22 ก.พ. 2564 1,866 122

DTAC พร้อมเปิด 5G DSS ตั้งเป้าขยายคลื่น 700 MHz ถึง 4,400 สถานีฐาน และ 2300 MIMO กว่า 20,400 สถานีฐาน

DTAC พร้อมเปิด 5G DSS ตั้งเป้าขยายคลื่น 700 MHz ถึง 4,400 สถานีฐาน และ 2300 MIMO กว่า 20,400 สถานีฐาน

DTAC ยังได้ย้ำถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับความถี่ 900 MHz แนะหาระบบป้องกันคลื่นสัญญาณรบกวน (Filter) 900 MHz โดยทาง dtac พร้อมให้บริการทันที ยิงสัญญาณคู่ขนาน 700 และ 900 MHz ด้วยระบบ DSS ให้ผู้ใช้งาน 5G และ 4G พร้อมกัน นอกจากนี้ยังวางแผนธุรกิจด้าน payment online อีกด้วย

ดีแทค เผยกลยุทธ์ 2564 เพื่อยกระดับสู่องค์กรที่มีศักยภาพพร้อมยืนหยัดทุกสถานการณ์ ช่วยผู้ใช้งานมือถือให้พร้อมสร้างโอกาสจากเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ตอบโจทย์ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ ในอนาคต ดีแทคประกาศขยายให้บริการ 5G และ 4G อย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการเฉพาะที่แตกต่างไปในแต่ละกลุ่มผู้ใช้งาน และแนวโน้มการใช้งานดาต้าในต่างจังหวัดที่เติบโตกว่ากรุงเทพฯ 9 เท่า และเร่งรุกบริการดิจิทัลให้ครอบคลุมผู้ใช้งานทุกกลุ่ม

ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยว่า “การเชื่อมต่อเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับทุกคน และสร้างสังคมไทยให้แข็งแกร่งผ่านการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงคือจุดมุ่งหมายที่ผลักดันทิศทางการดำเนินธุรกิจของดีแทค นอกจากบริการการสื่อสารไร้สายทั้ง 5G และ 4G ในราคาที่เหมาะสมแล้ว ดีแทคยังพัฒนาบริการใหม่หลากหลายที่จะช่วยเปลี่ยนผ่านผู้ใช้งานสู่ชีวิตดิจิทัล

โครงข่ายดีแทคจะยืนหยัดทุกสถานการณ์ ขยายสัญญาณเน็ตความเร็วสูงเพื่อทุกคน พร้อมลุยเดินหน้า 5G

ประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทคโนโลยี ดีแทค กล่าวว่า “ตามข้อมูลของดีแทคพบว่า มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมของปี 2563 ที่ผ่านมา ได้พลิกโฉมการใช้มือถือของประเทศไทย การใช้งานดาต้าในส่วนภูมิภาคโตมากกว่าการใช้งานในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ถึง 9 เท่า สอดคล้องกับทิศทางการเพิ่มขึ้นของการใช้งานสมาร์ทโฟนเร็วขึ้น ในส่วนภูมิภาคก็เติบโตเร็วกว่ากรุงเทพฯ ถึง 3 เท่า จากข้อมูลดังกล่าวตอกย้ำว่าผู้ใช้ในภูมิภาคและพื้นที่ห่างไกลหันมาใช้ดิจิทัลมากขึ้น ดีแทคจึงได้เร่งนำคลื่นความถี่ 700 MHz มาให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยตั้งเป้าจะขยาย 4,400 สถานีฐานทั่วประเทศภายในไตรมาสที่ 1/2564 คลื่น 700 MHz หรือคลื่นความถี่ต่ำมีประสิทธิภาพในการเพิ่มสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น โดยดีแทคเปิดให้บริการ 5G และ 4G บนคลื่น 700 MHz ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด Dynamic Spectrum Sharing (DSS) ทำให้สามารถใช้งานคลื่นเดียวทั้ง 5G และ 4G ไม่ต้องแบ่งแบนด์วิดท์ด้วยประสิทธิภาพเต็มที่สูงสุด”

