22 ก.พ. 2564 669 0

เนื่องด้วย สภาพแวดล้อมในการใช้งานระบบ เอดจ์ คอมพิวติ้ง ที่ต่างกัน การออกแบบระบบโครงสร้างจึงต้องรองรับความหลากหลายได้อย่างลงตัว

เนื่องด้วย สภาพแวดล้อมในการใช้งานระบบ เอดจ์ คอมพิวติ้ง ที่ต่างกัน การออกแบบระบบโครงสร้างจึงต้องรองรับความหลากหลายได้อย่างลงตัว

โดย แอบเบย์ แอนิล โกสานการ์ รองประธานกลุ่ม Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ประเทศไทย ลาว และเมียนมา

ในยุค 4.0 การดำเนินธุรกิจต่างๆ ล้วนขึ้นอยู่กับ ระบบไอทีและเน็ตเวิร์ก ในแต่ละพื้นที่ ที่จะช่วยในเรื่องการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล และการเชื่อมต่อเครือข่ายได้ใกล้กับจุดที่ใช้งานมากที่สุด หรือเรียกกันว่าเอดจ์คอมพิวติ้ง (edge computing) ที่นับเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน โดย ระบบเอดจ์ คอมพิวติ้งเหล่านี้ จะต้องออกแบบให้มีความยืดหยุ่น แม้ว่าความต้องการใช้งานพื้นฐานจะเหมือนกัน แต่มีความต้องการและใช้งานที่แตกต่างกัน ทำให้เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญเพราะอาจส่งผลต่อการนำระบบโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพมาให้การสนับสนุนและปกป้องอุปกรณ์ไอทีสำคัญ ทั้งในเรื่องของอุณหภูมิ ความชื้น การรักษาความปลอดภัยและการเข้าถึงพื้นที่ รวมถึงวัตถุประสงค์ของการใช้พื้นที่นั้นๆ โดยปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่แตกต่างสำหรับอุปกรณ์ไอทีที่อยู่ภายนอกอาคาร เช่นที่เสารับส่งสัญญาณ (cell tower) เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ที่อยู่ภายในอาคารที่มีการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม ทั้งนี้ เราจึงได้กำหนดสภาพแวดล้อมเอดจ์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน พร้อมคำแนะนำและการนำเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการออกแบบในเรื่องของ เสถียรภาพของระบบไฟ้ฟ้า ระบบระบายความร้อน การรักษาความปลอดภัย ฯลฯ ตามปัจจัยความเสี่ยงของสภาพแวดล้อมแต่ละประเภท

สภาพแวดล้อมเอดจ์คอมพิวติ้ง 3 ประเภท

เราเชื่อว่าสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) สภาพแวดล้อมแบบห้องเฉพาะด้านไอที (2) สภาพแวดล้อมในสำนักงานและในการพาณิชย์ (3) สภาพแวดล้อมที่ควบคุมยากอย่างในอุตสาหกรรม

สภาพแวดล้อมแบบห้องเฉพาะด้านไอที

สภาพแวดล้อมไอทีคือพื้นที่ซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิพร้อมจำกัดการเข้าถึง โดยออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดวางอุปกรณ์ไอทีในส่วนเอดจ์ได้อย่างปลอดภัย หากนึกถึงตู้ที่มีการเดินสายไฟ หรือห้องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้ต้องรองรับการประมวลผลที่หนักหน่วงยิ่งขึ้น รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจมากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยความยืดหยุ่นในระดับสูง และให้ความสามารถในการเชื่อมต่อ และปฏิสัมพันธ์ร่วมกับสถาปัตยกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมยิ่งขึ้น (เช่น ระบบคลาวด์ และดาต้าเซ็นเตอร์ระดับภูมิภาค)

นอกจากนี้บ่อยครั้งที่ระบบทำความเย็นมักจะถูกมองข้ามในพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งมีแร็คที่เป็นตู้ใส่อุปกรณ์อยู่เพียง 1 หรือ 2 ตู้แร็ค แต่ก็ขึ้นอยู่กับความหนาแน่น ซึ่งหากจำเป็นจะต้องเพิ่มระบบการทำความเย็นบางประเภทเข้ามา แต่หากความหนาแน่นน้อยกว่า 2kW ต่อแร็ค การระบายความร้อนด้วยพัดลมก็ค่อนข้างจะเพียงพอ แต่เมื่อใดที่เริ่มมีความหนาแน่นมากขึ้น ระบบเฉพาะทางอย่างระบบปรับอากาศในห้องไอทีในแบบพรีซิชั่นแอร์  อาจจะเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมควบคุมอุณหภูมิ รวมถึงความชื้นสัมพัทธ์สำหรับอุปกรณ์ไอทีได้อย่างแม่นยำ


สภาพแวดล้อมในสำนักงานและในการพาณิชย์

บางครั้งอุปกรณ์ไอที แบบเอดจ์ คอมพิวติ้ง ตามพื้นที่ต่างๆ จะถูกวางไว้ในพื้นที่ซึ่งตอบโจทย์วัตถุประสงค์บางอย่าง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีพนักงานหรือลูกค้าอยู่ เช่น สำนักงานแพทย์หรือหน้าร้าน ซึ่งพื้นที่ประเภทดังกล่าวก็จะมีข้อจำกัดหลักๆ กันอยู่ห้าประการ ได้แก่

1. ความสวยงามกลมกลืนกับพื้นที่  อุปกรณ์ต้องไม่ดูเป็นส่วนเกินของพื้นที่ ไม่ขัดตาทั้งพื้นที่ที่เป็นสาธารณะ หรือพื้นที่ส่วนกลาง อุปกรณ์ควรจัดวางได้อย่างเหมาะสมลงตัว

2. ข้อกำจัดเรื่องเสียงรบกวน  เสียงพัดลมระบายอากาศอาจรบกวนสร้างความรำคาญ และรบกวนสมาธิแก่ผู้คนที่อยู่บริเวณนั้น จึงควรเลือกใช้ตู้แร็ค หรือตู้ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ที่สามารถลดเสียง หรือมีเทคโนโลยีเก็บเสียงรบกวนได้

3. การระบายความร้อน  เอาต์พุตความร้อนของไอทีสามารถส่งผลกระทบต่อความสะดวกสบายของมนุษย์ จึงควรทำความเข้าใจถึงข้อจำกัดของระบบระบายความร้อนเพราะอาจจำเป็นต้องใช้การระบายความร้อนแบบ Active Cooling

4. ข้อจำกัดด้านพื้นที่  พื้นที่ในอาคารมีต้นทุน การใช้ตู้ไอทีแบบติดผนังสามารถช่วยให้ใช้พื้นที่ได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ

5. การรักษาความปลอดภัยทางกายภาพ  หากผู้ที่อยู่ในอาคารสามารถเดินไปถึงและเข้าถึงได้ แสดงว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดดาวน์ไทม์จากการประสงค์ร้ายหรือไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ ตู้ไอทีที่ใส่อุปกรณ์ควรมีการล็อคและจำกัดการเข้าถึง อาจตั้งอยู่ในโซนที่ไม่เตะตา และมีกล้องที่ช่วยดูแลความปลอดภัยได้อย่างทั่วถึง


สภาพแวดล้อมที่ ควบคุมยาก อย่างในอุตสาหกรรม

สภาพแวดล้อมนี้ อาจจะอยู่ทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง และมีการควบคุมน้อยกว่าสภาพแวดล้อมสองประเภทที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจจะมีความแปรปรวณทั้งเรื่องของอุณหภูมิและความชื้น อาจมีฝุ่นละอองและสารปนเปื้อนอื่นๆ หรือกระทั่งเรื่องของน้ำ สภาพแวดล้อมสมบุกสมบั่น ในอุตสาหกรรมนี้จะมาในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งค่อนข้างยากที่จะควบคุมได้อย่างทั่วถึง เช่น คลังสินค้าชิปปิ้ง โรงงานผลิต โรงงานเคมี เสาสัญญาณโทรคมนาคม และอื่น ๆ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไอทีในพื้นที่เหล่านี้ ได้แก่

1. การแปรปรวนของอุณหภูมิ และความชื้น การใช้ตู้แร็คที่มาพร้อมเครื่องปรับอากาศ ซึ่งมีทั้งแบบอยู่ในตัว หรือจากระบบ HVAC ของอาคาร สามารถควบคุมอุณหภูมิ  ความชื้น สำหรับอุปกรณ์ไอทีได้อย่างแม่นยำ

2. การรั่วไหลของน้ำ ให้มองหาตู้แร็คที่ให้การปกป้องความเสี่ยงเรื่องของน้ำได้ในระดับที่เหมาะสม โดยอิงตามมาตรฐานสากลIEC และ NEMA

3. อนุภาคขนาดเล็กและฝุ่น สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไอที จึงต้องมีระดับการป้องกันที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยง ซึ่งมาตรฐานการป้องกันของ IEC จะตรวจสอบระดับการป้องกันฝุ่นของตู้แร็ค

4. การสั่นสะเทือน เครื่องจักรสามารถก่อให้เกิดการสั่นสะเทือน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ไอที ฉะนั้นควรใช้เทคนิคช่วยลดแรงสั่นสะเทือน อย่างการใช้ตัวยึดสปริงแบบแยกหรือแผ่นยางลดการสั่นสะเทือน

5. การชน  รถโฟล์กลิฟท์สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงได้เช่นกัน จึงควรวางตำแหน่งตู้ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ ให้อยู่ห่างจากพื้นที่หลักที่เป็นเส้นทางจราจรให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และให้ใช้แท่งเสาคอนกรีดมากั้นไว้อีกทีเพื่อป้องกันความเสี่ยง

6. เหตุการณ์รบกวน  เมื่ออุปกรณ์อยู่กลางแจ้ง อาจเกิดปัญหาใหญ่ขึ้นได้ จึงควรอยู่ในที่ลับตา และทำให้สามารถเข้าถึงได้น้อยที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกทำลาย หรือการประทุษร้าย หรือ สัตว์ที่เข้าไปรบกวนระบบ รวมถึงสายไฟ ฯลฯ

7. การกัดกร่อน  ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เซิร์ฟเวอร์ และแผงวงจรพิมพ์ (printed circuit boards) มีความอ่อนไหวต่อการกัดกร่อน ซึ่งอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของตัวอุปกรณ์ จำเป็นต้องใช้ตู้ที่ทำจากวัสดุที่เหมาะสมหรือมีการเคลือบเพื่อป้องกันการกัดกร่อน

ทั้งหมดเป็นเคล็ดลับการสร้างเอดจ์ คอมพิวติ้ง ที่มีประสิทธิภาพตามสภาพแวดล้อมของแต่ละสถานที่และการใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้การดูแลรักษาในอนาคตทำได้ง่าย สามารถศึกษาเคล็ดลับเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3tXuRAF