26 ต.ค. 2563 885 0

Deloitte เผยรายงานแนวโน้ม ดิจิทัลไลฟ์ ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการประชุม INCLUSION Fintech จัดโดยแอนท์ กรุ๊ป

Deloitte เผยรายงานแนวโน้ม ดิจิทัลไลฟ์ ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการประชุม INCLUSION Fintech จัดโดยแอนท์ กรุ๊ป

ดีลอยท์ (Deloitte) เปิดเผยรายงาน “คลื่นลูกใหม่” แนวโน้มดิจิทัลไลฟ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ <"The Next Wave" Emerging Digital Life in South and Southeast Asia > ระหว่างการประชุม INCLUSION Fintech Conference ซึ่งจัดโดยแอนท์ กรุ๊ป (Ant Group) และอาลีเพย์ (Alipay) มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการหารือร่วมกันในระดับโลกในการสร้างโลกแห่งอนาคตที่มีความเท่าเทียมกัน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนมากยิ่งขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล

จากการสำรวจความคิดเห็นอย่างกว้างขวางจากกลุ่มคนที่อายุต่างกันใน 8 ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย บังคลาเทศ และปากีสถาน รายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคอายุ 21 ถึง 40 ปีเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการปรับใช้รูปแบบการใช้ชีวิตดิจิทัลไลฟ์อย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ ภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19

เทย์เลอร์ แลม หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคมของดีลอยท์ ไชน่า เป็นวิทยากรในการสัมมนาวันที่ 2 ในหัวข้อ INCLUSION กล่าวว่า “เศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาและขยายตัวในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็น ‘คลื่นลูกใหม่’ ที่จะเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต  ภูมิภาคดังกล่าวมีประชากรจำนวนมากโดยเฉพาะวัยหนุ่มสาวที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ (Unbanked) และกลุ่มคนที่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบได้บ้าง (Underbanked) ทั้งยังมีการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างแพร่หลาย และรัฐบาลของแต่ละประเทศก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ช่วยให้ภูมิภาคดังกล่าวมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและการสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งช่วยเร่งการปรับใช้บริการชำระเงินดิจิทัล รวมไปถึงการขยายตัวของรูปแบบการใช้ชีวิตดิจิทัลไลฟ์ในภูมิภาคนี้”

“จากผลการศึกษาของเรา พบว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศเหล่านี้มีศักยภาพที่สูงมากในการพัฒนา และการให้บริการอย่างทั่วถึง รวมถึงความสะดวก ปลอดภัย และยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19”

ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญสำหรับภูมิภาคนี้:

บริการชำระเงินดิจิทัล หรือดิจิทัลเพย์เมนต์ (Digital Payment) เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยสร้างและเชื่อมดิจิทัลไลฟ์ให้กับผู้บริโภค โดยก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงระดับรากฐานต่อรูปแบบการใช้ชีวิต การทำงาน และความบันเทิง


ภาพรวมบริการชำระเงินดิจิทัลในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ราว 78% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าตนเองได้พบเห็นการใช้บริการดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น โดย 41% ชี้ว่ามียอดการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมาก

  • บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็น 3 ประเทศที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้นสูงสุด
  • สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียเป็น 3 ประเทศที่มีการใช้บริการชำระเงินดิจิทัลอย่างคึกคักมากที่สุด

3 สถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ผู้บริโภคเลือกใช้บริการชำระเงินดิจิทัลมากที่สุด ได้แก่:

  • อี-คอมเมิร์ซ/เอ็ม-คอมเมิร์ซ (70%)
  • การโอนเงินระหว่างบุคคล (69%)
  • การซื้อสินค้าในร้าน (62%)

ธุรกรรมดิจิทัลเพย์เมนต์ส่วนใหญ่มีมูลค่าไม่มากนัก โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 67% ระบุว่ามูลค่าเฉลี่ยต่อธุรกรรมน้อยกว่า 30 ดอลลาร์ต่อคน (หรือน้อยกว่า 900 บาท) ซึ่งนั่นหมายความว่าบริการชำระเงินดิจิทัลได้แทรกซึมเข้าสู่ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค และกลายเป็นบริการกระแสหลักที่ตอบโจทย์ความต้องการในแต่ละวันของผู้บริโภค

