่างไร

ส่วนการควบรวม นับจากวันกำหนดควบรวม 6 เดือน ตามมติครม ไม่มีการปรับลดพนักงาน ตอนนี้แนวโน้มดี พนักงานแฮปปี้ ก่อนหน้านี้ 10 กว่าปี สหภาพไม่เคยเห็นด้วยเลย วันนี้นโยบายน่าสนใจ พนักงานในองค์กร ในสหภาพยอมรับได้

มีอีกประเด็นคือการจัดการ Fake News

สถานการณ์ Fake News ตอนนี้ บอกตรงๆ วิ่งตามยังไงก็ไม่หมด แม้จะมีศูนย์ต่อต้าน Fake News ต้นเหตุขึ้นอยู่กับคนที่ทำและคนที่แชร์ แต่ประชาชนก็รู้กันแล้ว แนวโน้มน้อยลง ประชาชนตื่นตัวขึ้น คิดก่อนแชร์ ถ้าไม่แน่ใจที่มาของข่าว ก็ไม่แชร์ Fake News ก็หยุดตรงนั้น ทำให้ Fake News น้อยลง รัฐและกฎหมายทำได้ระดับนึง ประชาชนเข้าใจมากขึ้น

สิ่งที่เป็นห่วงมากๆ คือไม่สามารถจัดระบบสื่อออนไลน์ได้ เพราะประชาชนเป็นเจ้าของบัญชีออนไลน์ใดก็ได้ สิ่งที่กังวลคือเยาวชนและเด็ก จะต้องให้ความรู้ในการใช้ Social Media ในการเข้าถึงสิ่งที่ไม่เหมาะสม การซื้อขายของออนไลน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก เมื่อก่อนมีกำหนดเกณฑ์อายุ รัฐก็ยังเข้าไปควบคุมแพล็ตฟอร์มเอกชนไม่ได้

ถอดคำพูด "พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) โดยเว็บไซต์ adslthailand 16 ก.พ. 63

COMMENTS