19 มี.ค. 2564 1,280 37

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ชี้ไทยเติบโตกว่าตลาดโลก เน้นสัดส่วน 80% ต้องเป็นเทคโนโลยี Green Solutions ทั้งสินค้าและบริการ

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ชี้ไทยเติบโตกว่าตลาดโลก เน้นสัดส่วน 80% ต้องเป็นเทคโนโลยี Green Solutions ทั้งสินค้าและบริการ

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ผู้นำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นด้านการจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชั่น โชว์ผลงานโดดเด่นก้าวข้ามปี 63 อย่างมั่นคง ด้วยดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ประเดิมด้วยปฐมบทพิสูจน์ความสำเร็จ เปิดปี 64 ด้วยการก้าวสู่เบอร์ 1 ของโลกในการเป็นองค์กรที่ยั่งยืนที่สุด สะท้อนจุดยืนที่มุ่งมั่น พร้อมดันแผนเชิงรุกช่วยองค์กรทั่วโลกก้าวสู่ความยั่งยืนด้วยแพลตฟอร์มและสถาปัตยกรรมระบบเปิด EcoStruxure มุ่งสู่การเป็นพาร์ทเนอร์ด้านดิจิทัลอย่างเต็มตัว หนุนคู่ค้าและลูกค้า เติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

แม้ปี 2563 เป็นปีที่ยากลำบากในการดำเนินธุรกิจรวมถึงการใช้ชีวิตของผู้คน เนื่องจากวิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ก็สามารถนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารก้าวไปสู่จุดยืนของการเป็นบริษัทด้านพลังงานและออโตเมชั่นระดับโลกได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยผลการดำเนินงานในระดับที่ยอดเยี่ยม นับเป็นการสวนกระแสตลาด โดยสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางธุรกิจของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่ตอบรับแนวโน้มโลกอนาคตได้อย่างชัดเจน ใน 3 ธีมหลัก คือ การสร้างความยั่งยืน สร้างประสิทธิภาพ และความยืดหยุ่นในการปรับตัว (Sustainability, Efficiency, Resilient) ให้กับธุรกิจ

สเตฟาน นูสส์ ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าวว่า “สำหรับ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราปรับมุมมองและรับมือกับวิกฤต โดยการเร่งการเข้าสู่โลกดิจิทัลได้เร็วขึ้นในทุกๆ กิจกรรม จะเห็นได้ว่า ‘ดิจิทัลอยู่ในทุกที่’ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมในระดับครอบครัวผ่านแอปพลิเคชัน หรือการทำงานจากที่บ้าน Work From Home และการปรับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ หรือแม้กระทั่งงานแถลงข่าวในวันนี้ เหล่านี้ล้วนเป็นการสนับสนุนแนวคิดที่ว่า ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโลกยุคใหม่ วิกฤตไม่ทำให้เราหยุดพัฒนา ในทางกลับกัน เราต้องเร่งพัฒนาเพื่อให้พร้อมก้าวสู่โลกแห่งอนาคตได้เร็วขึ้น”

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นับเป็นองค์กรที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ซึ่งธุรกิจของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 2 ด้านหลักๆ ได้แก่ การจัดการพลังงาน (Energy Management) และ ระบบออโตเมชั่น สำหรับอุตสาหกรรม (Industry Automation) ด้วยโซลูชั่นและสถาปัตยกรรมแบบเปิด EcoStruxure ที่รองรับการใช้งาน IoT ได้อย่างเต็มรูปแบบโดยให้บริการลูกค้าใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ อุตสาหกรรม และระบบโครงสร้างพื้นฐาน