เหตุผลหลัก 3 ข้อที่ผู้บริโภคเลือกใช้บริการอี-วอลเล็ต (E-wallet) คือ:

ความสะดวก (77%)

ไร้การสัมผัส (69%)

สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมและโปรโมชั่นพิเศษ (9%)

ผู้บริโภคในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้บริการดิจิทัลในสถานการณ์ที่หลากหลายในชีวิตประจำวัน

สถานการณ์หลักที่มีการใช้บริการชำระเงินดิจิทัลในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


5 โมบายล์แอพที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่ผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ ได้แก่:

  • ความบันเทิง
  • โซเชียลมีเดีย (79%)
  • การสตรีมเพลง/วิดีโอ (50%)
  • อี-คอมเมิร์ซ/เอ็ม-คอมเมิร์ซ (74%)
  • ความสะดวก ผลิตภัณฑ์หลากหลาย และราคาถูก คือเหตุผลหลัก 3 ข้อที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์
  • บริการในชีวิตประจำวัน (59%)
  • เรียกรถโดยสาร อ่านข่าว/หนังสือ และการทำงานร่วมกันในที่ทำงาน คือ 3 โมบายล์แอพที่ใช้งานบ่อยที่สุดในหมวดหมู่นี้
  • บริการด้านการเงิน (45%)
  • โมบายล์แบงค์กิ้ง และดิจิทัลเพย์เมนต์ เป็นโมบายล์แอพที่ได้รับการใช้งานมากที่สุดในหมวดหมู่นี้

 ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอนาคตทางด้านเศรษฐกิจดิจิทัลที่สดใส โดยเป็นผลมาจากการปรับใช้บริการชำระเงินดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้นและความหลากหลายของสถานการณ์ดิจิทัลไลฟ์ในชีวิตประจำวัน

ผู้นำด้านดิจิทัลไลฟ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ดัชนีดิจิทัลไลฟ์ (Digital Life Index) ระดับภูมิภาคได้พัฒนาโดยอ้างอิงข้อมูลการศึกษาและชุดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น ความนิยมในการใช้มือถือ ความแพร่หลายและการใช้อินเทอร์เน็ต การชำระเงินดิจิทัล การพัฒนาของอี-คอมเมิร์ซ การมีส่วนร่วมในโซเชียลมีเดีย และการสนับสนุนจากภาครัฐ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียคือ “ผู้นำด้านดิจิทัลไลฟ์” (Digital Life Leader) โดยอยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในทุกค่าพารามิเตอร์ ประเทศไทย และฟิลิปปินส์มีความโดดเด่นในฐานะ “Digital Life Follower”

ความนิยมในการใช้มือถือของประเทศไทยจัดอยู่ในระดับที่สูง รวมถึงการมีส่วนร่วมในโซเชียลมีเดีย การพัฒนาของบริการชำระเงินดิจิทัล และอี-คอมเมิร์ซ

ฟิลิปปินส์เป็นผู้นำในเรื่องของการปรับใช้บริการชำระเงินดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโอนเงินระหว่างบุคคล และอุตสาหกรรมเกม

อินเดียจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มี “ศักยภาพด้านดิจิทัลไลฟ์” (Digital Life Potential) โดยเป็นผู้นำในด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้บังคลาเทศและปากีสถานจัดว่าอยู่ในกลุ่ม “ผู้ตามหลังด้านดิจิทัลไลฟ์” (Digital Life Catcher)

รายงานฉบับนี้จัดทำโดยดีลอยท์ ภายใต้ความร่วมมือกับ INCLUSION Fintech Conference โดยการประชุมดังกล่าวได้รับความสนใจจากองค์กรชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการในแวดวงการเงินและเทคโนโลยี ซึ่งร่วมกันหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระดับโลกและการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการเงิน เศรษฐกิจ การค้า และสิ่งแวดล้อม

COMMENTS