ซึ่งปรากฎการณ์นี้เริ่มมีมากขึ้นในยุคดิจิตอล ทรานส์ฟอร์เมชั่น แต่ในขณะนี้ที่ประชากรโลกต้องรักษาระยะห่าง ใช้ชีวิตอยู่ในที่พักอาศัย ลดการเข้าสังคม และระวังด้านสุขอนามัยเป็นอย่างมาก เพราะโรคอุบัติใหม่ โควิด-19 ทำให้เกิดกระบวนการเร่งหรือก้าวกระโดดของการใช้ชีวิตดิจิทัล รวมถึง On-Demand-Delivery ที่วันนี้เทคโนโลยีพื้นฐานพร้อม นวัตกรรมมีมากมายให้เลือกใช้ การเชื่อมต่อที่รวดเร็ว ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยสี่ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และ อาหาร สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นและต้องมี
เราได้เห็นความต้องการและการเติบโตของธุรกิจ online ordering and delivery ที่เกิดขึ้น ในระยะเวลาแค่หนึ่งเดือนที่ผ่านมาอัตราการเติบโตของ GrabFood, LINE Man, Get หรือ FoodPanda ฯลฯ เพิ่มมากขึ้นเมื่อพิจารณาจากการลงทุนเพิ่มจำนวนคนขับของบริษัทต่างๆ LINE Man มีพนักงานส่งของ 50,000 คน รองรับออเดอร์จาก 100,000 กว่าร้านในเครือ ด้าน 7-11 เสริมทีมงานคอยให้บริการส่งสินค้าแก่ประชาชนที่อยู่โดยรอบ ขณะที่กระทรวงแรงงานเผยตลาดต้องการแรงงานจัดส่งสินค้ามากถึง 20,500 อัตรา เรากำลังพูดถึงโมเดลธุรกิจที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตคนเมืองไปอย่างสิ้นเชิง ด้วยปริมาณความต้องการการสั่งและส่ง (demand & supply) โดยเฉพาะจำนวนพนักงานจัดส่งที่มีอยู่ หากมีตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพของ Location Data จะช่วยชี้ให้เห็นคำตอบ พร้อมให้ผู้ประกอบการเห็นทางแก้ และสร้างบรรทัดฐานการทำธุรกิจและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่กำลังจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง และสร้างความต่อเนื่องเพื่อรองรับธุรกิจในอนาคต การใช้ชีวิตของคนเมืองเปลี่ยนไปแล้ว
Panic ระบาดเมื่อเราขาดการรับรู้เรื่องจริง
ภาพของชั้นวางอาหารแห้งว่างเปล่าคงทำให้ใครหลายคนตื่นตระหนกไม่ใช่น้อย ยิ่งสถานการณ์ใกล้เคียงการล็อคดาวน์เมืองมากขึ้นเท่าไหร่ ภาพในหน้าหนังสือพิมพ์นำเสนอข่าวการกักตุนอาหารมีในทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทย วันนี้ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดว่า การกักตุนเป็นสิ่งที่สมควรทำหรือไม่ เพราะความกังวลใจ แต่ถ้าธุรกิจค้าปลีกนำเสนอรูปแบบธุรกิจ ออนไลน์ช้อปปิ้งและการส่งตรงถึงบ้าน ซึ่งวันนี้เราได้เห็นแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Top Online, Tesco Lotus Shop Online ฯลฯ หลายรายต่างออกมายืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าสินค้าไม่ขาดสต็อก พร้อมรับออเดอร์และส่งได้ภายในวันตามเงื่อนไขต่างๆ
ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์สั่งตั้งวอร์รูม 7 กลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ เพื่อจับมือกับเอกชนที่เกี่ยวข้องประเมินสถานการณ์ ทั้งการผลิต การแปรรูปตลาด การกระจายสินค้า ประกอบด้วย 1. อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ได้แก่ บะหมี่สำเร็จรูป น้ำดื่ม น้ำผลไม้ เครื่องดื่ม 2. กลุ่มข้าว 3. กลุ่มปศุสัตว์ ประกอบด้วยไก่ ไข่ หมู กุ้ง 4. ผลไม้ซึ่งกำลังจะออกมามากในช่วงต้นเดือนหน้า 5. วัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารสัตว์ ซึ่งจะเป็นต้นทางของการผลิตไก่ หมู กุ้ง สินค้าบริโภคต่อไป ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วเหลือง 6. เวชภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งเจลแอลกอฮอล์และหน้ากากอนามัย 7. บริการโดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและโลจิสติกส์ต่างๆและการให้บริการ delivery ส่งอาหารไปถึงบ้าน
