22 เม.ย. 2564 878 17

AIS 5G สู้ภัย COVID-19 ระลอก 3 “ช่วยเหลือคนไทย” ดึงศักยภาพเทคโนโลยี 5G ประสานภาคสาธารณสุขไทย เดินหน้าฝ่าวิกฤต

 AIS 5G สู้ภัย COVID-19 ระลอก 3 “ช่วยเหลือคนไทย”  ดึงศักยภาพเทคโนโลยี 5G ประสานภาคสาธารณสุขไทย เดินหน้าฝ่าวิกฤต

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 มาจนถึงการระบาดระลอกใหม่ในช่วงเวลานี้ ภาคธุรกิจแขนงต่างๆ และประชาชนต่างได้รับผลกระทบอย่างมากต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้การทำงานของ AIS ในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและผู้ให้บริการดิจิทัล ไม่ได้มองเพียงแค่การเติบโตทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญกับการ “เชื่อมต่อ” ทุกสรรพกำลังทั้งภาคธุรกิจ พาร์ทเนอร์ และร่วมสนับสนุนภาคสาธารณสุขไทย ให้สามารถ “ช่วยเหลือ” กับวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ “เพื่อคนไทย” ผ่านการนำศักยภาพขององค์กรที่มีทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น เน็ตเวิร์ค นวัตกรรม บุคลากร ให้เดินหน้าเข้าสู่ทุกพื้นที่การช่วยเหลือและทุกสนามการแข่งขัน 


สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ที่ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องในระยะที่ 3  แน่นอนว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบไปยังทุกภาคส่วน ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศยังน่ากังวล ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะองค์กรใหญ่ที่พอมีกำลังจะต้องร่วมไม้ร่วมมือ ระดมสรรพกำลังสนับสนุนการรับมือวิกฤตการณ์ครั้งนี้ พร้อมๆกับสร้างความแข็งแกร่งให้องค์กรที่เล็กกว่า รวมถึงประชาชนให้สามารถรับมือและเดินหน้าต่อได้ ด้วยแนวคิด “เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อคนไทย”  


“ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของภาวะการระบาด AIS มีปณิธานแรงกล้าที่จะนำความแข็งแกร่งของการเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเข้ามาร่วมฟื้นฟูประเทศ เคียงข้างทุกภาคส่วน ผ่าน โครงการ AIS 5G สู้ภัย COVID-19 โดยเป็นภาคเอกชนกลุ่มแรกที่นำขุมพลังของ 5G เข้าสนับสนุนการทำงานของภาคสาธารณสุข ทั้งการขยายเครือข่าย 5G ,นวัตกรรมหุ่นยนต์ Robot for Care ที่สร้างวิถีใหม่ของ Social Distancing พร้อมเสริมศักยภาพ ช่วยแบ่งเบาภาระและช่วยลดความเสี่ยงของทีมแพทย์และพยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ หรือแม้แต่การนำร่องกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์ “Digital Yacht Quarantine” ด้วย NB-IoT และสายรัดข้อมืออัจฉริยะ พร้อมการอยู่เคียงข้างชาว  อสม. ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัดและสามารถช่วยให้ระบบสาธารณสุขของประเทศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นผ่านแอปพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์   

“จนกระทั่งภาวการณ์ระบาดช่วงแรกเริ่มลดลง AIS จึงเดินหน้าการร่วมฟื้นฟูประเทศ ด้วยการนำเทคโนโลยี 5G ที่มีคุณภาพดีที่สุดจากปริมาณคลื่นความถี่มากที่สุด พร้อมขีดความสามารถของบุคลากร เข้าไปทำงานนำร่องกับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะในเขต EEC เพื่อยกระดับ และเตรียมพร้อมการแข่งขันได้อย่างแข็งแกร่งในโลกยุค COVID  รวมถึงการส่งต่อ Digital Lifestyle ที่ช่วยให้คนไทยพร้อมรับชีวิตวิถีใหม่ในทุกแง่มุมผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลจาก AIS”    


“ผมมองว่า COVID-19 ระลอกแรก สอนให้เรารู้จัก เตรียมพร้อมกับทุกสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเตรียมพร้อมฝึกฝนขีดความสามารถใหม่ๆ, สร้างรูปแบบการทำงานในโลกปรกติใหม่ มีมุมมองแบบ Pro Active ส่งผลให้เราสามารถต่อสู้กับวิกฤตที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว  ทั้งในแง่การให้บริการลูกค้า และส่งมอบความช่วยเหลือ เคียงข้างคนไทย ดังกรณีวิกฤตCOVID-19 ระลอก 2 ปลายปี 63 ที่ AIS เป็นผู้ให้บริการสื่อสารรายแรกที่สามารถลงพื้นที่ติดตั้งเครือข่ายสื่อสารสนับสนุนการทำงานของโรงพยาบาลสนามแห่งแรก ณ จ.สมุทรสาครได้สำเร็จ รวมถึงความช่วยเหลือต่างๆ ที่สอนให้เราเข้าใจว่า เทคโนโลยีสื่อสารและดิจิทัลเซอร์วิส คือ หัวใจสำคัญต่อการทำงานของทีมแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วยที่กำลังรักษาตัวอยู่ ทำให้แม้วันนี้เราจะต้องเจอกับการระบาดครั้งใหญ่อีกครั้ง ชาว AIS ก็สามารถส่งต่อความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที เพราะผ่านกระบวนการทรานส์ฟอร์มทักษะ ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill รับมือกับโลกยุค COVID ได้อย่างเต็มที่”


