24 เม.ย. 2563 5,143 46

GIGAWIRE อัพสปีดเน็ตธรรมดาให้เป็นอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงบนสายทองแดง รองรับความเร็วสูงสุดได้ถึง 1,700 Mbps

GIGAWIRE อัพสปีดเน็ตธรรมดาให้เป็นอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงบนสายทองแดง รองรับความเร็วสูงสุดได้ถึง 1,700 Mbps

คำถามที่เกิดขึ้นตามมาคือ ความเร็วอินเตอร์เน็ตที่แต่ละคนใช้อยู่ ณ ขณะนี้ เพียงพอและรองรับต่อวิถีและกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่? แม้ว่า กสทช. จะออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนในการอัพสปีดให้สูงสุดเต็มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ สำหรับผู้ใช้ ADSL และสายทองแดงตามที่พักอาศัยแล้วก็ตาม ซึ่งกลุ่มผู้ใช้ดังกล่าวนี้มีอยู่ถึงร้อยละ80ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน ดังนั้นจึงได้มีการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถอัพสปีดอินเตอร์เน็ตธรรมดาให้เป็นอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว ปัจจุบันได้เริ่มติดตั้งและใช้งานจริงในเขตกรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว ในกลุ่มลูกค้าของ TOT ซึ่งอุปกรณ์และระบบเทคโนโลยีนี้ถูกเรียกขานว่า “GIGAWIRE” ซึ่งสามารถทำให้การใช้อินเตอร์เน็ตบนสายทองแดง สามารถรองรับความเร็วสูงสุดได้ถึง 1,700 Mbps เลยทีเดียว 

หลักการทำงานของ GIGAWIRE เป็นการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในมาตรฐานของ G.hn(Giga Home Network) ที่ใช้ภายในบ้าน ในขณะที่ GIGA WIRE สามารถขยายขอบเขตการให้บริการอาคารสูง เช่น อพาร์ตเมนต์ คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า และอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ที่ใช้สายทองแดงคู่เดิมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และช่วยลดปัญหาของสัญญาณกวนกันระหว่างคู่สาย (Crosstalk) ได้ดียิ่งขึ้น โดยที่ GIGA WIRE สามารถปรับความเร็วได้สูงกว่า VDSL 10 เท่าบนสายทองแดงเส้นเดิม และข้อดีของการให้บริการ GIGA WIRE นี้ สามารถให้บริการในพื้นที่ที่สาย fiber optic ไม่สามารถให้บริการได้

ดังนั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า เทคโนโลยี GIGAWIRE สามารถเข้ามาตอบสนองต่อความต้องการ/พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่เปลี่ยนแปลงไปท่ามกลางวิกฤติโควิด19ในปัจจุบันได้อย่างลงตัวดังนี้

1. สามารถเพิ่มความเร็วอินเตอร์เน็ตบนสายทองแดงที่ต้องใช้ขั้นต่ำอย่างน้อย 100 Mbps ได้ ตามประกาศใหม่ของกสทช.ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานที่บ้าน(WFH)

2. ไม่ต้องรื้อสายทองแดงเดิมออกเลย ในขณะเดียวกันยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟเบอร์อ็อปติก ซึ่งสูงกว่าสายทองแดงถึง 10 เท่าได้

3. ไม่ยุ่งยากและใช้เวลาน้อยในการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว

4. ค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์และค่าติดตั้งต่อหน่วย เมื่อเทียบกับไฟเบอร์อ็อปติก ต่ำกว่ามากกล่าวคือมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท/คู่สาย ในขณะที่ไฟเบอร์อ็อปติก อยู่ที่ประมาณ 5,000/คู่สายขึ้นไป

5. ไม่ต้องขออนุญาตใดๆจากกสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น สามารถดำเนินการได้เองทันที

6. เป็นการเพิ่มโอกาสให้กลุ่มผู้ใช้งานที่ไม่สามารถใช้งานได้บนสายไฟเบอร์อ็อปติกซึ่งมีอยู่ถึงร้อยละ80 ได้มีโอกาสเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงระดับ 1,000 Mbps ขึ้นไป ได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

บทความโดยทีมวิชาการ บริษัท พีซ เทคโนโลยี จำกัด www.peacezaram.com

COMMENTS