กลุ่มทรูผู้นำดิจิทัลไลฟ์สไตล์ครบวงจร เดินหน้ายกระดับเทคโนโลยีอัจฉริยะ True5G พลิกโฉมไทยสู่ประเทศอัจฉริยะที่ยั่งยืน อัปเกรดโครงข่ายให้เป็น 5G SA (Stand-alone) พร้อมให้บริการครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และ 77 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงพื้นที่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม EEC ชูจุดเด่นของ SA หรือ Stand Alone ที่ไม่ใช่แค่เร็วกว่าเดิม หรือความหน่วงที่ต่ำมากขึ้น แต่ยังเพิ่มความเสถียร และเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลสูงสุด ซึ่งจะทำให้เริ่มทดลองใช้งานร่วมกับฟังก์ชั่นสำคัญ ได้แก่ แพลตฟอร์ม MEC (Multi-access Edge Computing ) และ Network Slicing ที่ตอกย้ำความเป็นอัจฉริยะของโครงข่ายทรู 5G ให้สมบูรณ์ รองรับทั้ง Use case ในอนาคตและแอปพลิเคชันหลากหลายที่ต้องการทั้งความเร็ว ความแม่นยำ และความหน่วงต่ำเพื่อการตอบสนองแบบทันที สามารถส่งมอบทุกประสบการณ์อัจฉริยะ 5G ให้เป็นจริง ร่วมขับเคลื่อนวิถีใหม่ให้ชาวไทยและกลุ่มธุรกิจทุกภาคส่วนก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
จิระชัย คุณากร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการโครงข่าย บมจ ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า“กลุ่ม ทรูมีความมุ่งมั่นในการลงทุนและพัฒนาเครือข่ายมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้กลุ่มทรูเป็นโอเปอเรเตอร์รายเดียวในไทยที่ให้บริการด้วยคลื่นที่ครบสุดถึง 7 ย่านความถี่มากสุดในไทย ซึ่งได้เปิดให้บริการทรู 5G แบบ NSA ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยใช้คลื่น 2600MHz เป็นความถี่หลักในการให้บริการ 5G เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลที่รวดเร็วแบบ 5G และให้แบนด์วิธที่มากกว่า ล่าสุด กลุ่มทรูได้อัปเกรดพัฒนาโครงข่ายเป็น 5G SA (Stand-alone) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อให้เข้าถึงความสามารถของ 5G ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และพร้อมแล้วที่จะให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งพื้นที่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม EEC ซึ่งเครือข่าย 5G SA จะส่งมอบประสบการณ์การใช้งานที่เหนือกว่า โดยเฉพาะความต้องการใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันของแต่ละองค์กรและอุตสาหกรรมต่างๆ โดยจะทำให้เราเริ่มทดลองการทำงานร่วมกับแพลตฟอร์ม MEC (Multi-access Edge Computing) และเทคโนโลยี 5G Network Slicing ที่จะช่วยจัดสรรทรัพยากรโครงข่ายแบบ End-to-End ให้เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการใช้งานที่แตกต่างกันอันเป็นลักษณะเด่นของ5G ทำให้สามารถรองรับ Use case หลายอย่างในอนาคต ทั้งโรโบติกส์ ออโตเมชั่น การควบคุมจากระยะไกล ตลอดจนเกมต่างๆ และแอปพลิเคชันที่ต้องการการสื่อสารแบบเรียลไทม์ ไร้ความหน่วง เพิ่มความเชื่อมั่นได้ว่าจะเชื่อมต่อได้อย่างเสถียรและปลอดภัยสูงสุด อันเป็นจุดเด่นของโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ที่แท้จริง ที่ไม่ได้มีแค่ส่วนของโครงข่าย 5G เท่านั้น เครือข่ายจะต้องสามารถทำงานร่วมกับ Big Data และ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้เพิ่มอัจฉริยภาพของเครือข่าย 5G ให้เต็มที่ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับระบบนิเวศน์ดิจิทัลทั้งหมด รวมถึงดีไวซ์ต่างๆ เพื่อสร้างเป็นโซลูชั่นแบบ E2E ตอบสนองความต้องการในวิถีดิจิทัลของพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรมต่างๆให้เป็นจริงได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะร่วมขับเคลื่อนให้ประเทศไทยก้าวสู่ Thailand 4.0 อย่างแท้จริง”