15 พ.ค. 2563 5,014 4

สำรวจการทำงานบน “ความปกติใหม่” ของกลุ่มเทเลนอร์ในหลายตลาด

สำรวจการทำงานบน “ความปกติใหม่” ของกลุ่มเทเลนอร์ในหลายตลาด

เมื่อเร็วๆ นี้ เทเลนอร์ในได้ทำการสำรวจสถานการณ์การทำงานของพนักงานเทเลนอร์ และบริษัทที่เทเลนอร์ถือหุ้นอยู่ด้วยจากนโยบายทำงานที่บ้าน อันเกิดจากข้อบังคับใหม่ของภาครัฐ ความต้องการใหม่ และวิถีการทำงานใหม่ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19

จากการสำรวจ เราพบข้อสังเกตสำคัญจำนวน 10 ข้อ ได้แก่

พนักงานเทเลนอร์มีความสามารถในการปรับตัวและส่งต่อการทำงานได้ แม้จะไม่ได้เจอหน้ากันในบริษัทก็ตาม อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นในการใช้ความพยายามที่มากขึ้น ท่ามกลางความท้าทายที่สูงขึ้นตาม

54% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่า พวกเขามีแรงผลักดันในการทำงานเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากสภาพการทำงานปัจจุบัน ทำให้การทำงานของพวกเขามีประสิทธิผลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม รายงานหลายฉบับต่างบอกว่าชั่วโมงการทำงานในระหว่าง Work From Home มีจำนวน “สูงขึ้น” และเส้นแบ่งระหว่างบ้านและงาน “ลดลง” ด้วยเหตุนี้ ทำให้ภาระและความรับผิดชอบของครอบครัวมีความท้าทายมากขึ้น ขณะที่สภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม (Social isolation) มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่ชีวิตอยู่คนเดียวอีกด้วย ผลการสำรวจบอกว่า ความท้าทายเหล่านี้มีระดับความเข้มข้นที่ต่างกัน ขึ้นกับพื้นฐานทางวัฒนธรรม อายุ และช่วงวัย

ในนอร์เวย์ พนักงานส่วนมากมีความรู้สึกเข้าถึงผู้บังคับบัญชาของเขามากขึ้น และมั่นใจว่าบริษัทสามารถรับมือกับวิกฤตนี้ได้

คะแนนการมีส่วนร่วมและความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร “สูงขึ้น” ในเทเลนอร์นอร์เวย์ โดยกว่า 80% บ่งชี้ถึงผลตอบรับที่ดีขี้น ขณะที่พนักงานหลายคนต่างเผชิญกับความท้าทายเกี่ยวกับโฮมสกูลของลูกๆ ตลอดจนปริมาณงานที่หนักขึ้นและไม่สามารถกระจายออกได้ภายใต้การทำงานในภาวะวิกฤต

ในสวีเดน พนักงานรู้สึกมีความเชื่อมั่นสูงในความเป็นผู้นำ

จากการสำรวจบอกว่า 9 ใน 10 ของพนักงานพึงพอใจต่อการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิกฤตและนโยบายการรับมือต่อวิกฤตของบริษัท พนักงานของเทเลนอร์ สวีเดนรู้สึกถึงการติดต่อสื่อสารกันระหว่างหัวหน้าและพนักงานในทีมมากขึ้น

ในเดนมาร์ก พนักงานส่วนใหญ่รู้สึกภูมิใจกับการปรับตัวกับการทำงานที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกัน พนักงานหลายคนรู้สึกสูญเสียการมีปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวระหว่างพนักงานด้วยกันเอง รวมถึงปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างไม่เป็นทางการ

ในฟินแลนด์ พนักงานไม่รู้สึกแปลกต่อการทำงานที่บ้าน เนื่องจากพวกเขามีการทำงานแบบยืดหยุ่น (flexible hours) มาหลายปีแล้ว

รายงานบอกว่าการทำงานของจากบ้านของพวกเขาไม่เพียงแต่เป็นไปด้วยดี แต่ 8 ใน 10 ของพนักงานกลับรู้สึกมีแรงผลักดันในการทำงานมากขึ้น เพื่อให้ผลงานที่ได้มากกว่าสิ่งที่คาดหวัง

