ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า “บทบาทของสำนักงาน คปภ. ที่สำคัญ คือ การส่งเสริมธุรกิจประกันภัยให้นำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการให้บริการประชาชน รวมถึงส่งเสริมให้ประเทศไทยพัฒนาเป็น InsurTech Hub ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 4 โดยมุ่งหวังในการยกระดับการกำกับดูแลและส่งเสริมการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสม ทันสมัย และเป็นไปตามมาตรฐานสากล จึงมีความยินดีที่มีการเปิดตัว “ประกันขับดี” ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้อนุมัติให้เข้าร่วมในโครงการทดสอบนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านประกันภัย หรือ Insurance Regulatory Sandbox โดยเป็นการร่วมมือระหว่างภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญและมีศักยภาพ เพื่อเป็นการหลอมรวมและเพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยีในการสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์ม จึงหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค โดยเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ขับขี่รถยนต์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีความยืดหยุ่น และมีการคิดเบี้ยประกันภัยตามการขับขี่จริง โดยสามารถซื้อง่ายและจ่ายสะดวก สอดรับกับพฤติกรรมการขับขี่ ช่วยให้เกิดวินัยในการขับขี่ที่ดี และมีส่วนลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย”
รัฐพล กิติศักดิ์ไชยกุล กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ตลอดปี 2563 ที่ผ่านมา สถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้ธุรกิจประกันต้องค้นหาโซลูชันที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุค New Normal แนวคิดของประกันขับดีเกิดขึ้นในช่วงLockdown ที่คนไทยทั้งประเทศต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการทำงานใหม่ จากการเดินทางไปออฟฟิศมาเป็น Work from Home จึงขับรถน้อยลง ไม่ได้ออกเดินทางไกลข้ามจังหวัด และปัจจุบัน คนขับรถแล้วจอดเพื่อต่อรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินมากขึ้น จึงเป็นที่มาของแนวคิดที่เราอยากจะพัฒนาแผนประกันภัยรถยนต์ที่มีเบี้ยประกันภัยสมเหตุสมผล จ่ายเมื่อขับและหากไม่ได้ขับก็ไม่ต้องจ่าย เป็นไปตามพฤติกรรมการใช้งานของผู้ขับขี่รถยนต์จริงๆ ตาม concept ที่ว่า “ขับไม่เหมือนกัน ทำไมต้องจ่ายเท่ากัน” เราใช้เวลาพัฒนาประกันขับดีอยู่กว่า 6 เดือนและพบว่าต้องใช้อุปกรณ์ OBD II หรือ MSIG Car Informatics และซิมการ์ดทำงานร่วมกัน ดังนั้น จะต้องเป็นบริษัทที่สัญญาณที่ครอบคลุมทั่วประเทศมากที่สุด จะเป็นบริษัทอื่นไม่ได้เลยนอกจาก AIS โดย MSIG Car Informatics จะเก็บพฤติกรรมการใช้รถจาก 5 ตัวแปรหลัก ได้แก่ ระยะทาง / ความเร็ว / ระยะเวลาการขับขี่ / ช่วงเวลาการขับขี่ และพื้นที่การขับขี่ ประกันขับดีจะมีค่าเบี้ยประกันพื้นฐานรายปี โดยประกันรถยนต์ชั้น 1 เริ่มต้นที่ 6,499บาท ประกันรถยนต์ 2+ ราคา 3,299 บาท ทุกทุนประกันภัยและรถทุกรุ่น หลังจากนั้นจะคิดค่าเบี้ยประกันตามการขับขี่ ซึ่งเบี้ยประกันจะถูกคำนวณเป็นรายวัน แต่ละวันก็จะไม่เท่ากัน แต่ละคนก็จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ 5 แฟคเตอร์ และเราจะรวบจากเบี้ยรายวันเพื่อคิดค่าเบี้ยประกันเป็นรายเดือน สามารถตรวจสอบเบี้ยได้เลยจากแอปพลิเคชันประกันขับดี การชำระเบี้ยจะตัดจากบัตรเครดิตที่ผูกไว้ตั้งแต่ลงทะเบียน นอกจากนี้ ประกันขับดียังถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของประกันภัยรถยนต์ที่ใช้รูปแบบ Parametric ต้องเข้า Insurance Regulatory Sandbox เพื่อทดสอบนวัตกรรม ซึ่ง MSIG เห็นว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัยรถยนต์ต่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้บริโภคในอนาคต จึงได้นำเสนอและทางสำนักงาน คปภ. ก็ได้อนุมัติให้เข้าโครงการเรียบร้อยแล้ว”
