28 ส.ค. 2563 1,118 0

ดาต้าเซ็นเตอร์กำลังมาใกล้ตัวคุณ กับระบบคลาวด์ที่เชื่อมต่อเอดจ์ ไฮบริด และทำงานแบบกระจายศูนย์

ดาต้าเซ็นเตอร์กำลังมาใกล้ตัวคุณ กับระบบคลาวด์ที่เชื่อมต่อเอดจ์ ไฮบริด และทำงานแบบกระจายศูนย์

ปี 2006 ในงานอุตสาหกรรมงานหนึ่ง ซีอีโอของกูเกิล อีริค ชมิดท์ แนะนำให้รู้จักคำว่า “คลาวด์ คอมพิวติ้ง” ซึ่งความหมายที่ง่ายที่สุด คือ การจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต แทนการใช้ฮาร์ดดิสก์ในคอมพิวเตอร์ของคุณ ปัจจุบัน หลายองค์กรรวมถึงหลายหน่วยงานภาครัฐได้นำกลยุทธ์ “cloud first” มาใช้ หลักๆ คือการสมัครใช้บริการจากผู้ให้บริการที่นำเสนอบริการระดับพรีเมียมที่ดีกว่าการสร้างและบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ของตัวเอง

เริ่มจากประเด็นที่เราพิจารณาใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อรองรับการใช้งานของผู้คนจำนวนมากในหลายประเทศ ดาต้าเซ็นเตอร์เหล่านี้ โดยหลักกลยุทธ์แล้วจะต้องอยู่นอกเขตเมืองหลักไกลออกไป เพื่อหลีกเลี่ยงความแออัดของเครือข่าย (เพื่อให้ง่ายต่อการเชื่อมต่อไฟเบอร์ระยะไกลโดยไม่ต้องผ่านเครือข่ายในเมือง ต่อมาคือเรื่องของการค้นหาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น โซลูชันดาต้าเซ็นเตอร์บนคลาวด์ในเวอร์ชันที่เล็กลงมาถูกย้ายไปที่เครือข่ายเอดจ์ในภูมิภาค (ส่วนใหญ่อยู่ในหัวเมืองใหญ่ต่างๆ) ซึ่งช่วยปรับปรุงบริการให้ดียิ่งขึ้นด้วยความเร็วสูงขึ้นและลดความล่าช้าสำหรับพื้นที่ในเมืองที่ให้บริการโดยเฉพาะสำหรับพื้นที่นั้นๆ

มารู้จักกับ Tethered Cloud

เมื่อเดินหน้ามาถึงปี 2020 ผู้ใช้คลาวด์รุ่นแรกๆ ต่างต้องการประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นในแง่ของความเร็ว ความพร้อมใช้งาน และสมรรถนะ เพื่อตอบสนองเรื่องเหล่านี้ ผู้ให้บริการคลาวด์ก็พัฒนาแผนเพื่อขยาย data center cloud stacks ที่รวมศูนย์ไปจนถึง “local edge” (อยู่ใกล้กับผู้ใช้มาก กระทั่งอยู่ที่ไซต์งานเลยก็ตาม) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และช่วยให้องค์กรธุรกิจทั้งหลายเก็บข้อมูลไว้เป็นส่วนตัว ช่วยให้ควบคุมข้อมูลได้ดียิ่งขึ้นและบังคับใช้งานได้ตามกฏระเบียบด้านข้อมูลที่กำหนดไว้ได้อย่างเหมาะสม  เป้าหมายของเวอร์ชันที่เป็น local edge คือการใช้เครื่องมือเดียวกัน ช่องทางการเชื่อมต่อ หรือ API เดียวกัน รวมถึงฮาร์ดแวร์ และฟังก์ชั่นการทำงานเดียวกันทั่วทั้ง local edge cloud และ central clouds  จากนั้นก็จะทำให้องค์กรธุรกิจสามารถรันระบบโครงสร้างไอทีแบบ on-premises ในลักษณะเดียวกันและให้บริการเหมือนๆ กันได้

และเป้าหมายของแนวคิดนี้ก็คือ mini cloud stack แบบใหม่ หรือที่เรียกว่า “tethered cloud” แต่ใช้ระยะเวลานานมากกว่าที่หลายคนคิดไว้ในตอนแรก ในขณะที่องค์กรเอ็นเตอร์ไพร์ซส่วนใหญ่มีกลยุทธ์ไฮบริดคลาวด์บางอย่างอยู่แล้ว หรือติดตั้งแบบที่ไม่ได้วางกลยุทธ์ก็ตาม  ซึ่งการใช้งานลักษณะนี้หลายองค์กรพยายามเลี่ยงในเรื่องเอดจ์ (แบบมีนัย) เลือกโครงการที่ง่ายแบบมีข้อจำกัดเรื่องฟังก์ชันการทำงาน ให้ความเรียบง่ายและเร็ว แต่มีการคืนทุนที่ดี การเดินทางสำหรับ “tethered cloud ในลักษณะเดียวกัน” จึงเกิดขึ้น

ตัวอย่างของ tethered clouds มีดังต่อไปนี้

  • ไมโครซอฟท์ เป็น tethered cloud รายแรกที่เปิดตัวสู่ตลาดด้วย Azure Stack  โดยไมโครซอฟท์ขายซอฟต์แวร์ และให้คู่ค้าด้านไอทีที่ผ่านการรับรอง นำเสนอโซลูชันทางกายภาพ เช่น เซิร์ฟเวอร์ สวิทช์ enclosures และ UPS รวมถึงการติดตั้งและบริหารจัดการ ตัวอย่างคือโซลูชันที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้เอามารวมกับ HPE
  • Amazon Outpost ได้ประกาศเปิดตัวโมเดลธุรกิจที่แตกต่างกันไปเล็กน้อยในเดือนธันวาคม 2019 ซึ่ง AWS ขยายฮาร์ดแวร์ และ service stack โดยลูกค้ามีทางเลือกในการใช้งานและบริหารจัดการได้ด้วยตัวเอง หรือจ่ายให้กับ Amazon เพื่อให้คู่ค้าที่ได้รับการรับรองเป็นผู้ดูแลให้ ซึ่งจะนำเสนอบริการ เครื่องมือ และ APIs ในลักษณะเดียวกับที่ได้จาก AWS cloud อย่างเต็มรูปแบบ
  • กูเกิล เป็นผู้เล่นรายใหม่ล่าสุดที่มาพร้อม Google Anthos ซึ่งเป็นระบบเปิดมากขึ้นที่ขยายการใช้งาน Google cloud platform โดยจะให้แพลตฟอร์มตาม software containers และ Google Kubernetes Engine (GKE) ที่ช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาเวิร์คโหลดที่สามารถรันได้ทั้งบน on-premise ใน tethered clouds หรือบน Google Central ClouKeyw

ประโยชน์ของ local edge

ไฮบริดคลาวด์พื้นฐานส่วนใหญ่ หมายถึง การมีแอปพลิเคชันทั้งหมดหรือการบริการอยู่บนเครือข่ายเดียวกัน แต่ไอทีและซอฟต์แวร์อยู่คนละที่ แอปพลิเคชันบางโปรแกรมรันอยู่ในพื้นที่ และบางส่วนอยู่บนคลาวด์ เมื่อเริ่มผสานรวม data plane คุณก็จะเข้าไปยังสิ่งที่เราเรียกว่า ไฮบริดคลาวด์ที่ผูกกันอยู่หลวมๆ ซึ่งแอปพลิเคชันบน local edge และที่ระบบโครงสร้างส่วนกลาง ใช้ data plane เดียวกันในการส่งข้อมูลและทำการจัดเก็บ  การผสานรวมการทำงานในขั้นตอนต่อไป คือ การผูกกับระบบไฮบริดคลาวด์อย่างจริงจัง ซึ่งจะผสานรวมกันทำงานในส่วนของ control plane โดย control plane จะควบคุมการทำงานของ data plane และใช้โปรโตคอลในการจัดเส้นทาง วางกฏระเบียบและนโนบายเพื่อใช้ร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ทั้งหมดหรือโหนดในเครือข่ายเพื่อสร้างหรือตอบสนองต่อทราฟฟิกของข้อมูล นี่คือพื้นฐานในการจำลองบริการ central cloud ในพื้นที่

อย่างไรก็ตาม มันอาจจะไม่ใช่บริการคลาวด์ทั้งหมดที่คุณมี แต่เมื่อคุณมีบริการคลาวด์ทั้งหมดที่เหมือนกัน มีประสบการณ์จากการใช้อุปกรณ์หรือโหนดใดๆ ก็ตามบนเครือข่ายได้เหมือนกันหมด นั่นคือสิ่งที่เราเรียกว่าเป็นการเชื่อมโยงไฮบริดคลาวด์เข้ากับเอจด์เพื่อการทำงานแบบกระจายศูนย์ได้อย่างแท้จริง  ประโยชน์เสริมที่คุณจะได้คือเรื่องของ redundancy หรือระบบสำรองในกรณีที่การเชื่อมต่อไปยัง central cloud หรือ tethered cloud ในพื้นที่หายไป

คลาวด์ที่เชื่อมโยงกับ local edge จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้ในองค์กรเอ็นเตอร์ไพร์ซ ดังต่อไปนี้

ขยายระบบไอทีได้อย่างยืดหยุ่น ขยายไปสู่คลาวด์หลักส่วนกลางในเวลาที่ต้องการได้

  • ลดความล่าช้า ให้คุณค่ามากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้แอปพลิเคชันที่ความเร็วเป็นเรื่องสำคัญ
  • เพิ่ม Redundancy ด้วยบริการ “like-for-like” ที่จำลองบริการเหมือนกันบนคลาวด์ส่วนกลาง
  • ตอบโจทย์ผลกระทบทางภูมิศาสตร์ เรื่องการตรวจสอบ การรักษาความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ทางข้อมูล
  • มีความเรียบง่าย โดยให้ผู้ให้บริการเป็นผู้ออกแบบ วางสถาปัตยกรรม กระจายศูนย์การทำงาน บริหารจัดการ และอัพเดตบริการต่างๆ

ควบคุมแอปพลิเคชันและข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น

บริการคลาวด์แบบรวมศูนย์จะยังคงมีบทบาทสำคัญ แม้ว่าจะมีความต้องการในเรื่องของ local edge อยู่ก็ตาม บริการคลาวด์แบบรวมศูนย์จะยังคงความสำคัญในเรื่องการจัดเตรียมระบบล่วงหน้า (provisioning) การบริหารจัดการ และการอัพเดตซอฟต์แวร์และการบริการบน tethered clouds  ในขณะที่หลายองค์กรที่แตกต่างกัน ต่างต้องเผชิญความท้าทายที่หลากหลายเมื่อเป็นเรื่องของกลยุทธ์ด้านคลาวด์ ที่ไม่มีคำตอบตายตัว อย่างไรก็ตาม tethered clouds ช่วยให้องค์กรทั้งหลายมีทางเลือกที่แตกต่างกันในการลดความล่าช้า เพิ่มระบบสำรอง หรือควบคุมแอปพลิเคชันและข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น อนาคต คือ ระบบคลาวด์ที่เชื่อมต่อกับ local edge และมันกำลังมาใกล้คุณในอีกไม่ช้า

COMMENTS