12 พ.ค. 2563 1,945 2

การทรานส์ฟอร์มการให้บริการทางการเงิน และธุรกรรมต่างๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ในช่วงโควิด-19 ผ่าน e-KYC (การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์)

การทรานส์ฟอร์มการให้บริการทางการเงิน และธุรกรรมต่างๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ในช่วงโควิด-19 ผ่าน e-KYC (การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์)

 

สถาบันการเงินหลายแห่งจัดการกับโจทย์ที่ท้าทายนี้ด้วยการนำเทคโนโลยี electronic Know-Your-Customer (e-KYC) หรือการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ มาช่วยให้การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับเป็นไปอย่างราบรื่น โดยเฉพาะในการช่วยแก้ปัญหาด้านการฟอกเงิน (Anti-money laundering - AML) และต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินให้แก่กลุ่มผู้ก่อการร้าย (Counter-terrorist financing - CTF) เทคโนโลยีนี้เป็นความพยายามที่จะทำให้ประสบการณ์ลูกค้าเป็นไปอย่างราบรื่นให้มากที่สุด

เทคโนโลยี e-KYC ถูกนำมาใช้เพื่อลดขั้นตอนการแสดงตัวตน หรือระบุตัวตนของลูกค้า ตัวอย่างเช่น ในประเทศอินเดีย การใช้หมายเลขไอดีดิจิทัล Aadhaar ผ่าน e-KYC เพื่อเปิดบัญชีธนาคาร หรือทำธุรกรรมทางการเงิน ช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการดำเนินการให้สถาบันทางการเงินจากเดิมอยู่ที่ 5 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อคน (ประมาณ 160 บาท) ตอนนี้ค่าใช้จ่ายเหลือเพียง 0.7 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อคน (ประมาณ 20 บาท) จากผลสำรวจโดยบริษัทที่ปรึกษาระดับโลก McKinsey[1]

ในสถานการณ์โลกที่ต้องรับมือกับโควิด-19 เทคโนโลยี e-KYC ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการเงินแบบไร้สัมผัส ถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ด้านสุขอนามัยของประชาชน ธนาคารต่างๆ ในประเทศไทยได้รับอนุญาตให้นำเทคโนโลยีจดจำและเรียนรู้ใบหน้า (Biometric facial recognition) มาใช้ในการยืนยันตัวตนในการเปิดบัญชีเงินฝากจากระยะไกล (Remote account opening) โดยธนาคารที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการนำระบบ e-KYC มาใช้ในการยืนยันตัวตนทางชีวภาพ คือ ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทย, และ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด

ธนาคารทั้งหกแห่งปัจจุบันสามารถพิสูจน์ตัวตนลูกค้า โดยอ้างอิงข้อมูลจากแพลตฟอร์มบริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (National Digital ID - NDID) ซึ่งจะบันทึกประวัติการทำธุรกรรมทางการเงินของประชาชน เป็นการช่วยลดจำนวนคนที่เข้ามาใช้บริการกับทางธนาคารในช่วงกักตัว กลุ่มธนาคารพาณิชย์และผู้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินเริ่มนำเทคโนโลยีไบโอเมตริกมาใช้ภายใต้โครงการ Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อใช้ตรวจสอบตัวตนของลูกค้า ทำให้ e-KYC เริ่มเป็นที่รู้จัก ระบบ e-KYC จะช่วยให้การบริการทางการเงินดิจิทัลแบบไร้การสัมผัสมีความปลอดภัย และความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะในเวลาจำเป็นที่รัฐบาลขอความร่วมมือจากประชาชนในการเว้นระยะห่าง หรือช่วงกักตัว

เวิลด์แบงก์ คาดว่าประชากรมากกว่า 1.7 ล้านคนในปัจจุบันอยู่นอกระบบธนาคาร โดยเกือบ 1 ใน 5 นั้นไม่มีเอกสารสำคัญในการยืนยันตัวตน[2] ในหลายๆ ประเทศ เห็นประโยชน์จากการนำ e-KYC เข้ามาใช้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการไม่รู้หนังสืออยู่ในระดับสูง และมีประชากรจำนวนมากอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่เผชิญความยากลำบากต่อการเข้าถึงการบริการทางการเงินต่างๆ

บังคลาเทศ คือประเทศตัวอย่างที่เป็นตลาดเกิดใหม่ และมีการเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญจากการนำเทคโนโลยี e-KYC มาใช้ แม้ว่ากว่า 70% ของประชากรบังคลาเทศอาศัยอยู่ตามชนบท แต่กว่าครึ่งของประชากรที่บรรลุนิติภาวะมีบัญชีธนาคาร หรือมีแอปพลิเคชั่นธนาคารบนโทรศัพท์ เนื่องจากเทรนด์การเติบโตของโมบายล์แบงกิ้ง จากผลการสำรวจดัชนีทางการเงินทั่วโลกของเวิลด์แบงก์[3]

bKash ผู้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดในบังคลาเทศ และเป็นพาร์ทเนอร์กับอาลีเพย์ เปิดตัวฟังก์ชัน e-KYC ในแอพโมบายล์แบงกิ้ง เพื่อให้ลูกค้าสามารถเปิดบัญชีธนาคารผ่าน bKash ได้ด้วยตนเองง่ายๆ เพียงสแกนหน้าบัตรประชาชนและถ่ายรูปตัวเอง