เช่นเดียวกันกับสถานการณ์ในยุโรป สินค้าที่ผู้คนให้มูลค่าว่าจำเป็นยามต้อง self isolation มียอดการสั่งซื้อสูงขึ้นสองเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงปกติ จะดีกว่าหรือไม่ถ้าเราใช้ความจริงชี้นำทางที่ถูกที่ควรให้กับสังคมที่กำลังตื่นตระหนก สับสนว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป ธุรกิจควรมีอุปกรณ์ที่แม่นยำและสามารถอัพเดทข้อมูลเรียลไทม์ เพื่อให้ข้อมูลกับลูกค้าได้ว่า สินค้าอะไร จะมาเมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร
HERE Tracking API ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานในระบบซัพพลายเชนให้ตรงกับความต้องการตลาด ด้วยชุดข้อมูลเรียลไทม์ที่เชื่อถือได้ ผู้บริโภคจะรู้สึกวางใจมากยิ่งขึ้นหากเจ้าของร้าน หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตเปิดเผยข้อมูลได้ว่ายังมีสินค้าตุนอีกมากอยู่หลังบ้าน กระบวนการการทำงานของ Location platform จะช่วยทำให้ผู้จัดการร้านตอบลูกค้าได้ชัดเจนถึงสินค้าที่กำลังลำเลียงมายังร้าน มากไปกว่านั้น เจ้าของร้านยังสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ในอนาคต ก่อนลงมือสั่งสินค้าเพิ่ม หรือลดปริมาณลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตรงหน้า ตราบเท่าที่สินค้าถูกลำเลียงอยู่ในเขตที่จีพีเอสตรวจจับได้ คุณจะรู้ทุกความเคลื่อนไหวทันที
กางตำราส่งสินค้า อาหาร hands-free delivery บูมในสังคมเมือง
ธุรกิจและผู้ประกอบการปรับตัวอย่างว่องไวต้อนรับกลุ่มผู้บริโภคที่ปักหลักอยู่บ้านเป็นหลัก จะเห็นว่ามีการเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์อย่างเห็นได้ชัด ควบคู่กับบริการส่งสินค้าถึงปลายทาง สอดคล้องกับศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ว่า ยอดขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce) และบริการสั่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ในช่วงระหว่างวันที่ 22 มี.ค. – 30 เม.ย. 2563 จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาปกติราว 8,000 ล้านบาท
ย้อนกลับไปช่วงต้นเดือนมีนาคม สถิติการสั่งเมนูสินค้ายอดนิยมของคนไทยระหว่างวันที่ 5 - 15 มี.ค. โดย ETDA เผยถึงเหตุผลของการสั่งอหารออนไลน์ เหตุผลอันดับแรกคือ ไม่อยากไปนั่งที่ร้านอาหาร ตามด้วยไม่อยากต่อคิว, มี promo code แจกในแอพ, และสั่งอาหารออนไลน์เพราะหวั่น Covid-19 ทั้งนี้ ผู้ซื้อนิยมสั่งไปทานที่บ้าน (87.85%) และทานที่ทำงาน (46.11%) โดยมีเมนูอันดับต้นๆ ได้แก่ ไก่ทอด เบอร์เกอร์ พิซซ่า (61.06%) อาหารตามสั่ง (47.04%) และก๋วยเตี๋ยว (40.50%) ตามลำดับ ผ่านช่องทางแอพพลิเคชั่นอย่างแกร๊บฟู้ด, ไลน์แมน, ฟู้ดแพนด้า หรือเก๊ท ก็ตาม
เพื่อความสบายใจของทั้งสองฝ่าย พนักงานส่งของจึงเริ่มใช้วิธีดรอปสินค้าที่หน้าบ้านก่อนถึงเวลานัดจริง มากกว่าจะยื่นส่งสินค้ากันตามปกติ หรือหากต้องเจอกันจริงๆ แบรนด์เดลิเวอรี่ก็ออกกฏต่างๆ เพื่อปกป้องความปลอดภัยต่อทั้งลูกค้าและพนักงาน เป็นต้นว่า ลาล่ามูฟให้พนักงานยืนห่างจากลูกค้า 2 เมตรในการรับส่งสินค้า และผลักดันการชำระเงินผ่านอีวอลเล็ต หรืออีกหลายๆ เจ้ารณรงค์การส่งสินค้าแนวเดียวกัน และนั่นทำให้มูลค่าการจัดส่งสินค้าแบบไม่สัมผัสกับลูกค้าปลายทางเติบโตขึ้นถึง 20%
