ทุกครั้งที่เป็นที่ปรึกษาเรื่องมาตรฐานการออกแบบกล้องวงจรปิดคำถามแรกที่จะได้รับคือ
ถ้าติดตั้งกล้องอันนี้ ตรงนี้ อย่างนี้ แล้วมันจะ “ชัดพอไหม” เป็นคำถามที่ไม่แปลกแต่เมื่อถามคำถามนี้กับผู้ขายกล้องวงจรปิดแต่ละคนที่พอจะรู้จักในวงการจะคุยแตกต่างกันไปส่วนใหญ่จะได้รับคำตอบที่ฟังผ่านๆแล้วไม่แปลกแต่แปลกคือ “ชัดแน่นอนเพราะผมให้กล้อง 5 ล้านพิกเซล แปลว่าชัดชัวร์” มากมายหลายคำตอบ
มาตรฐานของความคมชัด
เมื่อเราตั้งคำถามผิดเราจะได้คำตอบที่หลากหลาย
เมื่อเราเข้าใจว่าความคมชัดต้องเลือกที่ “กล้อง” แต่ความจริงเราต้องเลือกที่ “ภาพ”
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ มาตรฐานคืออะไร มาตรฐานนี้ไม่ใช่มาตรฐานของกล้อง แต่เป็น “มาตรฐานของภาพ” ได้จากกล้องวงจรปิด
ภาพที่ 1 แสดงความคมชัดบุคคลที่ความคมชัดต่างกัน
DORI standard
มาตรฐาน “DORI” เริ่มมีการนำมาปรับใช้มากขั้นสามารถพบมาตรฐานดังกล่าวได้จากบริษัทที่เป็น TOP ของโลก มาตรฐานนี้คือการประเมินความคมชัดให้คำนวณได้อยู่ในรูปของ “PPM” คือ Pixel Per Meter โดยให้คำนำยามความคมชัดขึ้นมาใหม่คือ
ตาราง1 ตารางคำอธิบาย DORI
D คือ ความคมชัดที่เพียงพอที่กล้องจะตรวจจับ หมายถึง เราจะสามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงทำให้เราทราบถึง “การเปลี่ยนแปลงที่มีการเคลื่อนที่”, “ทิศทางการเคลื่อนที่” เป็นระยะความคมชัดที่ผู้เฝ้าระวังจะสามารถรับทราบถึงการเปลี่ยนแปลง
O คือ ความคมชัดในระยะเฝ้าระวัง หมายถึง เราจะทราบถึงคุณลักษณะทั่วไปจากวัตถุนั้นๆ เช่น “ทราบว่าเป็นอะไร” “ทราบว่าสีอะไร” “ลักษณะการแต่งตัว” อันจะไปสามารถรู้ได้ว่าบุคคลนั้น ที่จะพบในกล้องต่อไป “มีความเป็นไปได้สูงที่เป็นคนเดียวกัน”
R คือ ความคมชัดในระดับรับรู้รับทราบ คือ กรณีที่เรามีข้อมูลอื่นๆที่เคยมีประกอบ เราจะสามารถระบุตัวตนของคน สิ่งของนั้นได้ เช่น ในระยะนี้หากเป็นคนที่เราคุ้นเคย หรือเป็นคนที่เรารู้จัก เราจะสามารถ “คาดการ์ณได้สูงว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน”
I คือ ระยะที่ระบุตัวตนได้ คือ หากเรามีข้อมูลหรือหลักฐานเมื่อเราทำการพิมพ์ภาพนี้ออกมาแล้ว แม้ว่าคนที่ไม่รู้จักกัน เราจะสามารถใช้ภาพนั้นในการแจ้งข่าว บอกระบุตัวคนให้คนไม่รู้จักกันให้สามารถค้นหาบุคคลคนนั้นได้
ภาพที่ 2 แสดงความคมชัดบุคคลที่ความคมชัดต่างกันโดยระบุระยะคมชัด
ปัจจุบันมีบริษัทกล้องวงจรปิดมีเครื่องมือ หรือโปรแกรมที่สามารถค้นหาระยะ DORI ได้มากมายหลายเครื่องมือ อยู่ในชื่อ “Lens Analysis” , “Camera position design” หรือ “Camera Calculator” แต่หากใครยังคงต้องการรู้ที่มาของข้อมูลอ้างอิงดังกล่าว ก็ขอยกไปเป็นโอกาสต่อไปครับ
บทความโดย: #วิศวสายโลหิต