ความสำเร็จดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกของโลกในช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากการทดสอบระบบ CBN บนย่านความถี่ 700 MHz ด้วยจำนวนความถี่ 2x30 MHz บนเทคโนโลยี FDD เพื่อให้บริการ 5G ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ต่ำกว่า 1 GHz
โดยอุปกรณ์สมาร์ทโฟนต้องรองรับ Qualcomm’s Snapdragon X55 รองรับ 5G Modem-RF System
คลื่นความถี่ 700 MHz เป็นคลื่นความถี่ที่สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ในพื้นที่ๆ กว้างและลึก ซึ่งทาง Qualcomm เตรียมนำเทคโนโลยีนี้มาใส่ในอุปกรณ์ Vivo, ZTE, Quectel, Fibocom และ Gosuncn ในขั้นตอนต่อไป
สำหรับประเทศไทย ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เริ่มต้นในการเปิดประมูล 5G อย่างเป็นทางการ โดยผู้ชนะการประมูลวันที่ 16 มีนาคม 2563
CAT Telecom ประมูลได้ 2 ชุด ย่าน 738-748MHz/793-803MHz ราคาสุดท้าย 34,306 ล้านบาท เงินประมูลรวม 34,306,000,000 บาท
AIS (AWN) ประมูลได้ 1 ชุด ย่าน 733-738MHz/788-793MHz ราคาสุดท้าย 17,153 ล้นบาท ผลรวมราคาที่เสนอ 1,000,000 บาท เงินประมูลรวม 17,154,000,000 บาท
รวม 51,459 ล้านบาท รวมราคาที่เสนอ 1,000,000 บาท (51,460,000,000 บาท)
โดยผู้ชนะการประมูล วันที่ 19 มิถุนายน 2562
True Move ได้รับคลื่นความถี่ชุดที่ 1 ช่วงความถี่ 703-713 MHz คู่กับ 758-768 MHz ราคาคลื่น 17,584 ล้านบาท ชำระจริง 18,814.898 ล้านบาท
dtac Trinet ได้รับคลื่นความถี่ชุดที่ 2 ช่วงความถี่ 713-723 MHz คู่กับ 768-778 MHz ราคาคลื่น 17,584 ล้านบาท ชำระจริง 18,814.898 ล้านบาท
AWN ได้รับคลื่นความถี่ชุดที่ 3 ช่วงความถี่ 723-733 MHz คู่กับ 778-788 MHz ราคาคลื่น 17,584 ล้านบาท ชำระจริง 18,814.898 ล้านบาท
ซึ่งจะเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป
ข้อมูล niushuma qualcomm rcrwireless telecomtv techblog