สถานการณ์จะยิ่งผลักดันให้ผู้คนเข้าหาเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น การขนส่งสินค้าด้วยหุ่นยนต์ยิ่งมีโอกาสเติบโตและทำรายได้ 48.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030 หรือรถอัตโนมัติที่นำทางด้วยแผนที่ภายใต้ระบบอัลกอริทึมของ Location platform จะยิ่งช่วยควบคุมการติดเชื้อในวงกว้าง รวมถึงเพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าโดยรวม เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกโลเคชั่นต้นทางถึงปลายทาง และถูก localize ให้เข้ากับพื้นที่นั้นๆ อบ่างในประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องตรอกซอกซอย บางครั้งโลเคชั่นที่ต้องการจะปักหมุดไม่ปรากฏอยู่ในแผนที่ เพื่อแก้ปัญหาตรงจุดนี้ โอเพ่นโลเคชั่นแพลตฟอร์มจะทำหน้าที่ส่งตำแหน่งอัจฉริยะให้แก่บริษัทผ่านแผนที่ดิจิทัลแบบเรียลไทม์ (Application Programming Interface - API) ขณะที่ชุดพัฒนาโมบายล์ซอฟต์แวร์ (Mobile software developments kits - mSDK) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปักหมุดบริเวณที่ต้องการให้รถโดยสารเข้าไปรับระบบเอไอกับแมชชีนเลิร์นนิ่งที่ทำงานร่วมกันบนแผนที่จะช่วยจดจำเส้นทางใหม่และบันทึกเพิ่มในฐานข้อมูล นอกเหนือจากระบบติดตาม GPS แล้ว แพลตฟอร์มแผนที่ยังสามารถนำเสนอเส้นทางที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้นๆ แก่คนขับ พร้อมๆ กับโชว์เส้นทางดังกล่าวให้กับผู้โดยสารบนแอพมือถือ แพลตฟอร์ม HERE ทำให้ทุกฝ่ายมั่นใจได้ว่าสินค้าจะถึงที่หมายอย่างราบรื่นและใช้เวลาน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
เทคโนโลยีเหล่านี้จะตอบโจทย์ on-demand economy สนามแข่งขันกันที่วัดกันด้วยความเร็ว ความสะดวก และความถูกต้องของสินค้า อย่างที่ Amazon ตั้งเป้าส่งสินค้าถึงปลายทางได้อย่างเรียบร้อยภายใน 30 นาที หรือ Walmart ที่เริ่มให้บริการ same-day delivery ขนส่งด่วนภายในวัน ซึ่งอีคอมเมิร์ซเจ้ายักษ์ในประเทศไทย Lazada หรือ Shopee ก็เริ่มขยายธุรกิจและบริการในลักษณะนี้เช่นกัน
5G ขับเคลื่อนธุรกิจให้โตขึ้นยิ่งกว่าที่เคย
โลเคชั่นแพลตฟอร์มสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกได้หลายแง่มุม ไม่ว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่การเดินทางของผู้คน เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองและธุรกิจเดลิเวอรี่ นับเป็นการเร่งขับเคลื่อนสู่เมืองในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดให้บริการ 5G จะช่วยเสริมทัพให้ผู้ประกอบการเข้าถึงความต้องการของผู้ใช้และส่งมอบประสบการณ์ที่รวดเร็วขึ้นได้ ด้วยศักยภาพของสัญญาณ 5G ทั้งการกระจายของสัญญาณที่กว้างขึ้น ความเร็วที่เพิ่มขึ้น ความหน่วงลดลง และรองรับการใช้งานในแต่ละพื้นที่ได้มากกว่า จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคการขนส่งและคมนาคมอัจฉริยะ ตั้งแต่การโอนถ่ายดาต้า สร้างการสื่อสารระหว่างคันรถ จนถึงเชื่อมต่อรถทุกคันเข้ากับผังเมืองดิจิทัล เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถเข้าถึงข้อมูลการจราจรที่ถูกต้องแม่นยำบนรถยนต์ได้
ต่อไป เราจะเห็นกลไลที่ขับเคลื่อนดิจิทัลไลฟ์เซอเคิลอย่างครบวงจรมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเมืองดิจิทัล เช่นเดียวกันกับ วิสัยทัศน์ของ แพลตฟอร์ม HERE ในฐานะโลเคชั่นแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างสำหรับการใช้งานครอบคลุมหลายๆ อุตสาหกรรม ที่เล็งเห็นความสำคัญของดาต้าที่เกิดขึ้นทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นดาต้าจากเซ็นเซอร์ในรถยนต์ สภาพแวดล้อมต่างๆ ที่อยู่บนท้องถนน หรือจุดสำคัญๆ ในเมือง ตรงจุดนี้ Open Location Platform สามารถรวบรวมข้อมูลเชิงลึกต่างๆ ก่อนนำไปประมวลผลเพื่อนำไปใช้พัฒนาผังเมืองสำหรับภาครัฐ ไปจนถึงให้นักพัฒนาใช้ต่อยอดเพื่อพัฒนาฟีเจอร์หรือเทคโนโลยี แพลตฟอร์ม HERE คือแพลตฟอร์มประมวลผลบิ๊กตาด้า ที่ผู้ใช้งานสามารถโยนข้อมูลจากฝั่งตนเองลงไปเพื่อให้แพลตฟอร์มวิเคราะห์และนำเสนอออกมาในรูปแบบข้อมูลเชิงพื้นที่ในแง่มุมต่างๆ อย่างเจาะลึกทั้งเชิงข้อมูลและบริการที่อยู่บนแพลตฟอร์ม
บทความโดย HERE Technologies