ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเทคโนโลยี ที่เริ่มทดลองให้บริการในพื้นที่เดนมาร์กในรูปแบบ end-to-end โดยเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากพัฒนาโครงสร้างร่วมกันแล้วยังสามารถนำทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดคือคลื่นความถี่มาแบ่งปันการให้บริการกับลูกค้าเช่นกัน ครอบคลุมการให้บริการ 2G ถึง 5G
โดยการทดสอบระบบในครั้งนี้สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดคือ การรวมทั้งทรัพยากรคลื่นความถี่ เทคโนโลยี 5G แบบ end-to-end ของ Nokia รวมถึง 5G RAN และ 5G cloud core เนื่องจากคลื่น 5G ที่นิยมใช้กันนั้น มักจะให้ได้ในบริเวณที่มีความหนาแน่นสูง ส่งผลให้ต้องทำโครงข่ายขนาดเล็กๆ และบริหารความถี่ร่วมกันหลายสถานีฐาน ประหยัดทั้งเงินด้านค่าเช่าพื้นที่, ค่าไฟฟ้าและค่าดำเนินการ
Tommi Uitto ดำรงตำแหน่ง President of Mobile Networks at Nokia กล่าวว่า การแยกติดตั้งโครงข่าย 5G ของผู้ให้บริการ ถือเป็นเรื่องที่มีราคาแพงยังไม่พอยังต้องมาแข่งขันการตลาดระหว่างกันอีก จึงทำให้ไม่ส่งผลดีกับผู้ประกอบการและขยายโครงข่ายได้รวดเร็วมากกว่าเดิม ดังนั้น การทดลองการให้การใช้โครงข่ายร่วมกันถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุด ซึ่งทาง NOKIA หวังว่าจะตัวอย่างที่ดีสำหรับการนำร่องการลงทุนโครงข่ายที่ต่ำลง
Georg Svendsen ดำรงตำแหน่ง CTO ที่ Telenor กล่าว่า Telenor เองเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการรายแรกๆของโลกที่เตรียมใช้งาน MOCN ผ่าน เทคโนโลยีใน 5G-pilot ซึ่งเป็นการแชร์โครงข่ายพื้นฐานและคลื่นความถี่ร่วมกัน ทำให้โครงข่าย Telenor เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการที่ดีที่สุดในโลกอีกหนึ่งแห่ง บนพื้นฐานความปลอดภัยของโครงข่าย
Henrik Kofod ดำรงตำแหน่ง CTO ที่ Telia Denmark กล่าวว่าสิ่งที่สำคัญมากที่สุด 5G ที่ผู้ให้บริการทุกรายต้องดำเนินการไปยังทิศทางเดียวกัน จะทำให้สามารถพัฒนาโครงข่ายไปยังสถานที่นั้นอย่างยังยืน ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนของเรา
ข้อมูล teliacompany telenor halberdbastion itwatch globenewswire intelligentcio vanillaplus