ดีแทคกำหนดกลยุทธ์การออกแบบโครงข่ายโดยดูที่พฤติกรรมและแนวโน้มการใช้งานของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ ไม่ใช่แค่เทคโนโลยี โดยจากข้อมูลของปีที่ผ่านมา เราจะเห็นพฤติกรรมลูกค้า 4 กลุ่ม คือ

1. เน็ตภูธรหน้าใหม่ (THE NEW RURALS) ปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเพิ่มขึ้นทั้งจากการย้ายถิ่นฐานของคนเมืองและการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของชุมชน โดยต่างจังหวัดมีอัตราเติบโตมากกว่า 9 เท่า เมื่อเทียบกับกรุงเทพฯ การเข้าถึงสมาร์ทโฟนยังเพิ่มขึ้น 3 เท่าในภูมิภาค (ข้อมูล ม.ค. 2563-ม.ค. 2564) ดีแทคเร่งนำคลื่น 700 MHz ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมพื้นที่ทั้งในเมืองและต่างจังหวัด

2. ขยันผ่านเน็ตทางไกล (THE REMOTE DESKERS) กลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปรับตัวรับกับความปกติใหม่โดยทำงานและเรียนที่บ้าน ซึ่งมีความต้องการใช้งานดาต้าจากชุมชนที่พักอาศัย โดยใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อสร้างผลผลิตและการทำงานร่วมกันแม้อยู่คนละพื้นที่ ตามข้อมูลตั้งแต่ ม.ค. 2563-ม.ค.2564 พบว่า งาน Zoom เพิ่มขึ้น 5050% และ Google Hangouts 740% ดีแทคยกระดับประสบการณ์ด้วยคลื่น 700 MHz ที่ให้บริการ 5G และ 4G ครอบคลุมในอาคารสูงและพื้นที่ห่างไกล รวมถึงชุมชน

3. อยู่ติดบ้านด้วยเน็ตบันเทิง (THE NON-STOP STREAMER) จากสถานการณ์ล็อกดาวน์ หรืออยู่บ้านพบว่ากลุ่มผู้ใช้งานที่ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านแอปพลิเคชันเพื่อบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง และช้อปปิ้งออนไลน์ ผ่านแอปเพื่อตอบโจทย์ดิจิทัลเพิ่มขึ้น อาทิ YouTube และ TikTok ดีแทคเร่งขยายเทคโนโลยี 5G-ready massive MIMO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานดีขึ้น 3 เท่า และเปิดให้บริการ 4G-TDD บนคลื่น 2300 MHz (ให้บริการบนคลื่น NT หรือทีโอที เดิม) อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประมาณ 20,400 สถานีฐาน ทั้งนี้ Opensignal ให้ดีแทคเป็นผู้ชนะรางวัลด้านดาวน์โหลดเร็วสุดในประเทศไทยติดต่อกันจาก 2 รายงานประจำเดือนเมษายน และพฤศจิกายน 2563

4. เน็ตคือหัวใจสำคัญ (THE CRITICAL USER) กลุ่มผู้ใช้งานที่พึ่งพาระบบอินเทอร์เน็ตเป็นหลักในการปฏิบัติภารกิจ ให้บริการแก่ประชาชนและชุมชน เช่น โรงพยาบาลและบริการฉุกเฉิน รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจ เป็นต้น ด้วยระบบชุมสาย Virtual Core Network 100% พร้อมรองรับเทคโนโลยีทันสมัยและนวัตกรรมการสื่อสารแห่งอนาคต ดีแทคยังยืนหยัดการให้บริการทุกสถานการณ์แม้ในยามเกิดภัยพิบัติต่างๆ นอกจากนี้ดีแทคยังนำคลื่น 26 GHz มาทดสอบใช้งานบริการต่างๆ รวมถึงขยายสู่คลื่น 700 MHz ดีแทคพร้อมนำศักยภาพที่แท้จริงของโครงข่าย 5G มาทำให้เกิดประโยชน์เพื่อผู้ใช้งาน สร้างศักยภาพการให้บริการดิจิทัลเต็มรูปแบบ เพื่อยืนหยัดได้ในทุกสภาวการณ์

เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ระบบนิเวศดิจิทัลของดีแทคยังได้รับการพัฒนาให้มีความครอบคลุมทั้งความบันเทิง และความคุ้มค่ามากขึ้น ด้วยการสนับสนุนให้ลูกค้าในทุกกลุ่มใช้ช่องทางดิจิทัลได้ตลอดเวลา

ฮาว ริเร็น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด ดีแทค กล่าวว่า “ผู้ใช้บริการของเรามีความคาดหวังบริการที่เหมาะกับความต้องการของแต่ละบุคคล เรานำระบบปัญญาประดิษฐ์ มาช่วยขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพได้ดีกว่าข้อเสนอทั่วไปได้มากถึง 3 เท่า ดีแทคแอปยังเปิดประสบการณ์ บริการที่มีประโยชน์และให้ความบันเทิง ที่มีทั้งเกมและส่วนลดอาหาร รวมถึงประกันสุขภาพและบริการโอนเงิน ทำให้ลูกค้าของเราปลอดภัยและมีความสุข รวมถึงคุ้มค่าในการใช้จ่ายอีกด้วย”

เทรนด์ผู้บริโภคที่สำคัญ 5 ประการที่สนับสนุนการใช้มือถือในยุคนี้

1. “Digital-First Experiences” เน้นการสร้างประสบการณ์ผู้บริโภคแบบ Digital First เพื่อประโยชน์ในการใช้ชีวิตตามที่ต้องการในทุกช่วงเวลา จากการที่ผู้ใช้มือถือระบบเติมเงินและผู้ใช้ในชนบทห่างไกลใช้ดิจิทัลมากขึ้น ผู้ใช้บริการจะต้องได้รับประสบการณ์ดิจิทัลที่ราบรื่นขึ้น ด้วยประสบการณ์ออนไลน์สู่ออฟไลน์ที่สะดวกสบาย เช่น การซื้อทางออนไลน์และการรับสินค้าในร้าน การให้บริการในภาษาเดียวกับลูกค้า เช่น WeChat mini program แอปในภาษาจีน ดีแทคแอป ภาษาพม่า และรวมถึงรูปแบบการสื่อสารใหม่ถึงลูกค้า เช่น Facebook Live และ Tik Tok

2. “Digital Inclusion” สร้างอัตราเร่งสู่ดิจิทัล ปรับวิถีชีวิตผู้บริโภคให้เหนือกว่า ด้วยระบบนิเวศดิจิทัลที่เปิดกว้างสำหรับทุกผู้ใช้งาน บริการดิจิทัลมักถูกออกแบบมารองรับกับมือถือสำหรับอุปกรณ์ที่ดีที่สุด และผู้ใช้งานที่ชื่นชอบเทคโนโลยี ให้สามารถใช้งานได้จากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ดีแทคจึงออกแบบประสบการณ์ดิจิทัลที่คุ้มค่าให้กับทุกคน ซึ่งรวมถึง กลุ่มผู้ใช้งานแรงงานต่างด้าว ผู้ใช้งานในต่างจังหวัด ดีแทคยังได้เน้นใช้ช่องทางดิจิทัลในดีแทคแอป โดยมีกิจกรรมจาก dtac reward สำหรับลูกค้าระบบเติมเงิน ที่สามารถสะสม dtac reward Coins แลกสิทธิพิเศษได้อย่างคุ้มค่า

