15 ก.ย. 2563 1,141 0

LINE ประเทศไทย จัดงาน LINE Thailand Developer Conference 2020 ผ่านออนไลน์

LINE ประเทศไทย จัดงาน LINE Thailand Developer Conference 2020 ผ่านออนไลน์

LINE ประเทศไทย เสริมแกร่ง LINE API Ecosystem จัดงาน LINE Thailand Developer Conference 2020 ประจำปีในรูปแบบออนไลน์รับชมได้ทั่วถึง ภายใต้แนวคิด “LINE API in Action” ที่เน้นให้นักพัฒนาหยิบ LINE API ไปต่อยอดใช้งานจริง ชูฟีเจอร์ใหม่ Massaging API เปลี่ยนรูปภาพและชื่อแอคเคาท์เนม สลับระหว่างแชทบอทและแอดมินเติมเต็มผู้ใช้ได้ดีขึ้น ย้ำดาวรุ่งปีนี้คือ LIFF (LINE Front-end Framework) ที่จะสามารถนำไปใช้งานนอกแอป LINE ได้แล้ว ขณะที่อุปกรณ์ LINE Beacon สำหรับ SME จะพร้อมวางจำหน่ายในเร็วๆนี้


วีระ เกษตรสิน Head of Engineering บริษัท LINE ประเทศไทย กล่าวในงาน LINE Thailand Developer Conference 2020 ว่าทีมวิศวกรของบริษัท LINE ประเทศไทยรู้สึกตื่นเต้นและดีใจมากที่ทำให้งานประชุมปีนี้เกิดขึ้นได้ เพราะสถานการณ์โรคระบาดโควิค-19 ได้เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตและการดำเนินธุรกิจของทุกคน เมื่อต้องออกจากกรอบความคิดเดิมและข้อจำกัดที่มี ทำให้สามารถมองหาวิธีการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ รูปแบบงานในปีนี้จึงพลิกโฉมประสบการณ์จากงาน LINE Thailand Developer Conference ในประเทศไทยไปอย่างสิ้นเชิง เพราะทุกคนสามารถมีส่วนร่วมกับงานจากที่ใดก็ได้บนโลกใบนี้

LINE Developer community มีการเติบโตที่ดีมาก วันนี้ จำนวนนักพัฒนาใน community มีมากกว่า 17,000 คน จากปีที่แล้วอยู่ที่ 8,000 คน เพิ่มขึ้น 1 เท่าตัวภายในเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้นเอง ผมต้องขอขอบคุณทีม Developer Relations กลุ่ม LINE AI Expert และนักพัฒนาทุกคนที่ร่วมกันสร้างสรรค์และผลักดันการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

ตั้งแต่ต้นปี LINE API มีฟีเจอร์ใหม่เปลี่ยนแปลงหลายจุดเพื่อให้นักพัฒนาสามารถนำไปต่อยอดในบริการของตัวเอง จำนวนนักพัฒนาที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้จำนวนแชทบอทบน LINE เติบโตขึ้นเช่นกัน โดยปัจจุบัน LINE มีแชทบอทรวม 130,000 ตัว เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ใน 1 วัน มีผู้ใช้งานแชทบอทบน LINE มากกว่า 43 ล้านข้อความ และ LIFF app (LINE Front-end Framework) มีจำนวนเกิน 5,500 แอป ส่งให้ยอดผู้ใช้งาน LIFF app เพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านคนต่อวัน


สำหรับไฮไลท์ของ Messenger API ที่ LINE อัปเดทภายในงาน คือการเพิ่มความสามารถที่จะเปลี่ยนไอคอนและชื่อแอคเคาท์เนมของออฟฟิศเชียลแอคเคาท์หรือแชทบอทได้อย่างเสรี ทำให้ลูกค้าองค์กรแถวหน้าของไทย อาทิ ธนาคารไทยพาณิชย์  สามารถนำ Live Agent หรือทีมงานคนเข้ามาร่วมให้บริการกับแชทบอทบน SCB Connect เพื่อให้สามารถตอบคำถามของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เพราะการเปลี่ยนรูปภาพและชื่อแอคเคาท์สลับระหว่างแชทบอทและแอดมินได้อย่างลงตัว ทำให้ธนาคารสามารถนำแชทบอทมาให้บริการได้อย่างประหยัดค่าใช้จ่าย และทำงานได้ 24 ชั่วโมง โดยที่ลดปัญหาลูกค้ารู้สึกว่าแชทบอทไม่ฉลาดเพราะตอบคำถามผิดพลาด อีกทั้ง ทีม KBTG จากธนาคารกสิกรไทย ที่พัฒนาแชทบอท “ขุนทอง” ซึ่งถือเป็นกรณีศึกษาสำคัญเรื่องการสร้างแชทบอทในกลุ่ม LINE เป็นการพัฒนา LINE API ที่ตรงใจผู้ใช้ได้อย่างโดดเด่นเพราะผู้ใช้ไม่ต้องติดตั้งแอปพลิเคชัน และสามารถใช้ LINE LOGIN เพื่อยืนยันตัวตนว่าเป็นผุ้ใช้ที่มาจาก LINE จริง ขณะที่ API ของ LINE ไม่เพิ่มต้นทุนให้บริการ

