28 พ.ย. 2563 4,285 1

คุยเรื่อง Microchip กับคุณกานต์ โอภาสจำรัสกิจ อนาคตอุตสาหกรรมของ Microchip จะไปทางไหน [Tech Monday EP.8]

คุยเรื่อง Microchip กับคุณกานต์ โอภาสจำรัสกิจ อนาคตอุตสาหกรรมของ Microchip จะไปทางไหน [Tech Monday EP.8]

สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันก็คือ Microchip ที่อยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ เราเห็นความสามารถที่เพิ่มขึ้นของอุปกรณ์รอบตัวเรา จนเราแทบจะสามารถคุยกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้แล้ว คุณกานต์ โอภาสจำรัสกิจ เล่าถึงประสบการณ์การออกแบบชิป และส่งออกผลิตภัณฑ์ของตัวเองไปยังตลาดโลก


มันสมองของคอมพิวเตอร์” คำนี้ใช้เรียกไมโครชิป เราได้คุยกับ คุณกานต์ โอภาสจำรัสกิจ ผู้จัดการอาวุโสแผนกวางแผนกลยุทธการเงิน จากบริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) คุณกานต์ทำเรื่องออกแบบชิปมาตลอด และตัวเองสนใจการเงินด้วย เริ่มจากงานบริหาร แล้วมาดูการเงินเต็มตัว เป้าหมาย อยากเป็นนักลงทุนด้านสาย Tech เลยอยากให้มี Investor ที่เข้าใจ Tech จริงๆ

พูดถึงชิป ชื่อเต็มๆ คือไมโครชิป วงจรรวม รวมวงจรอีเล็คทรอนิคส์มารวมกัน ทั้งคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ทำจากซิลิคอน แปลงให้กลายเป็นชิป

การออกแบบชิป ทำกันยังไง

คุณกานต์เริ่มเรียนจากอุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์ รู้จักอุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (เป็นพระเอก) สวิตซ์เปิดปิดให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ขยายหรือลดทอนกำลัง ความต้านทาน ตัวเก็บประจุ ตัวเหนี่ยวนำ เอาทรานซิสเตอร์มาต่อกันได้ คล้ายกับการเขียนโค้ดบนคอมพิวเตอร์ จากนั้นเริ่มนำวงจรมาต่อ ไม่ได้ต่อทรานซิสเตอร์จริงๆ แต่ใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวช่วยออกแบบ ใช้ Simulator ช่วย การงานนี้ในช่วงแรก ไม่มีงานในเมืองไทย ดีที่ภาครัฐช่วยส่งเสริม โชคดีตอนเรียนจบเลยร่วมกับเพื่อนๆ ทำบริษัท

ชิปตัวแรก ทรานซิสเตอร์ เท่ากล่องไม้ขีด มีสัก 100 ตัว ทำให้ Super Computer ใหญ่มาก ปัจจุบัน แข่งกันเล็ก ผู้นำกระแสหลักคือ Intel ทุกคนผลักดันให้เล็กลงๆ ในพื้นที่ ที่เท่ากัน ทุกๆ 2 ปี ทรานซิสเตอร์ เพิ่มขึ้น 2 เท่า หน่วยวัดคือไมโครเมตร (1 ในล้านของ 1 เมตร) ตอนนี้ Intel 10nm คู่แข่งคือ Samsung ตามกฏคือเล็กลง น้อยกว่า 7nm ยิ่งเล็กยิ่งเจ๋ง ยิ่งจิ๋ว ยิ่งเล็กยิ่งยัดได้เยอะกว่า แต่ทางการตลาดคือเอาตัวเลขน้อยมาโฆษณา

ความสามารถของชิป มีทั้งเซ็นเซอร์และสัญญาณต่างๆ ตัวอย่างด้านการแพทย์ อนาล็อก พวกวัดสัญญาณการแพทย์ นาฬิกา Smart Watch ดิจิตอลเป็น Processing ที่เด่นคือ Intel ทำ CPU 

50 ปีก่อน พระเอกคือ Intel เราต้องพกคอมตั้งโต๊ะ ต่อมา แล็ปท็อป ต่อมาแท็บเล็ต ตอนนี้มือถือเอา AI มายัดในชิป เอาจริงๆ CPU ทำ Deep Learning เป็นฮาร์ดแวร์ จากที่เคยเข้าใจว่า AI คือซอฟต์แวร์ แต่จริงๆ ต้อง drive ขับเคลื่อนด้วยฮาร์ดแวร์

