ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก (กพอ.) จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2561 เห็นชอบในหลักการของแผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งประกอบด้วย 8 แผนงาน โดยมีแผนงานการสร้างศูนย์ทดสอบ 5G และเตรียมโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่นำร่อง เป็นหนึ่งในแผนงานดังกล่าวด้วย รวมถึง ครม. ได้มีมติรับทราบแผนดังกล่วเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา เป็นสถาบันการศึกษในพื้นที่ EEC ซึ่งมีศักยภาพทั้งในเชิงของพื้นที่และบุคลากรสามารถรองรับการพัฒนาเป็นสนามทดสอบ 5G ได้ โดยที่ผ่านมา ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ทำงานร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาแนวทางในการร่วมดำเนินการจัดตั้งศูนย์ทดสอบ 5G ในพื้นที่ EEC โดยที่ผ่านมา ได้ทีมผู้บริหารของกระทรวงฯ ผู้ประกอบการโทรคมนาคม บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ นักศึกษา รวมถึงบุคคลภายนอกได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ทดสอบ 5G ซึ่งมีผู้เยี่ยมชมกันอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนั้นผู้เยี่ยมชมยังได้รับความรู้ความเข้าใจถึงเทคโนโลยี 5G ที่จะเป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีในอนาคต โดยกระทรวงฯ ได้รับความร่วมมือจาก บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ในการสนับสนุนอุปกรณ์เครือข่าย และให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเรื่องการทดสอบเทคโนโลยี 5G ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 และ พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเรื่องการทดสอบเทคโนโลยี 5G ระหว่าง กระทรวงดิจิทัลเพื่อศรษฐกิและสังคม และ 40 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2562 พื้นที่ในการทดลองทดสอบและคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงฯ
โดย บจม.ทีโอที จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้ประกอบการโทรคมนาคมและผลิตอุปกรณ์ให้เป็นผู้แทนในการจัดทำเอกสารขออนุญาตใช้คลื่นความถี่ ณ ศูนย์ทดสอบ 5G ศรีราชา ซึ่งได้รับอนุญาตจากสำนักงาน กสทช. ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 จึงทำให้ศูนย์ทดสอบแห่งนี้เป็นพื้นที่ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการทดสอบ 5G เป็นที่แรกๆ ของประเทศไทย
โดยปัจจุบัน สำนักงาน กสทช ได้ปรับเงื่อนไขเฉพาะสำหรับการทดลองทดสอบใหม่ให้เป็นรูปแบบ Regulatory Sandbox ซึ่ง ม.เกษตรศาสตร์ ศรีราชา ได้ผ่านการอนุญาตดังกล่าวแล้วให้เป็นผู้ประสานงานพื้นที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2562 ทำให้ศูนย์ทดสอบ 5G ศรีราชา ได้เป็น sandbox สำหรับการทดสอบ 5G อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ พื้นที่ห้องทดสอบจะอยู่ในบริเวณภายในอาคาร indoor) ตั้งอยู่ชั้น 4 จากทั้งหมด 9 ชั้น ของอาคาร 23 คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา รวมขนาดพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร ในส่วนของพื้นที่นอกอาคาร (outdoor) ที่เคยเป็นพื้นที่ทดสอบนั้น กระทรวงฯ ได้หารือกับผู้มีส่วนกี่ยวข้องและเพื่อไม่ให้เกิดคลื่นความถี่รบกวนกับคลื่นความถี่เชิงพาณิชย์ จึงขอระงับการใช้พื้นที่นอกอาคารในการทดสอบไปก่อน
โดยย่านความถี่ที่ได้รับอนุญาตในการทดลองทดสอบที่พื้นที่นี้ มี 3 ย่านความถี่ ได้แก่ ย่านความถี่ 26 GHZ (24.250 - 27.500 GH2) ย่านความถี่ 28 GHz (26.500 - 29 500 GH2) และ ย่านความถี่ 2400 MHz (2400 - 2500 MHz) ทั้งนี้ การทดสอบ 5G ในปัจจุบันยังจำเป็นต้องใช้ 4G ในการทดสอบร่วมด้วย
ดังนั้น กระทรวงๆ จึงขอความอนุเคราะห์คลื่นความถี่ 4G จาก บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) ที่เป็นผู้ที่ถือคลื่นความถี่ 2.1 GHz ของ บมจ.ทีโอที อยู่ ซึ่ง AIS ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและให้ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวในการทดสอบได้ แต่ให้ทดสอบเฉพาะภายในอาคารเท่านั้น