ล่าสุด Ofcom ได้ตัดสินใจครั้งประวัติศาสตร์ เปิดให้บริการ Wi-Fi ในคลื่นความถือย่าน 6GHz (โดยเฉพาะ 5925-6425 MHz) เป็นจำนวน 500 MHz เพื่อให้บริการในภายในอาคาร (Indoor) ทำให้สามารถเปิดใช้คลื่นความถี่ 6 GHz ให้กับ Wi-Fi นับเป็นการตัดสินใจที่ก้าวกระโดดของโลก
สิ่งที่น่าสนใจปกติคลื่นความถี่ย่าน 6GHz มีความกว้างของการใช้บริการ 1200 MHz แต่ Ofcom อนุญาติให้ปรับความถี่เพียง 500 MHz ซึ่งทาง Ofcom มองว่าการเปิดคลื่นความถี่ใหม่ของอุปกรณ์ Wi-Fi จำนวนใหม่รับส่งสัญญาณได้ 160 MHz ช่องสัญญาณ 24 ช่องสัญญาณ เพิ่มขึ้น 20 MHz ในการใช้งานภายในอาคาร EIRP 250 mW
ซึ่งคลื่นความถี่ 6 GHz spectrum เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2 เท่า ที่สำคัญยังทำให้ DFS-Free อีกด้วย
Broadcom หนึ่งในผู้จัดหาซิปเซ็ต Wi-Fi คลื่น 6GHz เชื่อว่าสามารถการใช้งานคลื่นความถี่ในการรับส่งอุปกรณ์พร้อมๆกัน 160 MHz มาถึง 3 ช่องสัญญาณ จะสามารถทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านซิปเซ็ตที่บริษัทจัดทำเพิ่มความเร็ว 2 Gbps หากใช้งาน Wi-Fi ในระยะ 7 เมตรจะทำให้ผู้ใช้งานใช้งานอินเทอร์เน็ตใช้งานความเร็ว 1.4 Gpbs เพียงพอในการให้บริการภายในบ้าน อาคารสำนักงานและสาธารณะ ที่สำคัญสามารถค่า latency น้อยลงเพียง 2 วินาทีเท่านั้น
นอกจากนี้ทาง Ofcom มีข้อกำหนดที่ก้าวหน้ามากกว่าประเทศสหรัฐอเมริกาคือการให้บริการกลางแจ้ง VLP (Very Low Power) สามารถใช้ EIRP 25 mW บนคลื่นความถี่ 6 GHz เพื่อให้สามารถสร้างเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล
นอกจากนี้ Ofcom ยังรวมคลื่นความถี่ 5.8 GHz จำนวน 125 MHz ซึ่งเป็นการปลดล็อกบริการ DFS (5725-5850 MHz) รวมถึงถึงช่องว่าง 80 MHz ในคลื่น Wi-Fi 5 GHz
ซึ่งที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2563 หน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมของสหราชอาณาจักร ได้เสนอปรับปรุงคลื่นความถี่ 6GHz เพื่อให้บริการแก่ประชาชาติโดยยกเว้นใบอนุญาต เพื่อรับกับเทคโนโลยี wi_fi_6E - 802.11ax ทำให้โครงข่าย Wi-Fi มีความเร็วและความปลอดภัยที่เพิ่มสูงขึ้น
ในปัจจุบันมาตรฐาน 802.11ax มีความสามารถเพิ่มความเร็วสูงสุดถึงในระดับ 10 Gbps โดยการจัดการคลื่นความถี่
โดยบางอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานคลื่นความถี่ 6GHz ได้นั้น อาจจะต้องการอัพเดตเฟิร์มแวร์บางตัวเพื่อให้สามารถเพิ่มความสามารถเพิ่มมากขึ้นทั้งคลื่น 2.4 GHz และ 5 GHz ทั้งความสามารถในด้านคลื่นความถี่สภาพแวดล้อมที่แออัด, เวลาแฝงที่เร็วขึ้น, ปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงาน รวมถึงการทำงานช่องสัญญาณที่เพิ่มขึ้นโดยการใช้งานผ่านคลื่น 6 GHz
โดยคลื่นความถี่ 6 GHz เป็นคลื่นความถี่ที่สูงกว่าย่านอื่นๆ แน่นอนว่ามีระยะพื้นที่การรับส่งสัญญาณที่ดีกว่าความถี่ 5GHz แม้ว่าระยะการครอบคลุมต่ำกว่า แต่ผู้ใช้งานจะมีความปลอดภัยยิ่งขึ้นมากกว่าเดิมและลดผลกระทบทางด้านสัญญาณอับโดยเฉพาะ WiFi ท้องถิ่่น
การปรับปรุงคลื่นความถี่ในครั้งนี้เป็นการปรับปรุงย่านความถี่ 6GHz ที่ต่ำกว่า (5925-6425 MHz) ซึ่งส่วนนี้ให้บริการสำหรับ Wi-Fi ซึ่งเน้นการให้บริการภายนอกอาคารหรือกลางแจ้งที่ต้องการส่งสัญญาณพลังงานต่ำมาก VLP ลดการแออัดในย่านความถี่เดิมที่มีอุปกรณ์ใช้งานพร้อมกันมากจนเกินไป และใช้อุปกรณ์ที่แบนด์วิดสูงขึ้น
ไทยปรับปรุงตารางความถี่แห่งชาติ รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆและ WiFi 6 ตามข้อตกลงสากล