ยุคแรก Intel ทำหน่วยความจำ แล้วทำชิป สัก 60 ปีก่อน สถาปัตยกรรม Intel x86 เริ่มจาก 8086 80286 รัน 286 386 486 แล้วมา Pentium 

ทุก 3 - 4 ปี จะต้องมีการเปลี่ยนสถาปัตยกรรม ให้รองรับ ความเร็ว และการรองรับซอฟต์แวร์ คู่แข่งมี NVIDIA หลักๆ เราเห็นว่า Intel กับ NVIDIA ไม่ได้เป็นคู่แข่งกัน แต่เป็นพันธมิตร ต้องมีกราฟิก ซีพียูทำงานไม่กี่อย่าง แต่การ process กราฟิก ต้องมี GPU มาช่วย CPU คือถ้า Intel ขาย CPU ได้ NVIDIA ก็ขายการ์ดจอได้ งานที่ GPU ทำได้คือ Simple ง่ายกว่า แต่ CPU ทำงานคำสั่งซับซ้อนกว่าแต่น้อยชิ้นกว่า

Intel ต่างกับ ARM อย่างไร ทำไม Apple ถึงเลือกใช้ ARM

ARM ใช้สถาปัตกรรมไม่ซับซ้อน ข้อดีคือใช้พลังงานต่ำ Intel เด่นในการใช้การคำนวนซับซ้อน แต่ ARM ไม่ดัง ไม่เด่น อุปกรณ์พกพา อยากได้แบตใช้ได้ยาวๆ นานๆ ตอนนี้ Intel กับ ARM ก็เลยเป็นคู่แข่งกัน เพราะ Apple เลือกใช้ ARM ทำให้ฝันเป็นจริงง่ายกว่า

Apple นั้นใช้ ARM หลังจากที่ใช้ Intel มาตลอดหลายปี ก็มาใช้ ARM เพื่อให้ตอบสนองเป้าหมายของ Apple โดย ARM เป็น Core เหมือน Huawei ที่ซื้อ Core ARM ไปพัฒนาต่อกับ Kirin (ARM ขายดีไซน์ของ CPU) Apple เลยทำให้ฮาร์ดแวร์ตัวเอง ARM ทำให้อิสระในการทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการเร็วขึ้น

อนาคตของ Microchip ในประเทศไทย

สมาร์ท อีเล็คทรอนิคส์ อุปกรณ์ Smart ต่างๆ โรงงานที่ผลิตอุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์ แต่ทุกวันนี้ยังมองภาพไม่ชัดเจน บริษัทก็ยังมีแรงบันดาลใจไปต่อ 

ความยากคือหาคนทำฮาร์ดแวร์น้อยมาก แต่ส่วนใหญ่ไปทำซอฟต์แวร์ นับคนได้ เพราะมั่นใจอนาคต ว่าจบไปจะทำงานอะไร อนาคตเป็นยังไง

คนไทยที่ทำงานในวงการออกแบบชิป 

หลักๆออกแบบและส่งมอบผลิตภัณฑ์ของตนเอง เป็นโรงงานรับจ้างประกอบเป็นหลัก คนที่เอาชิปไปใช้ต่อคือ system กับคนทำระบบ ไม่ใช่ Consumer แต่มีแบบ คนไทยทำ จากนั้นผ่านต่างประเทศแล้วกลับเข้ามา อยากให้มีการพัฒนาชิปร่วมกันแล้วนำไปทำต่อ

RFID เป็นชิปที่ใช้พลังงานน้อย ทำ Portable พกพาสะดวก ไม่ใช้แบตเตอรี่เลย (ไม่ต้องการแบตเตอรี่เลย) ติดเป็นสติ๊กเกอร์บางๆ ชิ้นเล็กๆ แปะตามสิ่งของ ใช้พลังงานจากคลื่นวิทยุ ส่งให้ ดึงพลังงานในอากาศ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ให้อ่านรหัส ส่งกลับไปที่มือถือ จากนั้นก็ sleep ถ้ามีเซ็นเซอร์ก็เอาข้อมูลจากเซ็นเซอร์ส่งไปที่มือถือได้ ส่วน Easy-Pass เป็น RFID แบบใช้แบตเตอรี่ ต้องการแรงส่งให้แรงทะลุกระจกรถได้

คุณกานต์ ฝากถึงคนที่ชอบในงานเทคโนโลยี อีเล็คทรอนิคส์ ฮาร์ดแวร์ หรือชิป ตอนนี้ ซิลิคอน คราฟท์ เตรียมตัวจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ระดมเงินทุนพัฒนาต่อ ตามเป้าหมาย อยากเป็นแบบอย่างของวงการนี้ให้คนอื่นๆ