3. “360-degree Personalization” ใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์ ออกแบบข้อเสนอที่ตอบสนองปัจเจกบุคคลให้รอบด้าน ในเวลาและสถานการณ์ที่ผู้บริโภคต้องการ ลูกค้าคาดหวังข้อเสนอที่ใช่ ในเวลาที่ต้องการ และสถานที่ที่ถูกต้อง การใช้ปัญญาประดิษฐ์ทำให้ดีแทคมอบข้อเสนอบริการ เฉพาะในรายบุคคลซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าข้อเสนอทั่วไปมากถึง 3 เท่า ทำให้การใช้งานดีแทคแอปรายเดือน เติบโตขึ้น 40% ในปี 2563

4. “New Business Normal” โมเดลธุรกิจวิถีใหม่ ที่รวมพลังพันธมิตรเข้าด้วยกันเพื่อยึดโยงผู้บริโภค ด้วยการมอบคุณค่าของสินค้าบริการที่ให้มากกว่าความคาดหมาย นอกเหนือจากบริการหลักเช่นเสียงและข้อมูลแล้วลูกค้ายังคาดหวังบริการดิจิทัลที่ช่วยให้คุณค่าที่มากขึ้นในชีวิตประจำวัน ดังนั้นดีแทคจึงแสวงหาความร่วมมือเพื่อนำเสนอบริการใหม่ๆ แก่ลูกค้า เช่น ประกันสุขภาพ ส่วนลดร้านขายยาที่ได้รับอนุญาต หรือการโอนเงินที่มั่นใจได้ บริการเหล่านี้ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางดิจิทัลให้กับผู้ใช้งาน

5. “Trust Matters” แบรนด์ที่มีความจริงใจ ซื่อสัตย์ คิดดี ทำดี ไว้ใจได้ในทุกบริการ เพื่อให้เกิดความสบายใจสำหรับผู้ใช้ดิจิทัล แบรนด์ต้องได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าอย่างเต็มที่ ดีแทคมีมาตรฐานที่สูงมากในการจัดการข้อมูลลูกค้าโดยมีนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับความยินยอมและคู่ค้า ดีแทคให้ความสำคัญกับการเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ (Trusted and secure internet provider) เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังมีบริการที่ช่วยเหลือลูกค้าในภาวะที่เศรษฐกิจเผชิญกับความท้าทาย เช่น บริการใจดีให้ยืม ใจดีให้โอน และบริการดิจิทัลอื่นๆ จากดีแทคที่อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในเวลาที่ต้องการ

ยืนหยัดพร้อมสู่อนาคต

นอกจากนี้ ดีแทคยังประกาศความมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดได้ในทุกสถานการณ์ และดำเนินธุรกิจด้วยความเชื่อมั่น

เปิดตัวโครงการ ‘ดีแทค เน็ตทำกิน’ (Net for Living) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มล่าสุด ที่ช่วยฝึกอบรมผู้ค้ารายย่อย 100 ราย ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ และขยายผลให้ครอบคลุมผู้ประกอบการรายย่อย ที่มีรายได้น้อยให้สามารถประกอบธุรกิจค้าขายได้บนพื้นที่ออนไลน์ มุ่งมั่นช่วยเพิ่มรายได้ครัวเรือนจากพื้นที่ขายออนไลน์ 15% ต่อปี สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://dtac.co.th/dtacNetforLiving
สำหรับเยาวชน ดีแทคจะยังคงดำเนินโครงการ Safe Internet ซึ่งได้สอนทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักเรียนและครูในปีนี้อีก 200,000 คน
ล่าสุดดีแทคมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ลดลง 50% ให้ได้ตามเป้าหมายในปี 2573
นายชารัด กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่งที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศเดินหน้าฟื้นตัวในปี 2564 โดยมุ่งมั่นตามกลยุทธ์ของเราที่จะนำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสู่ทุกคน และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ผู้ใช้งานดิจิทัลของลูกค้าเรา จากข้อมูลและความเข้าใจของลูกค้าเราใส่ใจ เปรียบเสมือนเราได้นำความสุข ความก้าวหน้า ความโชคดี และที่ยืนหยัดทุกสถานการณ์ส่งมอบให้กับลูกค้าเราตลอดปีฉลูอีกด้วย”

จากการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของ adslthailand พบว่า การให้บริการของ dtac 5G ที่เกิดขึ้นต้องการให้บริการทุกคนได้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง วางโครงข่ายอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมั่นคง ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนราคาประหยัดหรือสมาร์ทโฟนราคาสูงก็เข้าถึงบริการ 5G ได้เช่นกัน โดย "dtac ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" สิ่งนี้เป็น dtac ต้องการสร้างการจดจำ

dtac ให้บริการความถี่ที่มีทั้งความถี่ต่ำ อย่าง 700 MHz 900 MHz และคลื่นความถี่กลางเช่น 2300 MHz 2100 MHz และ 1800 MHz ส่วนคลื่นความถี่สูง 26 GHz เหมาะสมกับใช้ในอุตสาหกรรมเนื่องจากคลื่นที่กว้างรองรับการสั่งการอุตสหกรรมในการรีโมทคำสั่งจำนวนมาก

แต่มีโอกาสสูงที่จะนำมาให้บริการกับลูกค้าทั่วไป ขอให้ผู้ใช้งานมีสมาร์ทโฟน 5G รองรับคลื่น 26 GHz ก็พร้อมให้บริการเช่นกัน

ที่ผ่านมา dtac เห็นการเติบโตของการใช้งานอินเทอร์เน็ตในต่างจังหวัดจึงเร่งลงทุนคลื่น 700 MHz เพิ่มขึ้น 4,400 สถานี ด้วยระบบ DSS ที่สามารถให้บริการ 4G และ 5G ได้พร้อมๆกันทั่วไทย ส่วนในเมืองลงทุนโครงข่ายความถี่ 2300 MHz ปรับเทคโนโลยี MIMO 4G-TDD คลื่น 2300 มากขึ้น +20,400 สถานีฐานเพื่อขยายพื้นที่ๆให้บริการที่หนาแน่น

ส่วนคลื่น 900 MHz เราได้มาพร้อม 700 MHz โดย dtac ขยายโครงข่ายพร้อมๆกัน กระจายคลื่นความถี่ในกล่องเดียวกันซึ่งทาง dtac รองผู้ที่เกี่ยวข้องจัดการความถี่รบกวนบนคลื่น 900 MHz ดำเนินการเสร็จ บางพื้นที่อาจมีเปิดให้บริการ พร้อม 4G กับ 2300 ที่มาเติมเต็มในจุดที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากผ่าน MIMO

เมื่อ dtac ต้องการเพิ่มคลื่นความถี่ใด จะมองก่อนว่าแต่ละคลื่นสามารถใช้ประโยชน์อะไรได้บาง ประสบการณ์ 5G ของผู้ใช้ไม่ใช่การทดสอบความเร็วที่ดีที่สุด แต่จะต้องมีประสบการที่แท้จริง คือ ต้องมีคลื่นที่ดีและมีสัญญาณที่ดีทั้งในต่างจังหวัดและเมือง ใช้งาน 5G ได้ทุกพื้นที่ ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด

ส่วนการประมูลคลื่นความถี่ dtac ให้ความสนใจในทุกความถี่ว่านำเอาไปใช้ประโยชน์อย่างไร มากกว่าการทดสอบความเร็วเช่นกัน นอกจากนี้ทาง dtac จะให้บริการทางการเงินโอนเงินระหว่างประเทศโดยร่วมมือกับพันธมิตรที่ถูกต้องตามกฏหมายและกฏของธนาคารแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อกับ dtac app และพร้อมเชิญชวนพันธมิตรรายอื่นรวมกิจกรรมพิเศษนี้ด้วย เช่นบริษัทประกัน

ส่วนโปรโมชั่นใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นโปรโมชั่น 5G คลื่น 700 MHz ลูกค้าสามารถรองรับการใช้งาน 4G และ 5G พร้อมๆกัน ให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ลูกค้าที่มีอุปกรณ์รองรับ 5G รองรับการใช้งานได้อย่างแน่นอน