ส่งผลดีในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านการสื่อสาร สามารถปล่อย Loon ไปยังเป้าหมายได้ตามที่ต้องการภายในไม่กี่ชั่วโมง ลดการเสียเวลาที่จะต้องเข้าพื้นที่ใหม่ซึ่งใช้ระยะเวลาเป็นเดือน
การให้บริการอินเทอร์เน็ต 4G การันตีได้ว่าจะสามารถใช้งานให้บริการได้ภายใน 48 ชั่วโมง และที่สำคัญ Loon กำลังยื่นขอให้บริการ 50 ประเทศ เพื่อติดตั้งสถานีฐานรูปแบบใหม่ คล้าย Google Fi เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ผ่านผู้ให้บริการท้องถิ่น
เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา Google เริ่มปล่อยบอลลูน 4G ให้บริการอินเทอร์เน็ตลอยในประเทศเคนยา โดยเป็นโครงการบริการเชิงพาณิชย์ในชื่อว่า 'Project Rune' โดยโครงการดังกล่าวทาง Google เริ่มปล่อยบอลลูนจากประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยโครงการดังกล่าวร่วมทดสอบกับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเทศเคนยา อย่าง Telkom Kenya จะให้บริการภายในอีกไม่กี่สัปดาห์หน้า จุดเด่นของโครงการดังกล่าวในเรื่องการสื่อสารโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นประโยชน์
โครงการดังกล่าว บอลูนยังจะลอยอยู่เหนือท้องฟ้าเคลื่อนที่อยู่ประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งลอยอยู่ที่ชั้นสตราโตสเฟียร์
ล่าสุด HBAL125 ได้ลอยจากเปอร์โตริโกสู่ท้องฟ้าแล้วบินข้ามแอฟริกาใต้และมหาสมุทรอินเดีย เพื่อทดสอบระบบการใช้บริการในระยะ 100 วัน ซึ่งสิ่งที่ได้จากโครงการดังกล่าวคือ การช่วยเปิดโลกดิจิตอลให้กับบางพื้นที่ที่ถูกปิดกั้นมานาน โดยเฉพาะการให้ข้อมูลข้อโรคระบาดโควิด 19
นอกจากนี้โครงการ Loon ยังคงเข้าร่วมโครงการ "moonshot" และเพิ่มพื้นที่ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่อง Wing of Delivery Service ของ บริษัท คือ Wing เตรียมเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านพื้นที่ของออสเตรเลีย เวอร์จิเนียและฟินแลนด์
สำหรับการบินให้บริการนั้น ทาง Salvatore Candido ดำรงตำแหน่ง CTO ของ Loon กล่าวว่า การลอยของ LOON ใช้ระบบซอฟต์แวร์ในการสร้างแผนที่อัตโนมัติ สามารถปรับสมดุลในการลอยได้ตามสภาพอากาศ เลือกใช้เส้นทางได้ไม่ซ้ำกัน ที่สำคัญยังมีระบบบันทึกข้อมูลทางการบินอย่างต่อเนื่องมากกว่า 1 ล้านชั่วโมงบิน
ข้อมูล forbes venturebeat freemalaysiatoday theverge theverge