สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เผยความคืบหน้าการใช้งานคลื่นความถี่ 6GHz ผ่าน Facebook Live เรื่อง "มุมมองของหน่วยงานกำกับดูแลต่อการอนุญาตใช้คลื่นความถี่ย่าน 6GHz" โดย เสน่ห์ สายวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ตามรายงานระบุว่า สำหรับการกำกับดูแลในการใช้คลื่นความถี่ 6 GHz จากผลการสำรวจที่เกิดขึ้นของ กสทช. เพื่อมาปรับใช้ในประเทศไทย
พบว่าแบ่งรายละเอียดการใช้งาน ดังต่อไปนี้
- คลื่นความถี่ที่ใช้เฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมจะมองที่ย่าน 5.925 - 7.125 GHZ โดยการใช้งานอยู่ในปัจจุบันโดยกิจการผ่านดาวเทียม
- คลื่นความถี่ที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียม ใช้ในย่านความถี่ 5.850-6.725 GHz ซึ่งเราก็จะแบ่งเป็น Standard C-Band ย่าน 5.850 - 6.425 GHz และ Extended C-Band (Uplink) บนย่าน 6.425 - ุ6.725 GHz
- อีกกิจการที่ใช้คลื่นความถี่นี้คือ Microwave Link ที่มีแผนความถี่ทั้งหมด 2 กลุ่ม คือ ย่านความถี่ 6.7 GHz อยู่ระหว่างย่านความ 6.430 - 7.125 GHz และย่านความถี่ 6.7 GHz อยู่ระหว่าง 7.1245 - 7.425 GHz โดยมีการซ้อนทับกับคลื่นดาวเทียม
- ส่วนย่านความถี่ 5.725 - 5.850 GHz ซึ่งเป็นการให้บริการ WiFi ย่าน 5 GHz มีการใช้งานย่านนี้ย่านคับคั่ง ส่วนย่าน 5.850 - 5.925 GHz กสทช.ตั้งใจที่จะ Intelligent Transport System เป็นระบบการจราจรอัจฉริยะ
- ส่วนย่าน 7.425 เป็นต้นไปจะให้บริการ Fixed Systems
ซึ่งมีความสำคัญเนื่องจากเป็นแบรนด์ที่มีความถี่จำนวนมากในระดับหนึ่ง มีจำนวน 1200 MHz และเป็นช่วงความถี่ที่ติดกัน ทางอุตสาหกรรมจึงให้ความสำคัญในจุดนี้
โดยเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาในย่านความถี่นี้ที่เด่นๆคือ 2 เทคโนโลยี
- ย่าน Wi-Fi 6E (IEEE 802.11ax ใช้ความถี่ย่าน 5.925 - 7.125 GHz)
- IMT 3GPP Release 16 Designate band n95 (ใช้ความถี่ย่าน 5.925 - 7.125 GHz)
ความแตกต่างของ 2 ระบบนี้คือ IMT 3GPP Release 16 ต้องมีใบอนุญาต ส่วนย่าน Wi-Fi 6E ย่านความถี่วิทยุที่ไม่มีใบอนุญาต
กสทช.เองได้ไปสำรวจหรือมีนโยบายการใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าวในต่างประเทศ บนย่านความถี่ 6 GHz ซึ่งพบว่า
- Unlicensed บนย่านความถี่ 5.925 - 7.025 GHz มักใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนดา บราซิล เกาหลีใต้
- Unlicensed บนย่านความถี่ 5.925 - 6.425 GHz มักใช้ในประเทศในกลุ่มทวีปยุโรป กลุ่มประเทศสหราชอาณาจักร และ under consideration 6.425 - 7.025 GHz มักใช้ในประเทศในกลุ่มทวีปยุโรป กลุ่มประเทศแอฟริกา กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States: CIS) รวมกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง
