โครงข่าย LG ในประเทศเกาหลีใต้ เริ่มนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้งาน ส่งผลดีเนื่องจากไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ใหม่เพิ่ม ซึ่งการ Uplink Booster ให้มีพลังเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากสัญญาณจะถูกส่งไปแบ่งออกเป็น 'downlink (downlink)' เป็นการส่งจากเครือข่ายไปยังอุปกรณ์ปลายทางและ 'uplink (uplink)' เป็นสัญญาณที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ปลายทางไปยังเครือข่าย ส่วนนี้มีความสำคัญกับคนใช้บริการอย่างมาก
ตัวอย่างเช่น การดูวิดีโอ YouTube ผ่านสมาร์ทโฟนคือ 'downlink' และการอัปโหลดวิดีโอไปยัง YouTube นั้นเทียบเท่ากับ 'uplink'
เมื่อสัญญาณผู้ให้บริการปรับปรุงอุปกรณ์ให้รองรับการ downlink ของประชาชน นั้นหมายความว่าการ uplink ของโครงข่ายมีเพียงพอในการให้บริการโดยไม่ต้องติดตั้งโครงข่ายเพิ่ม ที่สำคัญรองรับอุปกรณ์ได้เป็น 2 เท่า รองรับการใช้งานในยุค 5G ได้อย่างมหาศาล
ในหลายประเทศการให้บริการ 5G จะแบ่งช่องสัญญาณเป็นไปในลักษณะ TDD ซึ่งสามารถปรับความเร็วได้เป็นส่วนๆ เช่น การใช้โครงข่ายแบบ TDD สามารถปรับความเร็วได้ทั้ง downlink และ uplink ซึ่งส่วนใหญ่ปรับความเร็วในรูปบบ 8 : 2 ซึ่งบ่อยครั้งที่สัญญาณการดาวน์โหลดวิดีโอ YouTube มากกว่าผู้ใช้ที่อัปโหลดวิดีโอบน YouTube
การอัพโหลดข้อมูล ได้ทำการปรับปรุงข้อมูลโครงข่ายเป็นไปในรูปแบบมาตรฐานอุตสาหกรรม eCPRI ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับการปรับปรุงความเร็วอัปลิงค์มีหน่วยประมวลผล beamforming ในรูปแบบสัญญาณวิทยุ ผลของการปรับปรุงโครงข่าย สัญญาณสามารถเพิ่มความเร็วอินเตอร์เน็ตจากเดิม 10 เท่า และเพิ่มประสิทธิภาพของคลื่นถึง 8-10dB ความแรงของสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ได้อีกเพิ่มขึ้น 90%
ข้อมูล kr.acrofan hellot newswire datanet