2 เม.ย. 2563 832 0

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะนำเทคนิคทำงานที่บ้านอย่างไร ให้ลื่นไหล งานไม่สะดุด

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะนำเทคนิคทำงานที่บ้านอย่างไร  ให้ลื่นไหล งานไม่สะดุด

ปกติเมื่อทำงานที่สำนักงานเราสามารถใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานได้อย่างเต็มที่ ไฟแทบไม่ตก ทั้งๆ ที่มีคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ทีวีจอยักษ์ เครื่องเสียงสำหรับห้องสัมมนา เครื่องปรับอากาศ เมื่อใช้ไฟฟ้าพร้อมๆ กัน ไม่มีปัญหา นั่นเป็นเพราะเขามีการวางแผนเรื่องของการใช้พลังงานเอาไว้ตั้งแต่แรก สำหรับระบบไอทีในสำนักงานก็จะมีฝ่ายไอทีคอยดูแลให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น แม้ภายนอกอาคารจะมีหม้อแปลงระเบิด ไฟตก ไฟดับ คอมพิวเตอร์ก็ไม่ดับไปด้วย เช่น หากพนักงานกำลังตัดต่อวีดีโอ หรือมีการประชุมคอนเฟอร์เรนซ์กับลูกค้าที่อยู่คนละประเทศด้วยแล้ว หากไม่มีระบบบริหารจัดการพลังงานที่ดี ย่อมเกิดความเสียหายทางธุรกิจ และรวมไปถึงความน่าเชื่อถือในการบริหารจัดการที่ดี เมื่อเราจำเป็นต้องทำงานอยู่ที่บ้าน เราจะทำอย่างไรให้บ้านของเรามีความพร้อมเหมือนที่ทำงาน เราจึงต้องเรียนรู้เรื่องของการบริหารจัดการพลังงานให้เพียงพอ โดยเริ่มจากการรู้จักมิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านว่าจ่ายพลังงานให้เราได้มากแค่ไหน

โดยปกติมิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับสำนักงานและที่บ้านขนาดจะไม่เท่ากัน เพราะสิ่งนี้เป็นตัวแปรที่จะบอกว่าบ้านของคุณรองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้มากน้อยแค่ไหน และทำไมเราถึงจำเป็นในการมีอุปกรณ์สำรองไฟ หรือ UPS

หากย้อนไปในสมัยก่อนหน้านี้สัก 20 - 30 ปีก่อน หลายครัวเรือนจะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นและมีขายในท้องตลาดได้แก่ พัดลม ทีวี ตู้เย็น หม้อหุงข้าว เตารีด หรือบางบ้านอาจจะมี ไดร์เป่าผม ทั้งหมดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าหลักที่ทุกบ้านจำเป็นต้องมี หลายครัวเรือนในสมัยนั้นใช้มิเตอร์ไฟฟ้าที่ติดตั้งจากการไฟฟ้าเพียง 5 (15) หรือ พูดง่ายๆ คือสามารถจ่ายกระแสไฟได้ 5 แอมป์ (Ampere หรือ A ) สามารถใช้กระแสไฟได้สูงสุด 15 แอมป์ ซึ่งก็เพียงพอแก่การใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าดังกล่าว ไม่มีปัญหาไฟกระพริบ ไฟตก แต่ปัจจุบันเรามีเครื่องใช้ไฟฟ้ายุคใหม่จำนวนมากในบ้านเรือนที่ขาดไม่ได้ อาทิ เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น ตู้เย็น พัดลม เครื่องซักผ้า ไดร์เป่าผม ชุดเครื่องเสียง โฮมเทียร์เตอร์ สมาร์ททีวี และคอมพิวเตอร์

เพื่อให้เห็นภาพหากคำนวณจำนวนวัตต์ที่ใช้แบบคาดการณ์ ตั้งแต่พัดลมตั้งพื้น ใช้ไฟประมาณ 75 วัตต์ ไดร์เป่าผม  1,000 วัตต์ เตารีดไฟฟ้า 1000 วัตต์ ตู้เย็นประมาณ 200 วัตต์ หม้อหุงข้าวประมาณ 500 วัตต์ ทีวีไม่เกิน 100 วัตต์ รวมแล้วประมาณ 2,875 วัตต์ แล้วนำมาหาร 220 โวลต์ จะได้ค่าประมาณของกระแสไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นต้องการสูงสุด เท่ากับ 13 แอมป์ ซึ่งไม่เกิน 15 แอมป์ ที่มิเตอร์ไฟฟ้าสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้พร้อมๆ กัน แต่ในครัวเรือนส่วนใหญ่จะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่พร้อมกันเท่าไรนัก เพราะที่จะใช้บ่อยที่สุดก็แค่พัดลม ทีวี ตู้เย็น ที่เหลือใช้เพียงชั่วครู่ รวมๆ แล้ว ก็จะใช้ไฟฟ้าเพียง 800 วัตต์ ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 3.6 แอมป์ และถ้ารวมคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้ทำงานตลอดทั้งวันเข้ามาล่ะ

คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงาน 1 ชุด กินไฟประมาณ 300-500 วัตต์ แล้วแต่ยี่ห้อ และประเภทการใช้งานด้วย หากคอมพิวเตอร์สเปคแรงๆ ด้วยแล้วย่อมใช้พลังงานสูง ดังนั้นการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเต็มที่ในบ้านของสมาชิกในบ้านในเวลาเดียวกัน ย่อมทำให้การทำงานสะดุดลง หากมิเตอร์ที่บ้าน หรือคอนโดไม่ได้รองรับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากพร้อมๆ กัน จึงมีความจำเป็นต้องจำกัดการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดในบ้านที่ใช้พลังวัตต์สูงๆ ด้วย