- IMT for 5.925 - 7.025 GHz ทางประเทศจีนกำหนดให้ทั้งย่านสำหรับ 5G และ 6G ทั้งหมด licensed หรือต้องมีการประมูลเพื่อใช้งาน
ส่วนประเทศอื่นๆ กำลังตัดสินใจในการพิจารณาใช้ดังกล่าว
สำหรับการใช้งานที่คนไทยเฝ้ารอคอย คือการใช้งานคลื่นความถี่ Wi-Fi 6E ( Unlicensed ) ผ่านการใช้งานย่าน 6 GHz มีประเทศสหรัฐอเมริกาและ กลุ่มประเทศสหราชอาณาจักร ใช้ความถี่ 5.925 - 6.425 GHz
ถัดมาทางประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเกาหลีใต้ใช้ย่านความถี่ 6 GHz ( 5.925 - 7.025 GHz ) ให้บริการ Wi-Fi 6E ( Unlicensed )
ด้านนโยบายในแต่ละประเทศที่เริ่มมีการเปิดให้ใช้งานคลื่นความถี่ 6GHz ดังต่อไปนี้
มกราคม 2020 ประเทศอังกฤษ Ofcom
เมษายน 2020 ประเทศสหรัฐอเมริกา FCC
มิถุนายน 2020 ประเทศอังกฤษ ( ตัดสินใจ ) Ofcom
ตุลาคม 2020 ประเทศเกาหลีใต้ ( ตัดสินใจ )
พฤศจิกายน 2020 CEPT ECC ( ตัดสินใจ )
พฤษภาคม 2021 สหภาพยุโรป ( ตัดสินใจ )
ช่วงปี 2021 กลุ่มประเทศอียูและสหราชอาจักร และประเทศญี่ปุ่นเริ่มเปิดให้ใช้บริการ WiFi 6 ( เปิดให้ใช้ )
สำหรับประเทศไทยโดย กสทช.ต้องพิจราณาหลายมิติ คือ
1. Equitable access กสทช. ต้องการให้ประชาชนเกิดความหลากหลายบริการในการใช้คลื่นความถี่ย่าน 5.925 GHz - 7.125 GHz โดยไม่มีใครยึดคลื่นความถี่ไว้ครอบครองแต่เพียงฝ่ายเดียว
2. Compatibility with existing usages กสทช. ต้องการให้อุตสาหกรรมเดิมที่ใช้ความถี่ดังกล่าวทั้งบริการ C Band FSS and Fixed Systems ซึ่งเป็นกิจการการสื่อสารผ่านดาวเทียมและกิจการการสื่อสารแบบประจำที่ ต้องสามารถพิจราณาให้สามารถใช้งานได้หลายกิจการ
3. Efficiency & Innovations กสทช. ต้องการให้การใช้คลื่นความถี่มีประสิทธิภาพและรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆบนความถี่ 6 GHz รองรับ
ทั้งนี้ทางกสทช.ยังไม่ได้ตัดสินว่าจะใช้รู้แบบทิศทางใด ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีรอผลประชุม WRC-23 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปลายปี 2023 เพื่อพิจารณาคลื่นความถี่ 3600-3800 MHz และ 6425-7025 MHz และ 7025-7125 MHz และ 10.5-10.5 GHz
ทาง กสทช. ขอเชิญเข้าร่วม Focus Group เรื่องแนวทางการใช้คลื่นความถี่ย่าน 6GHz เพื่อแสดงความคิดเห็นการ ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.30-16.30 น. ในรูปแบบ Online เพื่อ กสทช.ได้ทราบความคิดเห็นทั้งทั้งผู้ใช้งานและผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมให้สามารถใช้เทคโนโลยีทั้งเก่าและใหม่ร่วมกัน จำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไงการใช้งานคลื่นความถี่มากน้องแค่ไหน ซึ่งจะนำไปประกอบผลการประชุม WRC-23 เพื่อกำหนดนโยบายการใช้งานคลื่นความถี่ 6 GHz ภายในปีนี้อย่างแน่นอน