ฟีเจอร์อื่นที่มีการอัปเดทคือ LINE Emoji ที่เปิดให้นักพัฒนาสามารถที่ส่งอิโมจิน่ารักผ่านข้อความที่เป็น Text Massage ได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องแปลงเป็นโค้ด เพราะสามารถกำหนด Emoji ID แล้วแนบไปกับข้อความเพื่อส่งไปหาผู้ใช้ได้เลย นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ที่เปิดให้นักพัฒนารู้ว่าผู้ใช้ใช้งานภาษาอะไร ทำให้ส่ง Rich Menu ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

LINE ยังเพิ่ม Narrowcast API ให้นักพัฒนาส่งข้อความถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าเดิม สามารถเลือกส่งเฉพาะกลุ่มคนที่เคยเห็นข้อความก่อนหน้านี้เท่านั้น รวมถึง Multicast API ที่ปลดล็อคจากก่อนหน้านี้ที่สามารถส่งหาผู้ใช้ได้สูงสุด 150 คน มาเป็นการส่งได้สูงสุด 500 คนต่อ 1 รีเควสท์ และสำหรับ Rich Menu ที่นิยมมากในผู้ใช้ LINE Official Account การอัปเดททำให้ Official Account สามารถเปลี่ยนแปลง Rich Menu ด้วย API พร้อมกันสูงสุด 500 คน จากเดิมที่ทำได้ 150 คน ตอบโจทย์ Official Account ที่มีผู้ใช้จำนวนมาก 

เพื่อให้เห็นถึงความตั้งใจสูงสุดของไลน์ที่ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย  LINE ได้เพิ่มความปลอดภัยให้องค์กรสามารถกำหนดอายุการใช้งาน Chanel  Access Token ซึ่งเป็นเหมือนกุญแจสำคัญในการใช้ LINE Messaging API ได้ดั่งใจ ขณะเดียวกันก็ปรับปรุง X-Line-Retry-Key แก้ปัญหาและลดข้อผิดพลาดในการส่งข้อความซ้ำ รวมถึง 2 Webhook Event ใหม่คือ Unsend Event ที่สามารถตรวจจับว่าผู้ใช้รายใดกดยกเลิกส่งข้อความหรือ unsend ในกลุ่มหรือห้องที่มีแชทบอทอยู่ และ Video Viewing Complete Event ที่สามารถตรวจจับผู้ใช้ที่ดูวิดีโอจบ ทำให้นักการตลาดสามารถส่งข้อความกลับไปพูดคุยต่อยอดกับผู้ใช้ รวมถึงสามารถวัดผลการชมวีดีโอจบได้

อีกส่วนที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในงาน คือ Flex Massage ที่นักพัฒนาสามารถออกแบบข้อความได้ตามจินตนาการ แล้วจึงส่งให้ผู้ใช้ทั้งทางโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต รวมถึง PC จากปี 2019 ที่มีการอัปเดทให้สามารถขยายข้อความเต็มหน้าจอ ล่าสุดการอัปเดทในปี 2020 คือการทำแอนิเมชันในข้อความได้ และเครื่องมือล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวในปี 2019 ในปีนี้ LIFF หรือ LINE Front-end Framework ถูกปรับให้สามารถนำแอปไปใช้นอกแอป LINE  ได้ ขณะเดียวกันก็อัปเดทให้การแชร์ข้อความจาก LIFF app บน LINE ไปหากลุ่มเพื่อนผู้ใช้สามารถทำได้อย่างง่ายดายและสะดวกสบายขึ้น โดยที่ระบบสามารถทราบได้ว่าการแชร์ข้อความนั้นสำเร็จหรือไม่ อีกทั้ง ดาวรุ่งอย่าง LIFF ยังถูกปรับความสะดวกสบายในด้านการเทสต์หรือการทดสอบด้วย โดย LINE มีการเปิดคอร์สเรียน LIFF ฟรี คู่กับการเปิดตัว LINE Developers Codelabs เป็นพื้นที่ใช้ทุกคนฝึกพัฒนา 3 ทักษะทั้ง LIFF app, LINE Chatbot และ Flex Simulator สามารถติดตามที่ https://codelabs.line.me

ที่ถือเป็นไฮไลท์สำหคัญ สำหรับผู้ประกอบการ SME คือ การประกาศเปิดตัว LINE Beacon สำหรับ SME เพื่อให้ธุรกิจขนาดย่อมสามารถซื้อฮาร์ดแวร์สำหรับปล่อยสัญญาณบลูทูธ แล้วนำมาติดหน้าร้าน เมื่อลูกค้าที่ใช้ LINE ซึ่งเปิด Bluetooth และโหมด LINE Beacon เดินผ่านมา ก็จะสามารถรับข้อความหรือโปรโมชันจากร้านได้ เบื้องต้นตัวอุปกรณ์กำลังเตรียมวางจำหน่ายในเร็ววันนี้ ซึ่งจะช่วยให้การสื่อสารระหว่างร้านค้าและลูกค้าเป็นไปปย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนั้น ภายในงาน ยังมีการเปิดตัวโครงการ LINE_HACK 2020 โดยประกาศรับสมัครผู้ที่สนใจนำ API ของ LINE ไปพัฒนาแล้วนำมาแสดงให้สาธารณชนได้รู้จักในเร็ววันนี้ (hackth.line.me

LINE ยังคงตอกย้ำพันธกิจ “CLOSING THE DISTANCE” เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำให้ทุกคนได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น รวมไปถึงการนำพาทุกคนไปใกล้กับบริการและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อชีวิตที่ง่ายและสะดวกสบายยิ่งขึ้นต่อไป

COMMENTS