สืบศักดิ์ สืบภักดี อาจารย์และเลขาธิการสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวให้ความเห็นระบุ สำหรับประเทศไทย มีความคืบหน้าเรื่องการปรับปรุงตารางความถี่แห่งชาติ เพื่อเตรียมรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงสากลผ่านกลไกการประชุมที่ประชุมระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม ค.ศ.2019 (WRC-19) ของ ITU ซึ่งได้มีมติให้แก้ไขข้อบังคับวิทยุ (Radio Regulations) และการจัดการบริหารความถี่หลายประการและไทยในฐานะประเทศสมาชิกได้ลงในกรรมสารสุดท้าย (Final Acts) ของการประชุมซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับวิทยุที่ปรับปรุงแก้ไขดังกล่าว และจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
หากกล่าวเฉพาะการปรับปรุงการใช้งานคื่นความถี่ในส่วนย่าน 6GHz สำนักงาน กสทช. นั้น กสทช. มีมติจากการประชุม ครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 เพื่อออกร่างประกาศ กสทช. เรื่องแผนแม่บทการบริหารคลื่น ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2562) ซึ่งได้เสนอปรับปรุงในส่วนของ ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ (พ.ศ.2562) มีการปรับปรุงการใช้งานย่านความถี่ 6.7GHz เพื่อให้ใช้งานในกิจการ T-Fixed Wireless Sysytm (รูปที่ 1 – 2 ) ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรับฟังความเห็น
รูปที่ 1 ตารางการเสนอปรับการใช้งานความถี่ย่าน 6.7GHz จากเอกสาร ร่างประกาศ กสทช. เรื่องแผนแม่บทการบริหารคลื่น ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2562)
รูปที่ 2 ตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ (พ.ศ.2562) มีการปรับปรุงการใช้งานย่านความถี่ 6.7GHz
ซึ่งหากเทียบเคียงกับ FCC ของอเมริกาที่ได้ออกประกาศให้ใช้งานความถี่ 6GHz ไปก่อนหน้านี้ ตามเอกสาร FCC - Unlicensed Use of the 6 GHz Band; Expanding Flexible Use in Mid-Band Spectrum Between 3.7 and 24 GHz (FCC Record: FCC-20-51A1_Rcd) (รูปที่ 3) ก็จะมีความสอดคล้องกัน
ทั้งนี้ ความคืบหน้าเรื่องการปรับปรุงแผนแม่บทการบริหารคลื่น และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ คาดว่า กสทช. จะดำเนินการแล้วเสร็จและประกาศใช้ได้ก่อนต้นปี 2564
รูปที่ 3 ตารางการกำหนดใช้งานความถี่ 6GHz จากเอกสาร FCC - Unlicensed Use of the 6 GHz Band; Expanding Flexible Use in Mid-Band Spectrum Between 3.7 and 24 GHz (FCC Record: FCC-20-51A1_Rcd)
ทรู เผยข้อดีนำ WiFi-6E มาใช้ เปิดโอกาสให้คลื่น Unlicensed รองรับปริมาณ Traffic ที่เติบโต
ดร.ปรเมษฐ์ ธาราศักดิ์ Engineering Expert, Network Planning & Strategy/Radio Network Planning, ดร. นริศ รังษีนพมาศ Technical Advisor, Network Engineering & Operations/Network Engineering & Quality Assurance และ วีณา จ่างเจริญ Expert, Regulatory/ Compliance Intelligence บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความคิดเห็นกับ adslthailand โดยระบุว่า
"WiFi-6 และ WiFi-6E ถือเป็นเทคโนโลยีเดียวกัน คือ IEEE802.11ax แต่ใช้คนละย่านความถี่ WiFi-6 ใช้คลื่น 2.4 และ 5 GHz ในขณะที่ WiFi-6E ใช้คลื่นย่าน 6 GHz ทั้ง WiFi-6 และ WiFi-6E มีการพัฒนาจาก WiFi-5 (802.11ac) อย่างก้าวกระโดดทั้งในเรื่อง Throuhput และจำนวน User ที่รองรับได้ โดยอาศัยการเพิ่ม Bandwidth จากเดิม 80 MHz เป็น 160 MHz, OFDMA technology จากเดิม OFDM, 1024QAM จากเดิม 256QAM, ส่งทีเดียว 8 stream จากเดิม 4 stream การจัดการ Interference ระหว่าง AP ด้วย BSS Coloring
หากประเทศไทย จะนำ WiFi-6E มาใช้ ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้คลื่น Unlicensed มีการใช้งานได้มากขึ้น เพื่อรองรับปริมาณ Traffic ที่เติบโตขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้คลื่นย่าน 6 GHz ยังจำเป็นต้องคำนึงถึง การอยู่ร่วมกันได้ (Coexistence) กับโครงข่ายอยู่กับที่ (Fixed link) และการไม่รบกวนกันกับสัญญาณดาวเทียมย่าน C-Band ที่เป็น Uplink " ผู้บริหารทรูกล่าวสรุป
ข้อมูล