ล่าสุด Mu Space และ TOT รัฐวิสาหกิจไทย คิดใหญ่สร้าสถานีฐานรองรับบริการเกตเวย์ 14 แห่งทั่วประเทศ เชื่อมโครงสร้างพื้นฐาน Fiber ทั่วประเทศ พร้อมสร้างบริการ Data Center ในอวกาศรายแรกของโลก เป็นการยิงเลเซอร์ผ่านใยแก้ว แต่ครั้งนี้เป็นการยิงโดยแสงผ่านอวกาศ เร็วกว่า 40% ในระดับ Single IDC ทดสอบ 15 PB รองรับการใช้งานผ่าน iPhone 234,375 เครื่อง
วรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการและ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางบริษัทได้ประสบความสำเร็จใน Mission 13 ของการพัฒนาของดาวเทียม Mu Space ซึ่งได้ทดสอบในสภาวะจริงที่ไร้น้ำหนักยิงบนความสูง 100 กิโลเมตร โดยภายใน Capsule Free Flight สามารถปล่อยร่มชูเชิดได้ดี ทำให้มั่นใจว่า Mu Space สามารถนำ TOT Module ของ TOT เป็น 1 ใน 5 Module ขึ้นไปทดสอบ Data Center บนอากาศ ทั้งหมด ซึ่งเป็นการทำงานของวิศวกรของคนไทยทั้งหมด
ด้านธุรกิจด้านเกตเวย์ Mu Space ได้ร่วมกัน TOT ได้เตรียมรับส่งสัญญาณช่อง GEO ที่สำนักงาน TOT จังหวัดนนทบุรีใช้ชั้น 1 โดยจะติดจานขนาดใหญ่ 9 เมตร เทคโนโลยี KU BAND พร้อมกันนี้เตรียมสร้างเกตเวย์รองรับบริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมทั้ง Starlink ของ SpaceX ซึ่งเป็นดาวเทียมวงโครจรต่ำ ผ่านสถานีฐานขนาดใหญ่จำนวน 14 จุดทั่วประเทศ โดยแต่ละสถานีฐานเชื่อม Fiber ทั่วประเทศ
นอกจากนี้ยังมีสถานีฐานพิเศษ Super station โดยสร้างโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน สำนักงาน TOT จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีพื้นที่ขนาด 5 ไร่ เช่น ทั้งระบบดาวเทียม GEO MEO LEO โดยที่ต่างปรเทศไม่ต้องมาสร้างเกตเวย์ใหม่ ประหยัดเงินการลงทุนช่วยต่างประเทศ 40,000 ล้านบาท ช่วยลดต้นทุน 5G ได้อีกด้วย เพื่อให้สามารถควบคุมสัญญาณอินเทอร์เน็ตและให้บริการอินเทอร์เน็ตเชื่อมการเดินเรือหรือเครื่องบินอีกด้วย กรณีดังกล่าวหากผู้ให้บริการดาวเทียมอินเทอร์เน็ตรายอื่นๆ สามารถใช้บริการ Super station ได้อีกด้วย โดยทาง TOT มีใบอนุญาตบริการอินเทอร์เน็ตประเภทดังกล่าว
ที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งคือ Data Center บนอวกาศ มีความน่าสนใจอย่างยิ่งเนื่องจากสามารถทำความเย็น -270.45 องศา เย็นมากเพียงพอที่จะให้บริการ Data Center โดยไม่ต้องเพิ่มความเย็น และที่สำคัญความเข้มแสงที่เป็นแหล่งพลังงานอย่างดี โดยเนื้อหาต่างๆ ที่ให้บริการอยู่ใน Data Center จะเชื่อมต่อดาวเทียมที่มีความไว เร็วกว่า Fiber
มรกต เธียรมนตรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า ในอนาคต Data Center ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่พื้นดิน แต่จะอยู่ในชั้น ต้องรวมจากอวกาศได้เลยดีที่สุด เรื่องดังกล่าวเตรียมให้บริการจริงภายใน 5 ปี
ในปัจจุบัน Fiber เป็นการยิงเลเซอร์ผ่านใยแก้ว แต่ครั้งนี้เป็นการยิงโดยแสงผ่านอวกาศสามารถทำความเร็วกว่า 40% โดย Single IDC จะต้องทดสอบความจุ 15 PB รองรับการใช้งานผ่าน iPhone จำนวน 234,375 เครื่อง "ธุรกิจโทรคมนาคม แพ้ชนะอยู่ที่ความเร็ว"
สิ่งต่างๆที่ทาง TOT วางกลยุทธในครั้งนี้ จะทำให้ TOT ไม่ตายจากประเทศไทยแน่นอน โครงสร้างพื้นฐานภาคพื้นดินของ TOT แข็งแรงอย่างมากทั้งไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ที่ผ่านทาง TOT ไม่สามารถลงไปเล่นเกม 5G ได้เหมือนยุคอื่นๆ ที่ผ่านมา ไม่ต้องกวาดคลื่นจำนวนมาก ที่ผ่านมาด้วยความเป็นรัฐวิสาหกิจ เราเคลื่อนตัวได้ช้า แต่สำหรับคลื่น 5G ย่าน 26 GHz จะนำมาลงทุนทันที หากอุปกรณ์ในการให้บริการมีรองรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หลายอุตสาหกรรมจะถูกโครงการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมทำให้เปลี่ยนแปลงไป เช่น ผู้ให้บริการ ISP ในแต่ละประเทศจะไม่มียืน สำหรับประเทศไทยไม่สามารถควบคุมระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกต่อไป มีผลต่อความมั่นคงอย่างแน่นอน ทาง TOT ต้องมาร่วมพัฒนาบริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม และสนับสนุน "ไม่ใช่เพื่อผลกำไรแต่เป็นความรับผิดชอบของประเทศ เรื่องดังกล่าว เราทำเป็นคนแรกจริงจังของโลก"