ด้วยการทำงานที่ง่ายของ e-KYC ลูกค้าจึงไม่จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีแต่อย่างใด หรือไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังธนาคารเพื่อกรอกเอกสาร ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้ที่ไม่รู้หนังสือ ระบบดังกล่าวส่งผลให้บังคลาเทศเข้าใกล้เป้าหมายของประเทศที่ต้องการให้ทุกครัวเรือนเข้าถึงการบริการทางการเงินภายในปี 2567[4]

นอกจากระบบ e-KYC จะสามารถช่วยในการเข้าถึงบริการธุรกรรมดิจิทัลในหลายๆ ธุรกิจแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาความท้าทายต่างๆ ที่สถาบันทางการเงินทั่วโลกได้ประสบโดยทั่วกัน ตัวอย่างเช่น e-KYC สามารถป้องกันการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว ตรวจสอบธุรกรรมการเงิน โดยเฉพาะเมื่ออาชญากรไซเบอร์มีความเชี่ยวชาญในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อโจรกรรมข้อมูลจากบริษัทและลูกค้า จากการสำรวจการโจรกรรมทางการเงินทั่วโลกโดย KPMG เผยว่า 61 เปอร์เซ็นของธนาคารมีการโจรกรรมทางการเงินเพิ่มขึ้นทั้งมูลค่าและปริมาณในช่วงสามปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ e-KYC ยังช่วยลดขั้นตอนการตรวจสอบบุคคล ลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ และช่วยจัดสรรทรัพยากรให้ลูกค้าอย่างรวดเร็ว สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเป็นอย่างมาก

จากรายงานการวิจัยอุตสาหกรรมพบว่า สถาบันการเงินหลายแห่งต้องเสียค่าปรับโดยรวมกว่า 26,000 ล้านเหรียญสหรัฐในรอบสิบปีที่ผ่านมา[5] และหนึ่งในสามของสถาบันการเงินเหล่านั้นยอมรับว่าความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั่นคือ การขาดแคลนทรัพยากรในการดำเนินการ e-KYC และกระบวนการตรวจสอบสถานะการเงินของลูกค้า

ประโยชน์ของ e-KYC นั้นชัดเจนในเชิงทางพาณิชย์ และการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ โดยประโยชน์หลักๆ ของ e-KYC คือ: 1) ช่วยการทำธุรกรรมการเงินให้ง่ายขึ้นโดยการจดจำใบหน้า 2) ช่วยการระบุไอดีที่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และการยากต่อการปลอมแปลง 3) ควบคุมความปลอดภัยโดย multi risk signal-based แบบเรียลไทม์

เมื่อเทียบกับกระบวนการทำงานแบบเดิม แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้สถาบันการเงินลดขั้นตอนการบริการด้วยการบริการตนเองแบบอัตโนมัติด้วยไอดี และเทคโนโลยีตรวจสอบและจดจำใบหน้า ข้อมูลที่ได้รับจากลูกค้าสามารถตรวจสอบกับแหล่งข้อมูลจากภาครัฐซึ่งช่วยประหยัดเวลาได้อย่างมาก

ในประเทศอินโดนีเซีย กว่าครึ่งหนึ่งของลูกค้าที่ใช้แพลตฟอร์ม e-KYC สามารถใช้บริการทางการเงินได้ภายใน 3 นาที เมื่อเทียบกับกระบวนการทำงานแบบเดิมที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงในการตรวจสอบตัวตน

ประโยชน์ของ e-KYC นั้นชัดเจนในเชิงทางพาณิชย์ และการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ และในตลาดเกิดใหม่ ผลกระทบเชิงบวกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้ประชากรทุกคนสามารถเข้าถึงการบริการทางการเงินเป็นประเด็นที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ไม่เป็นปกติ เช่น ช่วงการกักตัวระหว่างโควิด-19

ดร.จิดง เฉิน, ผู้จัดการทั่วไปของโซลอส (Zoloz), แพลตฟอร์มในการยืนยันตัวตนที่เชื่อถือได้ ของบริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส กรุ๊ป ดร.จิดง เฉิน ดูแลเรื่อง R&D รวมถึงแอปพลิเคชั่นและเทคโนโลยีด้านไบโอเมตริก

 

By Dr. Jidong Chen, General Manager of ZOLOZ, an Ant Financial company

โดย ดร.จิดง เฉิน, ผู้จัดการทั่วไปของโซลอส (Zoloz), บริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส กรุ๊ป

COMMENTS