18 ก.พ. 2564 2,089 101

AIS 5G เปิดตัวคลื่น 26 GHz รองรับเลเซอร์โรงงานความเร็ว Multi Gbps เดินหน้านำ 5G ยกระดับภาคอุตสาหกรรมแต่ไม่ทิ้งขยายเครือข่ายคนต่างจังหวัด

AIS 5G เปิดตัวคลื่น 26 GHz รองรับเลเซอร์โรงงานความเร็ว Multi Gbps  เดินหน้านำ 5G ยกระดับภาคอุตสาหกรรมแต่ไม่ทิ้งขยายเครือข่ายคนต่างจังหวัด


AIS เริ่มให้บริการ 5G ย่าน 26 GHz โดยได้ชำระค่าบริการให้กับ กสทช. เป็นที่เรียบร้อยเป็นจำนวน 5,719 ล้านบาท จำนวน 1200 MHz ถือเป็น SuperBlock ถึง 3 ช่วงความถี่ (400 MHz x 3 Block) AIS จะวางโครงข่ายแบบพิเศษให้ครอบคลุมในพื้นที่ต้องการหรือจุดของโรงงานที่ต้องการ โดยเน้นการสื่อสารระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร ไม่ทำให้สัญญาณรบกวนผู้ใช้งานภายนอกอีกด้วย โดยเทคโนโลยี 5G ผู้ใช้ปกติที่ใช้งานอยู่เป็นเทคโนโลยียุค Rel-16 แต่คลื่น 26 GHz มาตอบสนอง 5G แบบอุตสาหกรรมจริงๆ เป็นเทคโนโลยียุค Rel-7 เน้น 5G ในโลกอนาคตที่เป็นจริงเกี่ยวข้องกับอุตสหกรรม เพราะ 5G ย่าน 26 GHz ถูกออกแบบมาเฉพาะเพื่อความต้องการของโรงงาน โดยความต้องการของแต่ละโรงงานไม่เหมือนกัน โดย 26 GHz ไม่แชร์กับผู้ใช้งานทั่วไป ความสามารถของ 5G #PrivateNetwork ซึ่งสามารถจำกัดผู้ใช้งานได้เพราะเป็นคลื่นที่มีใบอนุญาติ (ไม่ใช้คลื่นอินเทอร์เน็ตสาธารณะ-ผู้ใช้งานภายในบ้าน )

ท่ออินเทอร์เน็ตในโรงงานใหญ่ยังมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งความถี่ 5G ที่พนักงานใช้งาน (เช่น พนักงานใช้ AIS 5G คลื่น 2600 MHz ) คนละคลื่นกับโรงงานใช้แน่นอน โรงงานใช้ 26 GHz ไม่เกี่ยวข้องกัน ส่วนข่าวดีทางหน่วยงานต่างๆ เตรียมยื่นเรื่องโดยการลงทุน 5G โรงงานสามารถใช้หักภาษีได้ในอนาคตเพื่อให้ราคาที่ถูกที่สุด


สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า เป็นวันที่ AIS ให้บริการ 5G ย่าน 26 GHz อย่างเป็นทางการ ทาง AIS สามารถเดินหน้าได้ทันทีและรีบไปชำระเงินทันที เดิม AIS มีคลื่นที่จำกัด แต่ปัจจุบัน AIS ได้คลื่นที่มีอย่างเพียงพอในการให้บริการและดำเนินการเปิดโครงข่ายทันที ที่ผ่านมา AIS ได้ใช้เงินลงทุน 35,000 ล้านบาทลงทุน ทั้ง 4G และ 5G รวมการลงทุน Fiber โดยประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งเรามี 5G ครอบ 77 จังหวัด โดยไม่ได้ปูพรมทุกประเทศเราลงทุนในพื้นที่พร้อมให้บริการ แต่เราไม่ละทิ้งในต่างจังหวัดสัญญาณ 5G ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง หากท้องถิ่นใดเริ่มมีอุปกรณ์ 5G เป็นจำนวนมากและมีการใช้งาน Data เพิ่มขึ้น เราก็จะลงทุน 5G ในต่างจังหวัดทันที

