8 มี.ค. 2564 1,451 59

AIS 5G จับมือ depa ช่วยภูเก็ต ใช้คลื่น 900 MHz ทั่วอ่าวปอคลุม 5 กม. สร้าง Digital Yacht Quarantine กักตัว 14 วัน ด้วย NB-IoT

AIS 5G จับมือ depa ช่วยภูเก็ต ใช้คลื่น 900 MHz ทั่วอ่าวปอคลุม 5 กม. สร้าง Digital Yacht Quarantine กักตัว 14 วัน ด้วย NB-IoT


สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมด้วย AIS, PMH-ผู้ให้บริการ POMO กลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ และสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย รวมพลังสร้างชาติฟื้นฟูการท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต เปิดตัว “โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์-Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย ด้วยศักยภาพโครงข่าย AIS NB- IoT และนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ” (NB-IoT Wristband Tourist Tracking) เสริมขีดความสามารถด้านสาธารณสุขไทย สร้างความมั่นใจและแรงจูงใจแก่นักท่องเที่ยว กลับมากระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ภูเก็ตและภาคใต้อีกครั้ง

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า “วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (โควิด-19) ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย และสร้างความเสียหายเชิงเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว และพึ่งพาจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยในปี 2563 ภูเก็ตสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวสูงกว่า 320,000 ล้านบาท”

ล่าสุด ดีป้า พร้อมด้วยพันธมิตร อย่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส , บริษัทพีเอ็มเอชโฮลดิ้ง จำกัด (POMO) กลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ และสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย เล็งเห็นปัญหาในจุดนี้ จึงได้ร่วมมือจัดทำ “โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์ -Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย ด้วยแพลตฟอร์มนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ ผ่านเทคโนโลยี NB-IoT (NB-IoT Wristband Tourist Tracking) เครื่องมือมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Monitoring) ของนักท่องเที่ยวระหว่างกักตัว 14 วัน ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจและเสริมความปลอดภัยด้านสาธารณสุขแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังจังหวัดภูเก็ต ทำให้การกักตัวบนเรือยอชต์ของนักท่องเที่ยวและการทำงานของทีมแพทย์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร เอไอเอส กล่าวว่า “ในฐานะ Digital Life Service Provider ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งเป็นอันดับ 1 ด้วยเครือข่าย AIS 4G, 5G ที่มีคลื่นมากที่สุด ครบทั้งย่านความถี่ต่ำ,กลาง และสูง ครอบคลุมการใช้งานทุกรูปแบบ (คลื่น 700 MHz, คลื่น 2600 MHz และคลื่น 26 GHz) ตลอดจนเครือข่าย IoT ทั้ง NB–IoT และ eMTC ที่ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด เรามีความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและขีดความสามารถของทีมงาน มายกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมากับ “โครงการ AIS5G สู้ภัยโควิด” ที่ได้นำศักยภาพของโครงข่ายไปใช้ในพื้นที่กักตัวและโรงพยาบาลสนามหลักหลายแห่ง อาทิ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ,ศูนย์ห่วงใยคนสาคร, ฯลฯ ซึ่งล่าสุดกับ “โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์-Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย ด้วยศักยภาพโครงข่าย AIS NB- IoT และนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ” (NB-IoT Wristband Tourist Tracking)” ที่เป็นรูปแบบการกักตัวนักท่องเที่ยวบนเรือยอชต์กลางทะเลก่อนเดินทางขึ้นบก เราจึงเลือกใช้เครือข่าย Narrow Band IoT ที่รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT บนคลื่น 900 MHz ที่สามารถกระจายสัญญาณออกไปในทะเลได้มากกว่า 10 กม. พร้อมด้วยแพลตฟอร์ม Cloud มาเป็นเครือข่ายหลักเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ (NB-IoT Wristband Tracking) ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท พีเอ็มเอช โฮลดิ้ง หรือ POMO ผู้ให้บริการโซลูชั่น Tracking และ Monitoring ที่จะมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Monitoring) ของนักท่องเที่ยว ทั้งอุณหภูมิร่างกาย, อัตราการเต้นของหัวใจ, สัญญาณชีพจร รวมถึงพิกัดของนักท่องเที่ยว และส่งข้อมูลต่อมายังแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพของนักท่องเที่ยวได้แบบเรียลไทม์ ในระหว่างกักตัว 14 วันบนเรือก่อนเดินทางขึ้นบกเพื่อท่องเที่ยวต่อไป