ในมาเลเซีย พนักงานต่างบอกว่าพวกเขารู้สึกเชื่อมโยงถึงกันและกันมากขึ้น แม้จะอยู่ในระหว่างการบังคับใช้มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม

เป็นที่แปลกใจอย่างมากที่ 99% ของผู้ตอบแบบสอบถามในมาเลเซียบอกว่า พวกเขารู้สึกใกล้กันมากขึ้นกับสมาชิกในทีม นอกจากนี้ 67% ของพนักงานมีความรู้สึกสนุกกับการทำงานที่บ้าน ขณะที่ส่วนที่เหลือบอกว่าพวกเขารู้สึกถึงความท้าทายที่มากขึ้น เมื่อเทียบจากการทำงานจากออฟฟิศ

ในประเทศไทย พนักงานดีแทคส่วนใหญ่เพิ่งเคยเจอกับสถานการณ์การทำงานที่บ้านเป็นครั้งแรก แต่ 90% ของพนักงานนั้นไม่รู้สึกถึงอุปสรรคที่ส่งต่อประสิทธิผลของงาน

8 ใน 10 ของพนักงานดีแทคต่างสนุกกับการทำงานที่บ้าน โดย 62% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าพวกเขาสามารถจัดการกับงานได้ในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าพวกเขาสามารถปรับตัวเขาได้ดีกับการทำงานในวิถีใหม่ อย่างไรก็ตาม พนักงานต่างโฟกัสให้กับการทำงานเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างปกติ ขณะเดียวกัน พวกเขาก็คิดถึงการทำงานแบบมีปฏิสัมพันธ์ เพราะทำให้การตัดสินใจต่างๆ เร็วขึ้น อันมาจากการสภาพการทำงานแบบเห็นหน้าคร่าตากัน

ในปากีสถาน 8 ใน 10 ของพนักงานเทเลนอร์ต่างรู้สึกว่าการทำงานของพวกเขามีประสิทธิผลและมีแรงผลักดันในการทำงานที่สูงขึ้นในระหว่างวิกฤตโควิด 19

แม้ว่า 94% ของพนักงานและผู้บังคับบัญชาจะรู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้นก่อนการบังคับใช้นโยบายทำงานที่บ้าน แต่ความท้าทายสำคัญที่เกิดขึ้นคือ “สภาวะความโดดเดี่ยว” ที่เกิดขึ้น ซึ่งกว่าครึ่ง (52%) มีความรู้สึกเช่นนั้น ขณะที่ 45% มีความรู้สึกกังวลต่อผลกระทบต่อชีวิตจากวิกฤตโควิด 19

ในบังคลาเทศ พนักงานกรามีนโฟนสามารถตอบสนองต่อการทำงานที่บ้านได้อย่างดีเยี่ยม โดยราว 90% ของพนักงานบอกว่าพวกเขาทำงานอย่างมีประสิทธิผลกว่าที่เคยเป็นมา

พวกเขารู้สึกใกล้กันมากขึ้นและรู้สึกถึงความห่วงใยที่มีให้กันและกัน โดย 96% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าพนักงานและผู้บังคับบัญชามีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ บ่อยมากขึ้น ขณะเดียวกัน ต่างพบความท้าทายเดียวกัน นั่นคือ การใช้เวลาบนจอคอมพิวเตอร์ที่มากขึ้น รวมถึงระยะเวลาในการทำงานแต่ละวันที่มากขึ้นเช่นกัน

ในพม่า พนักงานพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าพวกเขาไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิกฤต

ผู้ตอบแบบสอบถาม 100% บอกว่า พวกเขาได้รับการอัพเดทข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิกฤตอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ยังพบว่า การวางแผนการใช้ชีวิตในแต่ละวันมีผลอย่างยิ่งต่อประสิทธิผลในการทำงาน โดย 95% ของพนักงานเทเลนอร์ เมียนมาร์ บอกว่า พวกเขามีการจัดวางโครงสร้างการทำงานในแต่ละวันด้วยตัวเอง ทำให้สามารถจัดการกับปริมาณและเวลาในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

COMMENTS