8 ส.ค. 2563 6,539 31

5 เรื่องน่ารู้ของอาคารรัฐสภาไทยแห่งใหม่

5 เรื่องน่ารู้ของอาคารรัฐสภาไทยแห่งใหม่

1. สถาปัตยกรรมสะท้อนความเป็นไทย

สถาปัตยกรรมรัฐสภาแห่งใหม่ มีการศึกษาและถอดรหัสสถาปัตยกรรมแบบแผน “ไตรภูมิ” จากสถาปัตยกรรมด้านจิตวิญญาณของไทยมาใช้ในการออกแบบวางผัง อาคารรัฐสภาแห่งนี้มีชื่อว่า “สัปปายะสภาสถาน” มีความหมายเป็นสถานที่ประกอบกรรมดี รูปแบบอาคารมีการออกแบบตกแต่งตามแบบไทยประยุกต์ มีลักษณะที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถาปัตยกรรมร่วมสมัย  แสดงถึงความเป็นชาติไทยอย่างชัดเจน เป็นการสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม คติความเชื่อ และภูมิปัญญาไทย นับเป็นสถานที่ที่มีความสมบูรณ์และสง่างามที่สุดแห่งหนึ่งของไทย

2. อาคารรัฐสภาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

สัปปายะสภาสถาน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในย่านเกียกกาย บนพื้นที่ประมาณ 119 ไร่ และมีพื้นที่ใช้สอยในอาคาร ถึง 424,000 ตารางเมตร ทำให้เมื่อก่อสร้างเสร็จ สัปปายะสภาสถานจะเป็นอาคารรัฐสภาที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นอาคารของรัฐที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากอาคารเดอะเพนตากอนในสหรัฐอเมริกา ที่มีพื้นที่ 600,000 ตารางเมตร

3. รัฐสภาแห่งแรกในโลกที่พร้อมใช้เทคโนโลยี 5G

รัฐสภาไทย เป็นรัฐสภาแห่งแรกในโลกที่พร้อมใช้เทคโนโลยี 5G โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มทรู ในการศึกษาทดสอบเทคโนโลยี 5G พร้อมนำเทคโนโลยีล้ำสมัยต่างๆมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ, ระบบ IoT, ระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆในอนาคต เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ True5G ที่ไม่ใช่แค่สัญญาณมือถือแต่เป็นสัญญาณที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศ ให้มีอัจฉริยภาพที่เหนือกว่าอย่างยั่งยืน เติมเต็มการทำงานในรูปแบบใหม่ของรัฐสภาในยุคดิจิทัล นำไปสู่การให้บริการที่ดี สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ และเป็นโอกาสสร้างองค์ความรู้ในเทคโนโลยี 5G นำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมตอบโจทย์แนวทางรัฐบาลดิจิทัล 

4. ล้ำสมัยกับหุ่นยนต์ต้อนรับ ยกระดับ SMART Parliament

ที่รัฐสภาใหม่นี้ มีหุ่นยนต์อัจฉริยะ True5G Temi Connect & Carebot ที่เชื่อมโยงการควบคุมและสั่งการผ่านเครือข่าย True5G ทำหน้าที่ต้อนรับและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ที่มาติดต่อ ไม่ว่าจะเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา และประชาชนผู้ใช้บริการอาคารรัฐสภา สามารถให้ข้อมูลข่าวสาร  ช่วยนำทางไปยังห้องประชุมหรือหน่วยงานต่างๆในอาคารได้อย่างสะดวกสบาย และให้บริการวิดีโอ คอลล์ (Video Call) อำนวยความสะดวกให้ผู้มาติดต่อสามารถประสานงานกับหน่วยงานภายในอาคารได้ง่ายๆ และทันสมัย เสริมระบบการปฎิบัติงานและการให้บริการในรูปแบบ Digital & SMART Parliament 

5. สถาปัตยกรรมสีเขียว

อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ออกแบบให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ด้วยแนวคิด สถาปัตยกรรมสีเขียว หรือ Green Architecture ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและสร้างสมดุลระหว่างการประหยัดพลังงานและการอยู่อาศัย สอดคล้องกับสภาพอากาศ จัดวางพื้นที่ใช้สอยตามทิศทางแดด ลมธรรมชาติ และเลือกใช้วัสดุก่อสร้างตกแต่งที่คำนึงถึงแสงสว่าง เสียง คุณภาพอากาศ มีการใช้พลังงานธรรมชาติและพลังงานทดแทน อาคารนี้จะเป็นแบบอย่างของอาคารประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นอาคารที่ยั่งยืน

#True5G #Technologyasforceforgood 

#อัจฉริยภาพสู่โลกใหม่ที่ยั่งยืนของเรา

ขอบคุณข้อมูลและภาพจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สถาบันอาศรมศิลป์ และวิกิพีเดีย

COMMENTS