25 พ.ย. 2563 1,095 0

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายคืออะไร? ใครเป็นคนหัก? แล้วหักเอาไปทำอะไร?

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายคืออะไร? ใครเป็นคนหัก? แล้วหักเอาไปทำอะไร?

เคยได้ยินคำว่า ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายกันบ้างไหมคะ ทุก ๆ คนอาจจะเคยเจอในกรณที่ได้รับเงินเดือน ได้รับเงินรางวัลต่าง ๆ หรือในการเช่า เช่น การเช่าพื้นที่ออฟฟิศรวมถึงเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ การเช่าสถานที่จัดสัมมนา การเช่าบ้าน เป็นต้น ทุก ๆ อย่างที่กล่าวมานั้น มักจะมีคำหนึ่งที่ติดมากับการจ่ายเหล่านั้นด้วย นั่นก็คือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนจะจ่ายเงินนั้นให้กับผู้รับเงิน เพื่อนำเงินนั้น ไปจ่ายให้กับรัฐบาล เพื่อที่จะลดภาระผู้เสียภาษีให้ไม่ต้องเสียภาษีทีเดียวเยอะ ๆ ตอนช่วงปลายปี โดยที่เงินที่เราจ่ายนั้น จะจ่ายเต็มจำนวน ส่วนผู้รับเงินนั้น จะได้รับเงินจำนวนหนึ่งพร้อมกับ หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย 

ภาษีนั้น คือเงินที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนและผู้ประกอบการ เพื่อนำเงินเหล่านั้นไปจัดสรรงบประมาณต่าง ๆ เช่น การก่อสร้าง การสร้างเขื่อน การศึกษา เป็นต้น โดยทุก ๆ คนที่มีรายได้ ถือเป็นผู้เสียภาษีทั้งสิ้น การหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น ไม่ใช่เพียงแต่การหักสำหรับบริษัท หรือนิติบุคคล แต่การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายนั้น สามารถทำได้ และเกิดได้กับทุกคนที่เสียภาษี เพียงแต่ว่า การจ่ายนั้น เราจ่ายค่าอะไร เช่น หากเราจ่ายเงินเดือน ต่อให้เป็นบุคคลทั่วไป ก็ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยเช่นเดียวกัน 

แต่การหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น ไม่ใช่จะหักทุกกรณี แต่จะมีกรณีเฉพาะที่จะไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย นั่นคือ หากการเช่าซื้อ หรือเงินที่ได้รับต่าง ๆ นั้น เป็นเงินได้ที่ไม่ถึง 1,000 บาท ก็ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่หากจ่ายในหลายคราวรวมกันแล้วยอดรวมเกิน 1,000 บาทก็นับว่าต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเช่นเดิม เช่น เราแบ่งจ่ายเงินจากการเช่าสิ่งของหรือการจ้างงานต่าง ๆ 

โดยมีค่าบริการ 1,800 บาท แต่เราแบ่งจ่ายเป็น 900 บาท 2 รอบ ทั้ง2รอบนั้นก็ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ด้วย เพราะยอดรวมนั้น เกิน 1,000 บาทเป็นต้น

ภาษี ณ ที่จ่ายนั้น ต้องหักกับค่าอะไรบ้าง? การจะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี 

บุคคลธรรมดา 

  • ให้เช่าทรัพย์สิน หัก 5%
  • การรับเหมา หัก 3%
  • เงินรางวัลในการประกวดต่าง ๆ หรือการแข่งขัน หัก 5%
  • งานนักแสดงสาธารณะ หัก 5%
  • รับโฆษณา หัก 2%
  • รับจ้างต่าง ๆ หัก 3%
  • บริการ หัก 3%
  • ค่าขนส่ง 1%
  • ส่วนลด หรือประโยชน์จากการส่งเสริมการขายต่าง ๆ หัก 3%

นิติบุคคล 

  • ค่านายหน้า ค่าลิขสิทธิ์
  • หากจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หัก3%
  • หากจดทะเบียน มูลนิธิ หรือสมาคม หัก 10%
  • ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยจากตั๋วเงินต่าง ๆ
  • หากจดทะเบียนเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด หัก1%
  • หากจดทะเบียนเป็น มูลนิธิหรือสมาคม หัก 10%
  • เงินปันผล หัก 10%
  • ให้เช่าทรัพย์สิน ในนามห้างหุ้นส่วนหัก 5% ในนามมูลนิธิหัก 10%
  • ค่าจ้างทำของ หัก 5%
  • เงินจากการประกวดแข่งขัน หัก 5%
  • ค่าโฆษณา หัก2%
  • ค่าบริการ หัก 3%
  • ค่าเบี้ยประกัน และ ค่าขนส่ง หัก1% 

การจ่ายภาษีต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่มีรายได้ หากเราหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี หรือจ่ายภาษีไม่ครบ จ่ายไม่ตรงตามกำหนด ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายตามกฎหมายมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร และยังสามารถโดนปรับให้เสียภาษีเพิ่มถึงร้อยละ 1.5 ต่อเดือนอีกด้วย ทาง https://ofisu.co.th/ อยากให้ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีทุกคนได้ทราบและเข้าใจถึงความเป็นมาของเงินที่เราจ่าย เพื่อประโยชน์ของเราเอง และหวังว่าบทความนี้จะสามารถมอบประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านได้ค่ะ