สำหรับ โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์-Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย ด้วยศักยภาพโครงข่าย AIS NB- IoT และนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ (NB-IoT Wristband Tourist Tracking) มีขั้นตอนในการให้บริการคือ เมื่อมีนักท่องเที่ยวประสานเดินทางเข้ามาทางเรือ ทางสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย จะเป็นตัวแทนประสานงาน กับหน่วยงานทางการแพทย์เพื่อทำการตรวจโรคในครั้งแรก พร้อมให้นักท่องเที่ยวสวม สายรัดข้อมืออัจฉริยะ หรือ NB-IoT Wristband Tourist Tracking ที่จะส่งตัวเลขสุขภาพของนักท่องเที่ยวแต่ละท่านตลอด 14 วันของการกักตัวเข้ามาที่ Dash Board ณ ที่ทำการ ท่าเทียบเรืออ่าวปอ ซึ่งหลังจากที่กักตัวครบ 14 วัน จะมีการนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์อีกครั้งว่า นักท่องเที่ยวมีความเสี่ยงโควิด-19 มากน้อยเพียงใด เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนให้นักท่องเที่ยวเดินทางขึ้นฝั่งภูเก็ตต่อไป”

ฉัตรชัย ตั้งจิตตรง ประธานกรรมการ บริษัท พีเอ็มเอช โฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า " POMO เริ่มดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2557 โดยเป็นสตาร์ทอัพไทยด้าน IoT สำหรับเด็กและนวัตกรรมสร้างสรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่รายแรกที่สามารถนำสินค้าเข้าสู่ตลาดโลกได้สำเร็จ โดยความร่วมมือกับเอไอเอส และดีป้า ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสนับสนุนการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในโครงการ Digital Yacht Quarantine กักตัวนักท่องเที่ยว 14 วันบนเรือ ที่ท่าเทียบเรืออ่าวปอ จ.ภูเก็ต ครั้งนี้ เราได้ใช้ดีไวซ์ 2 รุ่นคือ Activ 10+ และ Smartwatch Active 30+ ที่เป็นทั้ง Tracker และ Health Device ให้นักท่องเที่ยวใส่ที่ข้อมือติดตัวตลอดเวลา เพื่อติดตามและเฝ้าระวังป้องกันการออกนอกพื้นที่ โดยระบบจะทำงานอย่างแม่นยำด้วยเซนเซอร์อัจฉริยะที่สามารถวัดชีพจร ค่าความดัน และวัดอุณภูมิร่างกายของนักท่องเที่ยว อีกทั้งยังสามารถแจ้งสัญญาณ SOS ได้ หากนักท่องเที่ยวเกิดเหตุต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งข้อมูลต่างๆ จะแสดงไปยัง Dashboard บนเว็บไซต์ แบบ Real time เพื่อให้ส่งต่อความช่วยเหลือ หรือ ให้คำแนะนำได้ได้ตลอดเวลา โดยรูปแบบของการให้บริการ Health Monitoring ผ่านนวัตกรรมสายรัดข้อมืออัจฉริยะนี้ เป็นรุ่นเดียวกันกับที่ใช้บนเกาะ Cayman สำหรับ Hotel bubble project ที่ได้ผลอย่างดีอีกด้วย”

ตัญญุตา สิงห์มณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย แปซิฟิค ซุปเปอร์ยอชท์ จำกัด ตัวแทนสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย (TYBA) กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อสมาชิกสมาคมฯอย่างหนัก เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากเรือยอชต์ต่างชาติ สูญเสียรายได้มากถึง 50- 60% เราจึงพยายามหาโซลูชั่นให้คนในธุรกิจเรือยอชต์ได้กลับมามีงานทำ จึงเป็นที่มาของโครงการกักตัวบนเรือยอชต์ ที่ได้ร่วมมือกับเอไอเอส, ดีป้า,PMH-ผู้ให้บริการ POMO กลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ ยกระดับ Digital Yacht Quarantine นี้ เชื่อว่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว และทุกภาคส่วนมีความสบายใจว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับเรือยอชต์นี้ผ่านการกักตัวที่ได้รับมาตรฐานจากระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการ Yacht Quarantine ในเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา มีสถิติการติดเชื้อโควิดเป็นศูนย์ และนักท่องเที่ยวรู้สึกมีความสุขกับการกักตัวบนเรือ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าภายในปี 2564 นี้.จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยด้วยเรือยอชต์ประมาณ 100 ลำ จำนวนนักท่องเที่ยว 300-500 คน”

