โดยคลื่นความถี่ DOCOMO ที่ใช้เป็นคลื่น "sub 6" (ย่าน 28 GHz) ซึ่งจะวางโครงข่ายที่ประชากรใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวนมากพร้อมกันในปริมาณสูง และไม่สามารถลากสาย Fiber เพื่อสร้างสถานีใหม่ได้ ทางระบบจึงได้ตัดสินใจในการวางโครงข่าย "sub 6" เพื่อช่วยเหลือโครงข่าย 5G ทำการรับส่งสัญญาณระหว่างกัน
โดยตัวสถานีฐานจะวางอุปกรณ์ไว้ 2 ด้านเพื่อทวนสัญญาณระหว่างกัน ซึ่งข้อดีคือสามารถสะท้อนให้สามารถรับส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ เพิ่มความอิสระในการติดตั้งโครงข่าย
ที่สำคัญอุปกรณ์ยังเป็นโครงสร้างขนาดเล็กเพื่อให้สามารถสามารถรองรับระบบได้อย่างดีอีกด้วย ที่สำคัญยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์ขยายสัญญาณโครงข่าย 5G อีกหลังป้ายโฆษณาขนาดใหญ่อีกด้วย ที่ทำให้การขนาดโครงข่าย 5G สามารถติดตั้งโครงข่ายโดยไม่เปลืองพื้นที่ ทิวทัศน์ยังคงสวยงาม
ในอดีตการติดตั้งโครงข่าย 5G ที่อยู่ด้านหลังของป้ายโฆษณานั้นถือเป็นเรื่องใหญ่ มีจุดอ่อนในการกระจายสัญญาณระหว่างเสา เนื่องจากเกิดการสะท้อนกับสัญญาณสูง
นอกจากนี้อุปกรณ์ 5G ดังกล่าวยังสามารถติดตั้งบนเสาไฟที่ให้สัญญาณจราจร เพื่อทำให้การติดตั้งโครงข่าย 5G เกิดความยืดหยุ่นในการทำงาน โดยได้ดำเนินการกับ AGC และ Ericsson
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ใหม่ๆ เช่น อุปกรณ์เสาโค้งงอ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก เพื่อให้สามารถให้บริการ 5G ในบริเวณห้องโถงนิทรรศการได้อย่างสวยงาม
นอกจากนี้ยังมีสาย Cable แบบโค้งงอ ที่ให้บริการการรับส่ง 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเคลื่อนย้ายลากสายพื้นที่แคบได้โดยใช้คลื่นความถี่ 60 GHz โดยท่อ Cable แม้ว่าลากสายแล้วก็ไม่ทำให้เกิดปัญหาในการลดทอนสัญญาณ ซึ่งเป็นหนึ่งในการพัฒนาระบบ 6G
โดยการให้บริการคลื่น "sub 6" (ย่าน 28 GHz) สามารถทำความเร็วในการ Downlink สูงสุด 4.1 Gbps และ Uplink 480 Mbps โดยจะทำการวางระบบ150 จุดทั่วประเทศและสถานีฐาน 500 แห่งภายในเดือนมิถุนายน 2563
ข้อมูล itnews japanese.engadget news.goo nttdocomo