สเตฟาน เผยต่อว่า “สำหรับชไนเดอร์ อิเล็คทริค ปี 2563 เรามีผลประกอบการทั่วโลกอยู่ที่ 25 พันล้านยูโร เป็นปีที่เราร่วมฟันฝ่าวิกฤตไปพร้อมลูกค้า และเป็นปีที่น่าจดจำที่สุด โดยเราได้ทำภารกิจและมีผลงานที่โดดเด่น ซึ่งสะท้อนถึงผลลัพธ์ในหลายส่วนด้วยกัน ทั้งในส่วนของผลการดำเนินงาน ที่นับว่าดีที่สุดในอุตสาหกรรมของเรา และทำให้เราได้รับการยอมรับอย่างมากจากกลุ่มนักลงทุนทั่วโลก เราได้เร่งดำเนินการตามลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของเรา ที่ช่วยสร้างความสำเร็จ ได้แก่ การเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบคลาวด์ เราได้รับความไว้วางใจจากบริษัทชั้นนำรายใหญ่ในหลากหลายธุรกิจ ที่ให้ความไว้วางใจใช้โซลูชั่นด้านดิจิทัลจากเราด้วยความเชื่อมั่น อาทิ อีสท์วอเตอร์ กรุ๊ป ในการก้าวสู่การเป็น Smart Water ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ในการวางกลยุทธ์ด้านดิจิทัล ยกระดับการให้บริการแก่ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม และ เด็กซ์ตร้า แมนนูแฟคเจอริ่ง บริษัท OEM ด้านการผลิตเครื่องจักรรายใหญ่ นอกจากนี้ธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เองก็มีการขยายเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า”

และที่นับเป็นความสำเร็จที่น่าจดจำ และเป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่มีต่อความยั่งยืนได้เป็นอย่างดี คือการที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเบอร์ 1 ของโลกในการเป็นบริษัทที่ยั่งยืนที่สุดประจำปี 2564 (2021 Global 100 Most Sustainable Corporations) จัดทำโดย Corporate Knights นับเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ จากอันดับที่ 29 ในปี 2563 สู่อันดับหนึ่งในเวลาเพียงหนึ่งปี นับเป็นบทพิสูจน์ ในเรื่องของความมุ่งมั่นที่มีมายาวนานในการรับมือกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG) ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ในช่วงปี 2563 ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังได้วางแผนเตรียมการสำหรับอนาคต โดยได้มีการซื้อบริษัทหลายแห่ง เพื่อมาช่วยต่อยอดศักยภาพด้านการจัดการพลังงานและโซลูชันซอฟต์แวร์ ที่ช่วยเติมเต็มรูปแบบการดำเนินงานในอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเรียกว่า “4x Integration” ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค อันประกอบไปด้วย

1) Energy and Automation การผสานรวมกันของระบบพลังงานและระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของ Digital Transformation

2) End Point to Cloud การเชื่อมต่อเต็มรูปแบบ โดยใช้โซลูชัน EcoStruxure ตั้งแต่ในพื้นที่โรงงาน หรือจุดที่ใช้งานไปยังคลาวด์

3) Design & Build to Operate & Maintain คือ ระบบการทำงานแบบครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการสร้าง การใช้งาน และการบำรุงรักษา

4) Site by Site to Integrated Company Management เป็นความสามารถในการบริหารจัดการผ่านศูนย์ปฏิบัติการแบบครบวงจร ซึ่งจะเชื่อมต่อไซต์งานทั้งหมดขององค์กร เข้ากับระบบการจัดการแบบบูรณาการได้จากจุดเดียว

นอกจากนี้ ในปี 2564 ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังได้เร่งดำเนินการบริการด้านความยั่งยืน เพื่อทำให้ลูกค้ามั่นใจในการเป็นที่ปรึกษาที่น่าเชื่อถือในด้านความยั่งยืน เพื่อให้ปรับตัวเข้าสู่รูปแบบดิจิทัลได้ ตลอดจนการวางกลยุทธ์และการดำเนินการ ซึ่งการบริการด้านความยั่งยืนดังกล่าว หมายถึง การซื้อพลังงานในนามของลูกค้า ชไนเดอร์ อิเล็คทริค การประหยัดพลังงาน และการลดการปล่อยคาร์บอน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กำลังสร้างความสามารถที่ไม่เหมือนใครให้กับลูกค้า ในการแปลงระบบวงจรทั้งหมดให้เป็นดิจิทัลในด้านการจัดการพลังงานสำหรับ อาคาร อุตสาหกรรมและระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ



สเตฟาน เผยถึงกลยุทธ์ในปีนี้ว่า “เรามีพันธกิจและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนมาก นั่นคือ การช่วยสนับสนุนให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงาน ใช้พลังงานและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับทุกคน ใน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On และเรากำลังเข้าสู่ปี 2564 นี้ ด้วยบรรยากาศของความแข็งแกร่ง เราจะใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งและความมุ่งมั่นในเชิงบวกของเรา มาผลักดันให้ธุรกิจเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยกลยุทธ์ที่เราเรียงลำดับความสำคัญได้แก่ ลำดับที่ 1 คือดิจิทัลในทุกๆ ที่ ลำดับที่ 2 คือ การเติบโตไปพร้อมๆ กับพันธมิตรของเรา ลำดับที่ 3 คือ กลยุทธ์ผลักดันส่งเสริม ดิจิทัลพาร์ทเนอร์ เพื่อความยั่งยืนและเสริมสร้างประสิทธิภาพให้กับลูกค้า ลำดับที่ 4 คือ การเร่งขยายการบริการของเรา ลำดับที่ 5 คือ การเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนต่อเนื่องไป”

ทั้งนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังมีพันธสัญญาใหม่ในระดับโลกอีก 6 ประการ ที่มุ่งมั่นสร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอนภายให้ได้ในสิ้นปี 2583 เพื่อสร้างความอย่างยั่งยืนให้กับโลกที่เราอยู่ ด้วยการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส

จุดยืนของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เบื้องหลังความสำเร็จในปี 2563 และวิสัยทัศน์ในอนาคต เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นในการก้าวต่อไปอย่างมุ่งมั่น นำการพัฒนาดิจิทัล ร่วมกันไปกับคู่ค้าและลูกค้า ด้วยนโยบายที่ยึดมั่น ยืนหยัดในการสร้างความยั่งยืนในแบบก้าวไปด้วยกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของทุกคน

จากการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของ adslthailand พบว่า ชไนเดอร์ อิเล็คทริค พร้อมเดินหน้าโดยมี สเตฟาน นูสส์ ที่เข้ามางานที่ประเทศไทยจากเดิมเป็นนักการตลาดในประเทศสิงค์โปรก้าวมาสู่ตำแหน่งผู้บริหารอย่างเต็มตัวโดยประเทศไทยมีแข็งแรงขึ้นโดยเฉพาะเรื่องดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) ในปีที่ผ่านมาแม้รายได้รวมของ Schneider Electric ติดลบ 46% แต่ประเทศไทยมีรายได้ดีกว่าในตลาด รายได้ยอดขาดที่ลดลง 4.7% ดีกว่ากลุ่มอุตสหกรรมเดี่ยวกันทั้งโลกที่ติด -10% นอกจากนี้ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังลงทุนทั้งการควบรวมบริษัท 7 บริษัทที่เกี่ยวข้อง Sustainability

ซึ่งผลประกอบการ Schneider Electric สามารถตรวจสอบในตลาดหุ้น ในยุโรปหุ้นเราโตขึ้น 29%

ไทย มี GDP - 6.1 แต่เราทำดีกว่าตลาด สำหรับปี 2564 ตั้งเป้า 3 - 4% เพราะตลาดประเทศไทยกำลังเติมโตอย่างรวดเร็ว กลยุทธเรามองไปที่ลูกค้า โดยช่วยเหลือการเปลี่ยนดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) ทั้งภาครัฐและเอกชนรายย่อย SME เพื่อทำให้เกิด Smart city

สัดส่วน SME ถือเป็น 90% ของตลาดต้องการเปลี่ยนดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation)ให้ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ประหยัดขึ้น

ประเทศไทยปัจจัยพื้นฐานทั้งการลงทุน EEC การลงทุน 5G และ iot รัฐบาลมีหนี้สาธารณะต่ำกว่า 60% และมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมากมาย ตำแหน่งของประเทศไทยถือว่าอยู่ส่วนกลางของภูมิภาค

ปี 2564 มีแผนการลงทุนในประเทศไทย 5% ของรายได้ เน้นการลงทุนและการพัฒนาค้นคว้าวิจัย R&D โดยผลกำไรเกิดจาก 70% เป็นเรื่องของ green solutions สินค้าและบริการที่ใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ จะต้องเพิ่มขึ้น 80% ของรายได้ ส่วน 20% ที่ลดลงคือ สินค้าที่เกี่ยวข้องคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การตรวจจับคาร์บอนไดออกไซด์ต่างๆ ส่วนนี้จะลดลง

ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดในประเทศพม่า เราเป็นห่วงพนักงาน 40 คนที่ทำงานอยู่ที่ประเทศพม่ามากกว่าเรื่องของการเมืองภายในประเทศ