T-Mobile ให้บริการเครือข่าย 5G แบบ Commercial Nationwide Standalone ครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นประเทศแรกของโลก โดยใช้เทคนิค Un-carrier ขยายพื้นที่ให้บริการ 5G ครอบคลุม กว่า 30 เปอร์เซนต์ และปัจจุบันให้บริการผู้ใช้กว่า 250 ล้านคน มากกว่า 7,500 หัวเมืองและเมืองที่รวมระยะรัศมีครอบคลุมกว่า 1.3 ล้านตารางไมล์
โดยทุกวันนี้เราใช้ 5G ดั้งเดิม ในแบบ Non-SA แต่การปรับมาใช้เทคโนโลยี Standalone หรือ SA เรียกได้ว่า ใช้ 5G อย่างเดียว ในการเชื่อมต่อไร้สาย โดยไม่อาศัย 4G LTE ทำให้ความเร็วใกล้ความจริงของความเป็น 5G มากยิ่งขึ้น เร็วขึ้นตลอดจนค่าแฝงความถี่ต่ำ(lower latency) และเชื่อมต่อแบบ massive ถือเป็นมิติใหม่ของการรองรับการใช้งานทำให้การเข้าถึง Mobile Augmented และ VR หรือ Virtual Reality, cloud gaming เข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น รวมไปถึงการแปลสดแบบ real-time
ย้อนทบทวนกันก่อนว่า ทำไมจึงต้องตื่นเต้นกับ standalone ก็เพราะทุกวันนี้ 5G ยังไม่แรงมากพอ เพราะยังไม่ใช่แบบ standalone แต่เป็น non-standalone จึงเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งให้บริการบนเครือข่าย T-Mobile #5GforAll
ถือเป็นอีกขั้นของ 5G ให้บริการโดย T-Mobile เป็น FIRST IN THE WORLD เครือข่ายแรกในโลก ที่ให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ standalone architecture (SA) ขยายความครอบคลุมแบบ Un-carrier ทำให้อีก 2,000 กว่าเมือง ใช้งาน 5G ได้ หรือเรียกว่า คือ SA 5G is the future บนเครือข่าย T-Mobile
5G ดังกล่าว ยังมีเสาสัญญาณกระจายทั่วอเมริกา T-Mobile ใช้โดรนบินเหนือน่านฟ้า Lisbon ประกาศว่าเป็น “5G is here” บนแผนการให้บริการแบบ Un-carrier
Neville Ray ประธานฝ่ายเทคโนโลยีของ T-Mobile ระบุ ตั้งแต่ Sprint เป็นส่วนหนึ่งของ T-Mobile ก็มีการขยายสัญญาณอย่างรวดเร็ว บน Un-carrier เพื่อขยายขีดความสามารถในการให้บริการ 5G ทั่วประเทศ บนเทคโนโลยีแบบ standalone
อีกขั้นของการเป็นเครือข่าย 5G
เป็นเฟสแรกของ 5G ที่นำคลื่นมาให้บริการ โดยช่วงแรกเป็นการนำคลื่น 5G มาใช้งาน ร่วมกับ LTE core networks ที่มีอยู่เดิม ปัจจุบัน T-Mobile ได้ตอบสนองแบบ real-time ในการเชื่อมต่อแบบ SA ที่เร็วขึ้น ทำให้เกิดเทคโนโลยีอื่นตามมา เช่น รถยนต์ไร้คนขับ self-driving ในพื้นที่ให้บริการ SA ทางวิศวกรของ T-Mobile ได้ปรับแต่งระบบให้ดีขึ้น 40% ทั้งในเรื่อง latency ในการทดสอบ และในระยะเริ่มต้นของ Standalone 5G
ในระยะเวลาอันใกล้นี้ SA ด้วยเครือข่าย T-Mobile จะให้บริการบนคลื่น 600 MHz ส่วนการให้บริการแบบ non-standalone (NSA) คลื่น 600 MHz 5G ยังทำงานร่วมกับคลื่น mid-band LTE ซึ่งหากไม่มี SA สัญญาณ 5G จะทำงานร่วมกับคลื่น mid-band LTE ครอบคลุมรัศมีร้อยตารางไมล์ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การให้บริการ T-Mobile บนเครือข่าย 5G แบบ SA เทคนิค Un-carrier ช่วยให้ใช้งาน 5G ได้เพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซนต์ ปัจจุบันรองรับผู้ใช้ 1.3 ล้านตารางไมล์ มากกว่า 7,500 เมือง
แผนที่การให้บริการ 5G
จากภาพจะเห็นว่า T-Mobile มีปริมาณหนาแน่นในพื้นที่ให้บริการ 5G การรองรับ SA โดย T-Mobile ทำคะแนนได้ดี บน 5G แบบ Un-carrier และจากภาพ พื้นที่ให้บริการกว้างกว่า 10,000 เท่า
การเป็นเครือข่ายแรกของโลกแบบ nationwide commercial SA 5G ทาง T-Mobile จึงร่วมกับ Cisco รวมไปถึง OnePlus, Qualcomm Technologies และ Samsung ผลักดัน Un-carrier ทำให้อุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมสามารถใช้งาน SA 5G ได้ผ่านการอัพเกรดซอฟต์แวร์
พื้นที่ให้บริการ www.t-mobile.com/coverage/5g-coverage-map
ที่มา https://www.t-mobile.com/news/network/standalone-5g-launch