 ดังนั้นท่ามกลางการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ของ COVID-19 “AIS 5G สู้ภัย COVID-19”  จึงพร้อมจัดทัพทั้งองคาพยพอีกครั้งในการสนับสนุนการทำงานของภาคสาธารณสุขที่เป็นศูนย์กลางบริหารจัดการ การรับมือกับ COVID-19 แบบเต็มสรรพกำลัง เพื่อฟื้นฟูประเทศ ผ่านการทำงานด้วยเทคโนโลยีสื่อสารและดิจิทัลเซอร์วิส ใน 4 มิติ ดังนี้


โรงพยาบาลสนาม ติดตั้งเครือข่าย AIS 5G ,4G, Free Wifi ในโรงพยาบาลสนามหลักกว่า 31 แห่ง มากกว่า 10,000 เตียง ทั่วประเทศ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น เชื่อมต่อระบบ CCTV เพื่อเฝ้าระวังผู้ป่วย, การส่งต่อข้อมูลการแพทย์ ตลอดจนให้ผู้ป่วยที่กักตัวสามารถสื่อสาร ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวให้คลายความกังวล มีกำลังใจในการฟื้นฟูสุขภาพ 



การแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine เทคโนโลยีที่ช่วยลดภาระการทำงานของแพทย์และพยาบาล ในการติดต่อสื่อสาร กับผู้ป่วย ที่ช่วยลดการสัมผัส และลดความแออัด โดยเบื้องต้นได้ร่วมกับแอพพลิเคชั่น “Me -More” ให้บริการในโรงพยาบาลสนามในเครือกรุงเทพมหานคร 



5G AI อัจฉริยะ เดินหน้าร่วมมือกับราชวิทยาลัย จุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลเครือข่าย คือ โรงพยาบาลน่าน โรงพยาบาลร้อยเอ็ด และ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ โดยการนำ AI CT Scan ปอด เข้ามาให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยจะช่วยวิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์เชิงปริมาณจากการตรวจวินิจฉัยทางเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ปอดของผู้ป่วย เพื่อวิเคราะห์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและโซลูชันปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) กับแพลตฟอร์มที่ได้รับการเทรนจากข้อมูลของผู้ป่วยจริงในประเทศจีน ซึ่งเป็นการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างแม่นยำ รวดเร็ว และ สามารถวิเคราะห์ผลได้ภายในเวลาเพียง 25 วินาทีต่อ 1 เคส ความแม่นยำสูงสุดในการวินิจฉัยสูงถึง 96% นับว่ามีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง โดยนวัตกรรมนี้จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับความปลอดภัย ลดปริมาณการตรวจสารคัดหลั่ง ลดจำนวนชุดตรวจ COVID-19 ช่วยลดการใช้ PPE และแบ่งเบาภาระให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และช่วยให้บุคลากรหลายๆ ท่านสามารถกระจายตัวไปดูแลเคสผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น ที่สำคัญ เป็นการสร้างความเท่าเทียมในการได้รับโอกาสทางสาธารณสุข ผ่าน 5G ได้อย่างชัดเจน 


อสม. AIS ยังคงเสริมขีดความสามารถของ อสม. อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมี อสม.มากกว่า 5 แสนรายที่ใช้งาน แอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ ช่วยในการรายงาน การคัดกรอง เฝ้าระวัง รวมถึงติดตามผลในกลุ่มเสี่ยง รวมถึงสำรวจสุขภาพจิตจากความเครียดที่มาจากผลกระทบของ COVID-19 โดยเฉพาะในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ที่มีการเดินทางของกลับบ้านของคนเมือง ยิ่งจะทำให้การทำงานของ อสม.ต้องยิ่งมีความเข้มข้นขึ้นมากกว่าเดิม 



สมชัย กล่าวในช่วงท้ายว่า “AIS ในฐานะองค์กรขนาดใหญ่ เรามีมาตรการรัดกุมขั้นสูงสุดในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้สามารถเดินหน้าต่อในการให้บริการลูกค้าและดูแลสังคมไปพร้อมๆ กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้วันนี้พนักงานส่วนใหญ่จะทำงานแบบ WFH แต่สำหรับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายและลูกค้า ก็พร้อมอย่างเต็มที่ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อลูกค้าและคนไทย โดยผมขอเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ประเทศ องค์กรใดที่มีกำลังก็สนับสนุนองค์กรเล็ก หรือ ผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้มีพลังที่จะเดินหน้าต่อ โดยเชื่อมั่นว่า บทเรียนจากสถานการณ์ COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา หากเรานำมาใช้เพื่อ ‘เตรียมพร้อม ต่อสู้ ปรับตัว’ ตามบริบทของแต่ละอุตสาหกรรม หรือ รูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละคน จะทำให้เราสามารถรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนแน่นอน”