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภาพนอกที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ฤดูร้อนเป็นฤดูที่หลายครัวเรือนใช้พลังงานสูงโดยเฉพาะการเปิดเครื่องปรับอากาศ ซึ่งในแต่ละปี ในช่วงเดือนเมษายนตอนกลางคืนจะเป็นจุดพีคในการใช้ไฟฟ้า หากต้องย้ายจากการทำงานที่สำนักงาน เป็นอยู่กับบ้านในตอนกลางวันการใช้พลังงานย่อมสูงขึ้นประมาณ 2 เท่า ซึ่งอาจทำให้เกิดไฟตกได้ในบางพื้นที่ เมื่อหลายครัวเรือนใช้ไฟฟ้าพร้อมๆ กันคราวละมากๆ 

ดังนั้นการทำงานที่บ้านสิ่งหนึ่งที่ต้องเตรียมแน่ๆ คือ UPS หรืออุปกรณ์สำรองไฟ เพราะอย่างน้อยช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ปลอดภัย เมื่อเกิดปัญหาไฟตก หรือไฟกระชาก และที่สำคัญ การทำงานที่บ้านก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องมือยุค 4.0 ที่สำคัญในการทำงานอยู่ที่บ้านคือโซลูชั่นคลาวด์ หรือการทำงานบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการส่งงาน ประชุมกับหัวหน้า พาร์ทเนอร์ เพื่อนร่วมงาน หรือกับลูกค้า เช่น การตอบโต้ทางแชต หรือการส่งงานทางอีเมล์ ถ้าไฟล์ใหญ่หน่อยก็ต้องอัพโหลดขึ้นหน่วยความจำบนคลาวด์ เช่น Google Drive บางองค์กรอาจใช้ Box หรือไม่ก็ Dropbox การประชุมวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เป็นต้น เครื่องมือเหล่านี้ จำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ยิ่งถ้าเป็นประชุมสำคัญ แล้วไฟตก ทำให้พลาดการประชุมเรื่องราวสำคัญไป ดังนั้นควรติดตั้ง UPS ตามอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยในการทำงาน

สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือ Wifi-Router เพราะเป็นหัวใจของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นในบ้านหรือคอนโด อพาร์ทเม้นต์ก็ตาม หากไฟตก ไฟดับ Wifi-Router จะไม่ทำงาน ทำให้เราต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้นั่นเอง สำหรับเครื่องสำรองไฟเอพีซีโดยชไนเดอร์ อิเล็คทริค (APC by Schneider Electric) จะมีรุ่นที่ติดผนังได้เหมาะกับการสำรองไฟให้กับ Wifi-Router เช่น รุ่นตระกูลที่ขึ้นต้นด้วย BV ทั้งหลาย โดดเด่นเรื่องน้ำหนักที่เบามาก เช่น รุ่น BV800I-MS จ่ายไฟได้ 450 วัตต์ หรือถ้าจะใช้ร่วมกับสมาร์ททีวีด้วยก็ รุ่น BV1000I-MS จ่ายไฟได้สูงสุดที่ 600 วัตต์ พ่วงได้หลายอุปกรณ์

รองลงมาที่ต้องคำนึงถึงจะเป็นอะไรไม่ได้นั่นคือคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นแบบ PC All-in-One หรือเดสก์ทอปธรรมดา แนะนำแบบตั้งโต๊ะ เพราะจะมีเรื่องของซอฟต์แวร์บริหารจัดการ Power Chute Personal Edition และสามารถปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ โดย AVR (Auto Voltage Regulation) ช่วยแก้ปัญหาไฟตก ไฟกระชากได้ ทำให้ไฟฟ้าที่เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เสถียรมากขึ้น ยืดอายุการใช้งานใช้นานขึ้น เช่น รุ่น BX800LI-MS จ่ายไฟ 415 วัตต์ นาที เหมาะสำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 1 ชุด สำรองไฟฟ้าได้ 10 นาที BX1100LI-MS จ่ายไฟ 550 วัตต์ เหมาะสำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 2 ชุด โดยสำรองไฟฟ้าได้ 5 นาที ซึ่งเหมาะมากสำหรับครอบครัวที่ต้องทำงานอยู่กับบ้าน แต่ถ้าที่บ้านใช้ Apple iMac และต้องทำงานที่ค่อนข้างใช้การประมวลผลกราฟฟิคสูงๆ แนะนำให้ใช้รุ่น BR900GI หน้าจอ LCD จ่ายไฟ 540 วัตต์ และยังช่วยช่วยประหยัดพลังงานมากว่า 30% มาพร้อมพลังจ่ายไฟ 540 วัตต์ หมดห่วงแม้การตัดต่อวิดีโอ การตัดต่อเสียง เพราะสามารถสำรองไฟฟ้าได้นานถึง 18-20 นาที  

ซึ่งสเปคของ UPS แต่ละรุ่นนั้น ต้องสัมพันธ์กับการใช้พลังงานกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ซึ่งผู้ใช้ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับเสปคคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่น เพื่อที่จะได้ใช้งานกับ UPS ได้อย่างราบรื่น เพียงเท่านี้ไม่ว่าจะไฟดับ ไฟตก ไฟกระชากตอนไหน มีประชุมคอนเฟอร์เรนซ์ครั้งสำคัญกับใคร หรือทำงานที่ต้องการความต่อเนื่องสูงก็มั่นใจได้ว่าจะผ่านพ้นไปด้วยดี

COMMENTS