โดยผู้ให้บริการโทรคมนาคมอย่าง China Telecom และ China Unicom ได้ร่วมกันแชร์คลื่นความถี่ในการให้บริการระหว่างกัน เพื่อให้บริการ 5G แล้วนำเทคนิคเทคโนโลยีดังกล่าวมาให้บริการเชิญพาณิชย์
การให้บริการดังกล่าวใช้เทคโนโลยีของคลื่นความถี่ TDD และ FDD มารวมโครงข่ายให้กลายเป็น Super Uplink และ Downlink CA เข้ามาไว้รวมกัน ทำให้เกิดแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้น 200 MHz ตัวของคลื่นกว้างขึ้นและเวลาแฝงที่ต่ำลง
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การนำร่องคลื่นความถี่ TDD เป็นจำนวน 200 MHz บนย่านความถี่ 3.5 GHz และ คลื่นความถี่ FDD เป็นจำนวน 20 MHz บนย่านความถี่ 2.1 GHz เพื่อให้ในการ Uplink สามารถอยู่ในโหมดเครือข่ายแบบสแตนด์อโลน (SA) ผลของการทดสอบพบว่า Upload สูงถึงระดับ 470 Mbps และ อัตราดาวน์ลิงค์เฉลี่ย 2.43 Gbps ซึ่งเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นเป็น 1.3 เท่า และที่สำคัญเพิ่มเป็นสองเท่าด้วยแบนด์วิดท์ 100 MHz
ข้อดีของเทคโนโลยีดังกล่าว คือ การรวมเอาข้อดีของ CA Super Uplink ที่จะอัปลิงค์แบบรวมคลื่นระหว่างผู้ให้บริการสองรายในเซลล์เดียว ทำให้เกิดความยึดหยุ่นของโครงข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปรับใช้โครงข่าย "5G Super Uplink และ downlink CA" มีความสำคัญอย่างมากในการเพิ่มขีดความสามารถของ 5G โดยเฉพาะผ่านแถบความถี่ 5G บน FDD และ TDD ทำให้สามารถมอบประสบการณ์ระดับพรีเมี่ยมได้
ข้อมูล telecom.economictimes.indiatimes oltnews telecomlive digitalpolicylaw