4 ส.ค. 2563 1,481 16

ดีแทคเปิดโครงการ “ดีแทค ทิ้งให้ดี” ชวนผู้ใช้บริการมาร่วมจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งาน

ดีแทคเปิดโครงการ “ดีแทค ทิ้งให้ดี” ชวนผู้ใช้บริการมาร่วมจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งาน

เปิดแคมเปญบนพื้นที่โซเชียลมีเดีย “ทิ้งให้ดี ทิ้งที่ดีแทค” เพราะมือถือเก่า…คือเรื่องเล่าของความทรงจำ

ซากอุปกรณ์สื่อสาร ประเภทโทรศัพท์มือถือ เป็นส่วนหนึ่งของซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งครองสัดส่วนสูงที่สุดถึง 65% จากจำนวนขยะอันตรายมีพิษทั้งหมด ทั้งนี้ จากสถิติของหน่วยงาน กรมควบคุมมลพิษแถลงสรุปภาพรวมปี 2561 ระบุว่า มีขยะอันตรายมีพิษได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพียง 13% โดยจำนวนนี้ ได้รวมถึง ขยะในกลุ่มอุปกรณ์สื่อสาร โทรศัพท์มือ อุปกรณ์เชื่อมต่อด้วย

ดีแทคในฐานะองค์กรธุรกิจที่ให้บริการด้านโทรคมนาคม และเป็นผู้จัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของประเทศ ตระหนักถึงความรุนแรงของผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของผู้คนในระยะยาว โดยดีแทคได้ยกระดับมาตรการการจัดการซากโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เชื่อมต่อ ให้เข้มข้นมากขึ้น โดยเปิดโครงการ “ดีแทค ทิ้งให้ดี” ที่เชิญชวนผู้ใช้งานอุปกรณ์สื่อสารที่มีอุปกรณ์สื่อสารที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว และยังเก็บไว้ในบ้าน ให้มาทิ้งที่ศูนย์บริการดีแทค ทั้ง 51 แห่งทั่วประเทศ

“ทิ้งให้ดี ทิ้งที่ดีแทค” เพราะมือถือเก่า…คือเรื่องเล่าของความทรงจำ

ดีแทคได้ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้ใช้งานมือถือพบว่า 7 ใน 10 ครัวเรือนจะเก็บรักษาซากมือถือและอุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้งานไม่ได้แล้ว ดีแทคจึงขอเชิญชวนผู้ใช้งานมือถือร่วมเล่น “ทิ้งให้ดี ทิ้งที่ดีแทค” Challenge ผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยการนำอุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟน โทรศัพท์มือถือธรรมดา แท็บเล็ต หูฟัง พาวเวอร์แบงค์ หรืออุปกรณ์ไอที เก่าๆ ที่ไม่ได้ใช้แล้ว มาทิ้งที่ตู้รับขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 51 สาขาทั่วประเทศ ก่อนทิ้งอย่าลืมถ่ายภาพเพื่อโพสต์ข้อความเรื่องเล่าแห่งความทรงจำบนเฟซบุ๊ก เปิดโพสต์เป็นสาธารณะ ติด #ทิ้งให้ดีทิ้งที่ดีแทค และ แท็ก Challenge เพื่อนต่ออีก 3 คน เพียงเท่านี้ก็มีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลการเข้าร่วมกิจกรรมในเดือนสิงหาคม แคมเปญดี ๆ สำหรับผู้ใช้งานทุกเครือข่าย รายละเอียดแคมเปญ https://www.dtac.co.th/campaign/thinkhaid.html

ชารัด เมห์โรทา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคได้เริ่มดำเนินการจัดเก็บซากขยะโทรศัพท์มือถือเก่ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบของเรา

ผมทำความเข้าใจจากสถิติที่เราเก็บได้ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า ดีแทคสามารถเก็บขยะมือถือได้ถึง 1,774,338 เครื่อง เข้าสู่ระบบรีไซเคิล ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ 22,330,044 กิโลคาร์บอน หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ได้มากถึง 2,481,116 ต้น ดังนั้น เราจึงคิดว่า มันถึงเวลาแล้วที่ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือทุกท่าน ซึ่งรวมถึง ผมและเพื่อนพนักงานดีแทค จะร่วมกันใส่ใจและจัดการกับซากขยะมือถือที่ใช้งานไม่ได้แล้วอย่างถูกวิธี ส่วนตัวผมเองก็มีมือถือเครื่องเก่าที่ซื้อมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 ซึ่งก็ผ่านมาเป็นเวลากว่า 15 ปีแล้วครับ ซึ่งผมใช้อยู่พักหนึ่ง ก็ส่งต่อให้ลูกสาวเป็นรางวัลของความสำเร็จและผลการเรียนที่ดีของเธอครับ และมันเป็นมือถือเครื่องแรกของเธอ เธอเลยรักมือถือเครื่องนี้มาก ส่วนผมเห็นมือถือเครื่องนี้ทีไร ก็รู้สึกภาคภูมิใจในตัวลูกสาวทุกครั้ง ผมก็เหมือนผู้ปกครองหลาย ๆ ท่าน ที่ต้องการสร้างแรงจูงใจให้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ ดังนั้น คำที่ผมมักจะบอกกับลูกสาวอยู่ตลอด คือ หากอยากได้มือถือใหม่ ให้ใช้ผลการเรียนที่ดีมาแลก (Keep on performance! Keep on getting a new phone!) เรื่องราวและความทรงจำดี ๆ ผมขอเก็บไว้ แต่วันนี้ถึงเวลาแล้วที่ผมต้อง “ทิ้งให้ดี” ผมจึงเดินลงไปที่ศูนย์บริการดีแทค สาขาจามจุรีสแควร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ดีแทค เฮาส์ด้วย และมีถังรับขยะมือถืออิเล็กทรอนิกส์รอรับอยู่ ผมขอเชิญชวนทุกท่าน ไม่ว่าท่านจะเป็นลูกค้าของค่ายใด หันมาใส่ใจรักษ์สิ่งแวดล้อมและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติกันให้มากขึ้นครับ”

อ่านต่อ “คิดจะทิ้งขยะมือถือ ต้องทิ้งให้ดี” https://dtac.co.th/sustainability/ewaste/

COMMENTS