อลิสแตร์ เดวิด จอห์นสตั้น กรรมการผู้จัดการหน่วยธุรกิจพัฒนาธุรกิจใหม่ เอไอเอส กล่าวเสริมถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า“นอกจาก AIS Insurance Service จะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง คัดสรรบริการประกันภัยที่ดีที่สุดจากพาร์ทเนอร์เพื่อส่งมอบให้แก่ลูกค้าแล้ว เรายังนำจุดแข็งจากการเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ที่มีเครือข่ายครอบคลุมสูงสุด พร้อมคลื่นความถี่ที่มากที่สุด รวมไปถึง Digital Platform ที่ช่วยพลิกโฉมยกระดับให้บริการประกันภัย และสร้างความแตกต่างไปอีกขั้นจากเทคโนโลยีดิจิทัล โดยครั้งนี้ได้ร่วมพัฒนาอุปกรณ์ MSIG Car Informatics ที่ฝังอุปกรณ์ IoT ให้สามารถส่งสัญญาณผ่านโครงข่ายของเอไอเอส และประมวลผลเข้าสู่ระบบ Cloud ของ MSIG ได้อย่างแม่นยำ
มีเสถียรภาพ ตรงตามพฤติกรรมการใช้งานจริงของลูกค้าแบบ Real Time อีกทั้งยังได้สนับสนุนช่องทางการชำระค่าบริการรายเดือนผ่านระบบ Digital Payment Gateway ที่ช่วยอำนวยสะดวกและมีความปลอดภัยสูงสุด โดยถือเป็นต้นแบบของ InsurTech ครั้งแรกเพื่อลูกค้า ที่เราภาคภูมิใจอย่างยิ่ง”
“ประกันขับดี” พร้อมให้บริการแล้ววันนี้ โดยลูกค้าที่สนใจสามารถศึกษาและสมัครแผน “ประกันขับดี” ได้หลากหลายช่องทาง อาทิ
เกี่ยวกับ โครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการสำหรับธุรกิจประกันภัย (Insurance Regulatory Sandbox) หรือ IRS
วัตถุประสงค์เพื่อให้ภาคธุรกิจประกันภัย (บริษัทประกันภัย นายหน้าประกันภัย หรือ Tech Firms) สามารถทดสอบนวัตกรรม โดยการให้บริการแก่ผู้บริโภคจริง ภายในสภาพแวดล้อมและการให้บริการที่จำกัด ภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่ยืดหยุ่นตามความจำเป็น ซึ่งได้มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้การกำกับดูแลและส่งเสริมพัฒนาสภาพแวดล้อม (ecosystem) มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
สำนักงาน คปภ. ได้มีการปรับปรุงแนวทางการเข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมให้มีความยืดหยุ่น และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจทั้ง Fintech Firms และ Tech Firms สามารถเข้ามาทำการทดสอบใน Insurance Regulatory Sandbox ได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงสนับสนุนให้บริษัทมี Sandbox ของตนเอง (Own Sandbox) โดยยังคงมีกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสมและเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และสำนักงาน คปภ. ได้ยกระดับประกาศเกี่ยวกับ Insurance Regulatory Sandbox เพื่อลดขั้นตอน และเพิ่มความยืดหยุ่นในการพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าร่วมทดสอบ โดยล่าสุด สำนักงาน คปภ. โดยกลุ่มส่งเสริมเทคโนโลยีการประกันภัย จึงพิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนโครงการ IRS เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สนใจ โดยได้ดำเนินการจัดทำระบบตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ IRS ซึ่งเป็นระบบ Self Service เพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณสมบัติของโครงการและสามารถทราบผลการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นว่าเข้าเกณฑ์หรือไม่ และสามารถยื่นหลักฐานใบสมัครเข้าโครงการผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว