23 ก.พ. 2564 1,281 52

Huawei ผุดเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ 5G Super Uplink ในงาน MWC2021 เพื่อให้บริการเน็ตเร็ว 20 Gbps ในรูปแบบ Non - Public Network

Huawei ผุดเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ 5G Super Uplink ในงาน MWC2021 เพื่อให้บริการเน็ตเร็ว 20 Gbps ในรูปแบบ Non - Public Network

เคน หู (Ken Hu) รองประธานหัวเว่ย กล่าวว่า “นวัตกรรมไม่ใช่แค่เรื่องของการแก้ปัญหาที่เราเผชิญอยู่ในวันนี้” ซึ่งที่ผ่านมาโควิด-19 ได้ทำให้เกิดเงื่อนไขใหม่ๆ มากมายด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ทั้งนี้ หัวเว่ยได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการโครงข่ายจำนวนมากตลอดปีที่ผ่านมา เพื่อทำให้เครือข่ายสัญญาณกว่า 300 เครือข่ายใน 170 ประเทศมีเสถียรภาพ ในอินโดนีเซียนั้นหัวเว่ยได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรูปแบบใหม่กับการขนส่งติดตั้งสถานีฐานกว่า 5,000 แห่งได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ในหนิงเซี่ย ประเทศจีน เราเตอร์แบบอินทิเกรต (integrated router) ของหัวเว่ยทำให้ผู้ใช้งานระดับองค์กรสามารถเข้าถึงระบบคลาวด์แบบ Multi-Cloud ได้ ซึ่งช่วยให้พวกเขาเคลื่อนย้ายข้อมูลสู่คลาวด์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงยังลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย “เมื่อเรามองไปถึงแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เราจะต้องมั่นใจว่านวัตกรรมจะไม่ใช่แค่เรื่องของวันนี้ แต่เป็นเรื่องของการหาหนทางให้กับวันหน้า ร่วมถึงการสร้างมูลค่าทางสังคมให้มากขึ้น” เคน หู กล่าว

หัวเว่ยได้คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2568 กว่า 97% ของบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหมดจะใช้งานเทคโนโลยี AI นอกจากนี้ยังได้ประมาณการว่า 55% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศจีนในปี พ.ศ. 2568 จะถูกขับเคลื่อนโดยเศรษฐกิจแบบดิจิทัล และรายได้กว่า 60% ของผู้ให้บริการระดับโลกจะมาจากลูกค้าระดับอุตสาหกรรม เคน หู ยังกล่าวถึงการทำให้การคาดการณ์เกิดขึ้นได้จริงด้วยว่า “ทุกอุตสาหกรรมควรจะเน้นด้านการพัฒนาศักยภาพ สร้างอิโคซิสเต็ม และสร้างมูลค่าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล”

ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน หัวเว่ยได้เน้นย้ำการพัฒนาเทคโนโลยี 5G อย่างจริงจังเพื่อช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในทุกอุตสาหกรรม นอกจากนี้ เคน หู ยังได้กล่าวเสริมอีกด้วยว่านวัตกรรมของหัวเว่ยนั้นจะเน้นย้ำใน 3 ด้าน ได้แก่ เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และแอปพลิเคชัน

· ด้านเทคโนโลยี: โซลูชัน 5G Super Uplink ใหม่ของหัวเว่ย สามารถส่งมอบความเร็วในการอัปโหลดแบบเหนือชั้น ทำให้สามารถแก้ปัญหาใหญ่อย่างคอขวดในการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในภาคอุตสาหกรรมได้

· ด้านผลิตภัณฑ์: ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีการประมวลผลแบบเอดจ์คอมพิวติ้ง (edge computing) ของหัวเว่ยที่ผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกับเทคโนโลยี 5G สามารถเร่งกระบวนการติดตั้งไซต์ของเทคโนโลยีการประมวลผลแบบเอดจ์คอมพิวติ้งได้เร็วขึ้นถึง 10 เท่า

· ด้านแอปพลิเคชัน: ศูนย์ปฎิบัติการ Wireless X Labs ของหัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ในหลากหลายแวดวงเพื่อริเริ่มนำเทคโนโลยี 5G ไปประยุกต์ใช้ในหลายภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการผลิต, การสาธารณสุข, การเงิน, และการคมนาคม และร่วมกันค้นคว้าว่า 5G จะสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรบ้าง

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ในการขับเคลื่อนนวัตกรรม 5G เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ให้ตอบสนองความต้องการเฉพาะในแต่ละภาคอุตสาหกรรม โดยมุ่งเป้าผลักดันเพื่อขยายการนำเอา 5G ไปใช้ในธุรกิจแบบ 1 to N นอกจากนี้ บริษัทยังดำเนินงานในด้านการประสานงานของการสื่อสาร 5G และการวางมาตรฐานทางอุตสาหกรรม เพื่อเร่งกระบวนการการนำแอปพลิเคชัน 5G ไปใช้ในภาคธุรกิจ

เคน หู กล่าวเสริมอีกว่า ในการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์และผู้ให้บริการเครือข่ายระดับภูมิภาค หัวเว่ยยังได้เซ็นสัญญามากกว่า 1,000 ฉบับในการนำเทคโนโลยี 5G ไปใช้ในกว่า 20 ภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย

นอกจากนี้ภายในงาน ได้เปิดตัว 5G Deterministic Networking Alliance (5GDNA) ร่วมกับสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของจีน (CAICT), ไชน่า โมบายล์, ไชน่า เทเลคอม และไชน่า ยูนิคอม ในกระบวนการสร้าง 5GDN ผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นด้วยเครือข่ายหลักที่สามารถควบคุมโทโปโลยีเครือข่ายทั้งหมด พร้อมวางแผน กำหนดเวลา และจัดการทรัพยากรเครือข่ายได้ทั่วโลก ผู้ประกอบการสามารถวางแผนและสร้างเครือข่ายหลักตามหลัก CORE หรือก็คือ คลาวด์เนทีฟ หนึ่งคอร์ ดำเนินงานแบบเรียลไทม์ และเอดจ์คอมพิวติ้ง 5GDN ทำงานบนแพลตฟอร์มคลาวด์เนทีฟ และรองรับการทำงานไมโครเซอร์วิสบน 2G/3G/4G/5G อย่างเต็มรูปแบบ ใช้ประโยชน์จาก MEC ประสิทธิภาพสูงต่าง ๆ รวมถึงการแบ่งส่วนอัจฉริยะหลายมิติ และกลไกเครือข่ายหลักอัตโนมัติ ให้ความสามารถเครือข่ายที่หลากหลายและประสบการณ์เครือข่ายที่กำหนดได้สำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ

การจากสอบถามข้อมูลของ adslthailand พบว่า China Moblie ได้ขยายบริการ 5G สำหรับธุรกิจในการให้บริการ 5G Edge Computing ไปยัง 200 นิคมอุตสหกรรม ครอบคลุม 22 เขตการปกครองระดับมณฑล เพื่อให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยผู้ประกอบการสามารถทำการโรมมิ่งสัญญาณระหว่างบริษัทกันเพื่อปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการโดยไม่ผ่านโครงข่าย 5G สาธารณะแต่เป็นการให้บริการในรูปแบบ Non - Public Network เพื่อให้บริการกับภาคธุรกิจโดยตรง

ภายในงาน China Moblie ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการขยายโครงข่าย 5G ทั่วประเทศแล้วมากกว่า 700000 สถานีฐานเชื่อมต่ออุปกรณ์มากกว่า 160 ล้านชิ้น สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 2.7 Gbps ซึ่งใช้สถานี โดย 5G แบบ Non - Public Network การันตี Latency ต่ำกว่า 9 ms ลดลงจากเดิม 55% จากที่เคยให้บริการอยู่ที่ 20 ms ทำความเร็วในสายการผลิตได้ 20 Mbps หากใช้เทคโนโลยี uRLLC หรือ Ultra-reliable and Low Latency Communications ความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็ว เสถียรและความหน่วงต่ำ ได้ค่าLatency ต่ำถึง 0.5 ms

ทั้งนี้ เพื่อรองรับเทคโนโลยี 801.1AS 802.1Qbv 802.1Qc 802.1AB และ 802.1 QCC