ธนภัทร ทั่วไตรภพ กรรมการบริหาร บริษัท โฟล คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า “เราดำเนินธุรกิจ บริหารจัดการความปลอดภัยท่าเรือและนักท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยี ภายใต้แพลตฟอร์มชื่อว่า FLOWLOW เพื่อสร้างมาตรฐานและประสบการณ์ใหม่ที่ดีให้กับนักเดินทางในทุกด้าน อาทิ ข้อมูลการเดินทางท่องเที่ยวอันดามัน, คำแนะนำในกรณีฉุกเฉิน, ประกันการเดินทาง และระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) ในนาม Flowpay สำหรับโครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์ “Digital Yacht Quarantine” นั้น โฟล คอร์ปอเรชั่น ได้ร่วมกับบริษัท พัชทรีทัวร์ กรุ๊ป ผู้ได้รับสัมปทานในการบริหารจัดการท่าเทียบเรืออ่าวปอ จ.ภูเก็ต ดำเนินการตั้งแต่การให้บริการลงทะเบียน NB-IoT Wristband Tourist Tracking เพื่อให้นักท่องเที่ยวสวมใส่สำหรับกักตัวบนเรือยอชต์ 14 วัน พร้อมจัดทีมแพทย์ขึ้นไปตรวจเชื้อโควิดบนเรือ โดยจะมีการมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพตลอดเวลาและหลังจากที่กักตัวครบ 14 วัน ก็จะมีการนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์อีกครั้งว่า นักท่องเที่ยวมีความเสี่ยงโควิด-19 มากน้อยเพียงใด ก่อนอนุญาตให้เดินทางขึ้นฝั่งภูเก็ต เรียกได้ว่าการร่วมมือกันครั้งนี้ถือเป็นมิติใหม่ในการท่องเที่ยวในยุคนิวนอร์มัล ที่นอกจากจะยกระดับการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต และหมู่เกาะทะเลอันดามันให้มีความทันสมัยและอัจฉริยะมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวพลิกฟื้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย"

โครงการ Digital Yacht Quarantine ถือเป็นตัวอย่างการนำเทคโนโลยีดิจิทัลจากผู้ให้บริการโครงข่ายและ Startups ไทย เข้ามาเสริมขีดความสามารถด้านการสาธารณสุข การสร้างมาตรฐานใหม่ของการท่องเที่ยวแบบ New Normal ไปอีกขั้น พร้อมขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองอัจฉริยะเต็มรูปแบบ สอดรับกับนโยบาย “ภูเก็ตโมเดล (GEMMSS)” ทำให้จังหวัดเป็นต้นแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและการควบคุมโควิด-19 แห่งแรกในประเทศไทย ตามเป้าหมายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะภูเก็ตคือ “เมืองน่าอยู่เพื่อการท่องเที่ยวยังยืน” ช่วยกระตุ้นและจูงใจนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เดินทางมายังภูเก็ตมากขึ้น ก่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักและแข็งแกร่งอีกครั้ง” ผศ.ดร.ณัฐพล ย้ำในตอนท้าย

Adslthailand ได้สอบถามเพิ่มเติมด้วยว่า AIS 5G บนหาดภูเก็ตด้วยคลื่น 900 MHz สามารถยิงไกลมากกว่า 10 กิโลเมตร ถือเป็นโครงข่ายที่คนท้องถิ่นบอกว่าเป็นโครงข่ายที่ดีที่สุด โดย AIS ร่วมการให้บริการกับส่งเสริมการท่องเที่ยวภูเก็ตอย่างปลอดภัย ควบคุมโควิดได้ด้วย Yacht Quarantine (กักตัวบนเรือยอชต์) โดยให้ท่องเที่ยวได้สามารถกักตัว 14 วันบนเรือยอชต์ เพื่อส่งเสริมทางอ้อมให้ชาวภูเก็ตมีงานทำที่ผ่านมาสามารถต่อลมหายใจได้มา 2 เดือนกว่า ทำให้นักท่องเที่ยวมีความสุข
โครงข่ายของ AIS มีสัญญาณที่ครอบคลุมเพียงพอในการให้บริการอยู่ห่างจากอ่าวปอ ระยะ 10 กิโลเมตร หรือ 4 ไมล์ทะเล โดยใช้คลื่นย่าน 900 MHz โดยค่าบริการนี้อยู่ที่ Premier Package ที่นักท่องเที่ยวต้องจ่ายค่าบริการอยู่แล้ว

ส่วนอุปกรณ์หากพบนักท่องเที่ยวที่ติดโควิด 19 อุปกรณ์ iot ต่างๆ เหล่านี้ที่ติดตัวนักท่องเที่ยวคนนั้น จะนำไปบริหารจัดการอย่างไร ก็จะส่งไปให้คุณหมอทำความสะอาดแล้วพักการใช้งานจึงค่อยทำกลับมาใช้งานใหม่ โดยท่าเรืออื่นๆ หรือหาดที่มีความพร้อมก็สามารถให้บริการได้ทันทีผ่านระบบ AIS และพันธมิตร IoTดังกล่าว

COMMENTS