1 ต.ค. 2563 2,052 34

AIS Academy เปิดภารกิจคิดเผื่อเพื่อคนไทย ผ่านรูปแบบ Online เสริมขีดความสามารถด้านนวัตกรรม เรียนรู้ ทักษะอาชีพใหม่

AIS Academy เปิดภารกิจคิดเผื่อเพื่อคนไทย ผ่านรูปแบบ Online เสริมขีดความสามารถด้านนวัตกรรม เรียนรู้ ทักษะอาชีพใหม่



กานต์ ตระกูลฮุน ประธานกรรมการ AIS กล่าวว่า สำหรับการจัดการนี้สิ่งที่พิเศษมาก เพราะเรื่องของการแบ่งปันความระหว่างกัน ทาง ais ร่วมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมต่างๆในประเทศไทยที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเพิ่มขึ้นเป็นระดับ 1% ของจีดีพี แต่การวิจัยสำหรับองค์กรระดับกลางและเล็กยังมีจำนวนน้อยอยู่ส่วนนี้เราจะต้องเร่งการพัฒนาในการวิจัยให้เพิ่มขึ้นให้ได้

สิ่งที่น่าสนใจมากคือการศึกษาออนไลน์หรือการศึกษาด้วยตัวเองจะส่งผลให้การรับสมัครงานไม่จำเป็นที่ต้องพึ่งพาวุตการศึกษาแต่สามารถนำความรู้ที่มีความพิเศษของตนเองเข้ามาเพิ่มศักยภาพของบุคลากรผ่านสิ่งแวดล้อมต่างๆซึ่งทาง Ais Academy สามารถเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือได้



ชาคริตย์ เดชา รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า สำหรับการเพิ่มทักษะแรงงานของพนักงานจำนวน 55 ล้านคน ซึ่งสถานการณ์ ในปีที่ผ่านมาสถานการณ์โควิด 19 ได้กระทบกับแรงงานมากกว่า 7-8 ล้านคน โดยเรามีความตั้งใจที่จะพัฒนา 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเราพัฒนาคนในด้านนระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์โดยตั้งที่จังหวัดชลบุรีเป็นพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ภายใน 5 ปี จะมีคนที่ต้องเข้าไปทำงานในอุตสาหกรรมดังกล่าวมากกว่า 450,000 คน โดยพัฒนาให้คนเหล่านี้จำเป็นต้องเข้าถึงงานดิจิตอลเพื่อการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เราได้ลงลึกภาคอุตสาหกรรมการเกษต พัฒนาและสอนใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิต เช่น การวางระบบน้ำแบบดิจิตอลฝึกอย่างจริงจัง หรือการพ่นยาโดยการใช้โดรนทำให้ลดระยะเวลาในการดำเนินการได้เป็นวัน

นอกจากนี้ทางกรมพัฒนาแรงงานยังได้มีการจัดทำวิดีโอเพิ่มทักษะทางด้านอาชีพ โดยปลายปีนี้จะเป็นปีแรกที่จะฝึกอาชีพในรูปแบบออนไลน์พร้อมรับใบรับรอง ตั้งแต่ 8 ชั่วโมง ถึง 120 ชั่วโมง

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ปัจจัยทางด้านปริมาณซึ่งเป็นเรื่องของจำนวนประชากรนักศึกษาทั้งประเทศจีน,อินเดีย,อินโดนีเซีย แต่สำหรับประเทศไทยไม่มีปริมาณในเรื่องของจำนวนประชากรด้านการศึกษา จำนวนนักศึกษาภายในประเทศไทยไม่จำเป็นที่ต้องแย่งกันเพื่อเข้าสู่ในระบบแล้ว

หากเรามองจำนวนประชากรในต่างประเทศที่มีจำนวนประชากรน้อยกว่ากรุงเทพ เช่น ในย่านยุโรปมีจำนวนประชากรที่น้อยกว่ากรุงเทพ แต่สามารถสร้างนวัตกรรมและอุตสาหกรรมขายได้ทั่วโลกเช่นอุตสาหกรรมของรถยนต์ Volvo เป็นต้น

บางครั้งวิกฤตก็จะเกิดโอกาสเกิดขึ้นซึ่งหลายท่านก็ไม่ได้เรียนจบมาแล้วทำงานได้ตรงสาย ทางเลือกที่เราน่าจะกลับมาสนใจมากที่สุดนั่นคือการกลับมาเรียนในมหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากประเทศไทยยังจำเป็นที่ต้องสร้างกำลังคนให้มีความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

ในโลกใบนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราต้องการบุคลากรที่สามารถมีความรู้ที่หลากหลายหรือมีความรู้ข้ามสาขาเมื่อทำงานแล้วสามารถจบลงได้ด้วยบุคลากรคนนั้นเพียงคนเดียว สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อุตสากรรมมีความต้องการสูง

อีกส่วนทางเอกชนต้องเข้ามาร่วมกับกับมหาวิทยาลัยเพิ่มความสามารถนักศึกษาด้วยกัน โดยที่ไม่ได้เป็นเพียงฝ่ายรับฝ่ายเดียวเท่านั้น ให้มีปริมาณและคุณภาพเพียงพอ




ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผอ.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ช้าในเรื่องของการพัฒนาแรงงานมากกว่า 30 ปี แต่ประเทศไทยกลับเป็นประเทศที่เก่งทางด้านของศิลปะ โดยความหลากหลายเป็นเรื่องดี ประเทศไทยสนับสนุนสตาร์ทอัพที่ต้องการคิดใหม่ทำใหม่อย่างรวดเร็ว ประเทศไทยต้องเริ่มมีการส่งเสริมบุคลากรสร้างผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น แต่สตาร์ทอัพที่ประเทศไทยรู้เรื่องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางลึกยังมีไม่พอ

อย่างน้อยนักศึกษาไทยสามารถที่จะเปิดบริษัทในขณะที่ยังศึกษาอยู่ได้เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงสามารถเพิ่มจำนวนสตาร์ทอัพในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่เราจำเป็นที่มากที่สุดคือ การเชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตขนาดใหญ่กับมหาวิทยาลัยให้พวกเขาได้เชื่อมต่อข้อมูลระหว่างกัน ให้สามารถผลิตบุคลากรได้ตรงกับความต้องการของผู้ผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้เราต้องเปิดกว้างลงลึกโดยการให้นักศึกษาลงไปลองทำงานกินนอนกับบริษัทสตาร์ทอัพใหม่ๆ มากกว่า 3 เดือน เพื่อให้นักษาศึกษาสามารถเข้าใจวิธีการทำงานได้อย่างแท้จริง



อนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือการต้องการเปิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่กลับไม่สามารถเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ได้เนื่องจากจำนวนคนไม่มีความรู้เพียงพอ ทำให้เราไม่สามารถที่จะรับจำนวนคนเข้ามาทำงานได้

มหาวิทยาลัยไม่สามารถที่จะพัฒนาคนได้ตามทักษะให้ทันต่อโลกได้ ส่งผลให้บริษัทจะต้องวางมาตรฐานของบริษัทในการพัฒนาคนเพิ่มมากขึ้น ให้สามารถทำงานเข้าบริษัทได้โดยทางบริษัทได้เปิด Open House ให้ทราบว่าบริษัทของเราทำงานอะไรแล้วเหมาะสม สำหรับการทำงานของพนักงานที่จะเข้ามาสมัครงานใหม่

การสร้างนวัตกรรม Academy ยังมีความจำเป็นอย่างมากที่ทางบริษัทจะต้องดำเนินการ เช่น การสร้างหลักสูตรออนไลน์ทั้งด้านการขาย การสร้างอาคาร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เราต้องเร่งเปิดหลักสูตรให้ทันต่อสถานการณ์ โดย AP มีหลักสูตร online มากกว่า 95 หลักสูตร



อราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สิ่งที่คนไทยต้องคิดวิเคราะห์ความต้องการให้ตอบสนองช่องว่างให้มากกว่าเดิม เช่น การเพิ่มแอพพลิเคชั่นมากกว่า 9,000,000 แอพพลิเคชั่น เราจะต้องดูให้ได้ว่า ยังมีช่องว่างอะไรที่เราสามารถที่จะทำนอกเหนือกว่าแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่ได้

ทาง AIS เองสามารถที่จะทดสอบระบบ AI ระบบ Cloud ได้อย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาปัญหาทางด้านการลืมเด็กไว้ในรถมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นมีอัตราเด็กเสียชีวิตอีกด้วย ทาง AIS เริ่มติดตั้งอุปกรณ์ไว้ในรถโดยให้โจทก์ ดังกล่าวเช็คว่ามีอะไรยังมีสิ่งต่างๆอยู่ในรถ จะเช็คได้อีกด้วยว่าคนขับรถออกนอกเส้นทางหรือไม่

อีกกรณีทาง AIS สามารถที่จะแก้ไขปัญหาทางด้านโรคมะเร็งตับ ซึ่งมีจำนวนประชากรที่เป็นโรคดังกล่าวในระดับแสนราย. โดยสามารถตรวจสายตาผ่านสีผ่านม่านตาเพื่อให้ค้นหาของโรคมะเร็งด้วยทางสายตา

นอกจากนี้ด้านนวัตกรรม ใช้ในเพื่อการตรวจเช็คอัตราการไฟไหม้ภายในป่า โดยมีค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในระดับ 10,000 ล้านบาท โดยเราสามารถที่จะนำช่องสัญญาณของ GPS ติดเซ็นเซอร์โดยตรวจดูว่าไฟไหม้ตรวจไหน นอกจากนี้ทาง AIS เตรียมพัฒนาศูนย์การเตือนภัยได้เพิ่มเติมด้วย

สิ่งที่ทาง AIS ต้องการร่วมพัฒนาสามารถที่จะเอาองค์ความรู้และเอาเงินลงทุน มาเปิดเป็นแพลตฟอร์มเพื่อให้คนไทยเข้าถึงในการพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อให้คนไทยสามารถพัฒนาตนเองได้ง่ายขึ้น ซึ่งทาง AIS เปิดโครงการให้ทุกคนสามารถร่วมชิงโครงการผ่าน www.jumpthailand.earth