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า AIS มีคลื่นความถี่แต่ละย่านความถี่ที่มากจนเรียกว่าเป็น SuperBlock ทั้งย่าน 700 MHz จำนวน 30 GHz เหมาะสำหรับการให้บริการ 5G ในพื้นที่กว้างและรองรับ IoT ย่าน 2600 MHz จำนวน 100 MHz เหมาะสำหรับการให้บริการอินเทอร์เน็ตความสูงสำหรับประชาชน และ ย่าน 26GHz จำนวน 1200 MHz เหมาะสำหรับการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับประชาชน

ความเร็วที่คลื่น 26 GHz ได้คือความเร็วระดับ Multi Gbps มีความเร็วที่เพียงพอกับความต้องการของภาคอุตสหกรรม

ที่ผ่านมา AIS 5G ได้ลงทุนทั้ง 5G แบบ NSA และ SA โดยลงทุนในสถานีฐาน 5G เป็นหลักจะได้ใช้งาน 4G ร่วมได้เช่นกัน( รวมการลงทุน Fiber จำนวน 5000 ล้านบาท ) โดยเราได้ลงทุน 5G ย่านคลื่น 26 GHz เฉพาะในอุตสาหกรรม ซึ่งในโรงงานอุตสหกรรมมีการวางโครงข่าย Network ที่มีความเร็วต่ำกว่า 10 ms รูปแบบ SA ที่พิเศษกว่าการให้บริการภาคประชาชน



สมชาย งามกิจเจริญลาภ รองประธานกรรมการบริหาร หรือ SNC กล่าวว่า ได้นำเทคโนโลยี 5G มาปรับใช้กับอุตสาหกรรม สามารถตรวจสอบตรวจเช็คสายการผลิตอยู่ตลอดเวลา ทั้งวัตถุดิบ การส่งมอบ ต้นทุนทางการเงินมาบริหารจัดการหุ่นยนต์ใช้ 5G มาประสานงานร่วมกัน

5G AIS ทำให้พนักงานและผู้บริหารสามารถทราบข้อมูลภายในโรงงานมาร่วมกันได้ถือเป็นข้อมูลกลาง เครื่องจักรระหว่างเครื่องจักรสามารถสื่อสารระหว่างกันและส่งสัญญาณไปยังผู้ควบคุมรวมถึงสามารถทราบถึง การผลิตทั้งการเคลื่อนย้ายสินค้าไปโรงงานและผู้คุมวัตถุดิบต้องรู้ต้นทุนการผลิตได้ทันที รอรับปริมาณมาหาศาล Gbps ในเสี้ยววินาที


ดร.สมชัย ไทยสงวนวรกุล ในฐานะประธาน EEC Industrial Forum กล่าวว่าการดำเนินการนำเทคโนโลยี 5G มาเสริมในอุตสาหกรรมทำให้การเติมโตจะสูงมากกว่ามูลค่า 4.1ล้านล้านบาท เพราะผู้ซื้อเจอกับผู้ขาย และคุณภาพชีวิตประชาชนในเขตอุตสาหกรรมให้สามารถก้าวพ้นรายได้ระดับปานกลางเพิ่มขึ้น เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมต้องการมากที่สุดคือภาคบุคคลากรที่ยังไม่เพียงพอ เราจึงต้องนำเทคโนโลยี 5G แบบนวัตกรรม 4.0 เพื่อให้ดึงดูดการทำงานของคน โดยให้เครื่องจักร 2 ตัวประสานงานรับส่งข้อมูลกันได้และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ร่วมกันผ่านคลื่น 26 GHz


5G ย่าน 26 GHz ช่วยทำให้เกิดพื้นฐานอุตสาหกรรมเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคุณภาพเสถียร ส่งผลทำให้ทราบต้นทุนทั้งการเงิน วัตถุดิบและเครื่องมือที่ทำงานต้องรู้ข้อมูลพร้อมๆกันวินาทีต่อวินาที