บริษัท เอ็นทีที จำกัด (NTT Ltd.) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก เปิดตัวรายงาน Global Threat Intelligence Report (GTIR) ปี 2021 เผยแฮกเกอร์ใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ไร้เสียรภาพทั่วโลกในการโจมตีระบบ โดยมุ่งเป้าหมายไปที่อุตสาหกรรมสำคัญและช่องโหว่ที่เกิดขึ้นจากการทำงานระยะไกล
รายงานพบว่า อุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพ (Healthcare) การผลิต (Manufacturing) และการเงิน (Financial) มีการโจมตีเพิ่มสูงขึ้น (200 %, 300 % และ 53%ตามลำดับ) โดยภาคอุตสาหกรรมทั้งสามรวมกันมีสัดส่วนถึง 62 %ของการโจมตีทั้งหมดในปี 2021 เพิ่มขึ้น 11 % จากปี 2020
ในขณะที่องค์กรต่างๆ มุ่งนำเสนอรูปแบบการทำงานระยะไกลในรูปแบบเสมือนจริงผ่านการใช้งานพอร์ทัลแอปพลิเคชันเฉพาะทางและเว็บแอปพลิเคชัน โดยมีการโจมตีถึง 67 % ของการโจมตีทั้งหมด เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีธุรกิจการดูแลสุขภาพที่ปรับเปลี่ยนมาสู่รูปแบบการดูแลระยะไกลผ่านระบบเครือข่าย ทำให้การโจมตีมีความรุนแรงขึ้น โดย 97 %ของการโจมตีในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ โดยเป็นการโจมตีผ่านเว็บแอปพลิเคชันหรือแอปพลิเคชันเฉพาะทาง
รายงาน GTIR ยังให้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของเอ็นทีที โดยใช้เกณฑ์คะแนนของโปรแกรมรักษาความปลอดภัยที่ใช้ในอุตสาหกรรมเป็นตัวพิจารณา โดยคะแนนที่สูงแสดงให้เห็นถึงถึงแผนการดำเนินการที่มีความเสถียรมากกว่า พบว่าอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพและการผลิตมีคะแนนค่อนข้างต่ำเพียง 1.02 และ 1.21 ตามลำดับ ลดลดลงจากฐานคะแนนเดิมที่ 1.12 และ 1.32 ในปี 2019 ในขณะที่อัตราการโจมตีกลับเพิ่มขึ้นมาก
อุตสาหกรรมการผลิตมีคะแนนลดลงตลอดระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการทำงานและการเกิดขึ้นของรูปแบบการโจมตีใหม่ๆ ในขณะที่อุตสาหกรรมการเงินยังคงรักษาระดับคะแนนเกณฑ์มาตรฐานสูงสุดเป็นปีที่สามติดต่อกัน โดยมีคะแนนอยู่ที่ 1.84 ลดลงจากปีที่ผ่านมา 0.02 คะแนน
Kazu Yozawa ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แผนกความปลอดภัยของเอ็นทีที กล่าวว่า “ในปีที่ผ่านมา เราคาดการณ์ว่าจะมีการโจมตีเป้าหมายแบบฉวยโอกาสเพิ่มมากขึ้น และเราก็พบว่านั่นคือความจริง ในขณะที่อุตสาหกรรมต่างๆ พยายามรักษาระดับการให้บริการตลอดช่วงเวลาแห่งการพลิกผัน แต่มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยที่ลดลงก็เป็นสัญญาณเตือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่บริษัทต่างๆ ต้องการระบบรักษาความปลอดภัยอย่างมาก บริการมากมายเริ่มปรับเข้าสู่รูปแบบดิจิทัลและออนไลน์เพื่อรองรับชีวิตวิถีใหม่ หลายองค์กรจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการรักษาความปลอดภัยและคงไว้ซึ่งแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อให้องค์กรรอดพ้นจากการโจมตี”
พลิกโฉมมัลแวร์: การโจมตีรูปแบบใหม่จาก Crypto Malware พุ่งสูงขึ้น ส่วน Trojans กลายเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป
ขณะที่มัลแวร์กลายเป็นเรื่องปกติสามัญทั้งในแง่คุณสมบัติและฟังก์ชันการทำงาน ตลอดปีที่ผ่านมา มัลแวร์ก็มีการพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้นด้วยการเป็นมัลแวร์ที่สามารถทำงานได้หลากหลาย (Multi-finction Malware) การเกิดขึ้นของนักขุดสกุลเงินดิจิทัล (Cryptominers) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทดแทนการโจมตีจาก Spyware ที่เป็นมัลแวร์ที่พบบ่อยที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม การใช้มัลแวร์โจมตีในกลุ่มอุตสาหกรรมเฉพาะยังคงมีการพัฒนาต่อไป
เวิร์ม (Worms) เป็นการโจมตีที่พบบ่อยที่สุดในภาคอุตสาหกรรมการเงินและการผลิต ขณะที่อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพได้รับผลกระทบจาก Trojans ที่มีการเข้าถึงจากระยะไกล (Remote Acess Trojans) อุตสาหกรรมเทคโนโลยีตกเป็นเป้าหมายของ Ransomware ภาคการศึกษาถูกโจมตีโดย Cryptominers จากกระแสนิยมในการขุดสกุลเงินดิจิทัลในกลุ่มนักเรียนที่ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่มีการรักษาความปลอดภัย
ตลาดสกุลเงินดิจิทัลเป็นตัวอย่างสำคัญในการโจมตียุคใหม่ โดยประมาณการณ์กันว่า Cryptominers มีถึง 41 % ของมัลแวร์ที่ตรวจพบทั้งหมดในปี 2020 และ XMRig coinminer เป็นมัลแวร์ที่พบมากที่สุดถึง 82 % ของกิจกรรม coinminer ทั้งหมดและประมาณ 99 % พบในในทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA)
“เมื่อด้านหนึ่งเรามีผู้คุกคามที่ใช้ประโยชน์จากการเกิดภัยพิบัติทั่วโลก และอีกด้านหนึ่งเรามีอาชญากรไซเบอร์ที่กำลังใช้ประโยชน์จากการเติบโตของตลาดที่ไม่เคยมีมาก่อน ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งสองจึงเป็นเรื่องที่ยากต่อการคาดเดาและมีความเสี่ยงสูง” Mark Thomas หัวหน้าศูนย์ Global Threat Intelligence Center ของเอ็นทีที กล่าว
Thomas แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อว่า การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานหรือการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้กำลังเปิดโอกาสให้ผู้ประสงค์ร้ายสามารถเข้ามาโจมตีระบบ และด้วยการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของตลาดสกุลเงินดิจิทัลที่เป็นกระแสนิยมในกลุ่มคนที่ยังขาดประสบการณ์ ทำให้การโจมตีรูปแบบใหม่จึงเกิดขึ้นได้ “ขณะนี้ เรากำลังเข้าสู่ช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งองค์กรและผู้ใช้งานส่วนบุคคลจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในทุกๆ อุตสาหกรรม และรวมถึงในกลุ่มห่วงโซ่อุปทานด้วย” Thomas กล่าวทิ้งทาย
บทสรุปประเด็นสำคัญจากรายงาน GTIR ปี 2021 เพิ่มเติม:
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางที่รายงานฉบับนี้นำเสนอกรอบการทำงานให้กับองค์กร เพื่อจัดการภาพรวมภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดได้ที่ NTT Ltd. 2021 GTIR.
รายละเอียดเพิ่มเติม (แบ่งตามภูมิภาค)
อเมริกา
ทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA)
เอเชียแปซิฟิค + ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
เกี่ยวกับเอ็นทีที
บริษัท เอ็นทีที จำกัด (NTT Ltd.) เป็นบริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก บริษัทร่วมมือกับองค์กรชั้นนำต่างๆ ทั่วโลกเพื่อพัฒนาและส่งมอบความสำเร็จให้กับลูกค้าผ่านโซลูชั่นเทคโนโลยีอัจฉริยะ สำหรับเอ็นทีที อัจฉริยะหมายถึงการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล การเชื่อมโยงถึงกัน ระบบดิจิทัล และความปลอดภัย ด้วยความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีและบุคลากรที่มีความสามารถด้าน ICT ที่มีกระจายอยู่ทั่วโลก ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอบริการทางเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ ระบบเครือข่ายคลาวด์ ไฮบริดคลาวด์ บริการศูนย์ข้อมูล (Data Center) การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล (Digital Transformation) การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า ระบบการทำงาน และระบบรักษาความปลอดภัย (Cybersecurity) ได้อย่างโดดเด่น
ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับโลก บริษัทมีพนักงานมากกว่า 40,000 คนครอบคลุม 57 ประเทศในภูมิภาคต่างๆ มีการทำธุรกิจใน 73 ประเทศ และให้บริการแก่ลูกค้าในกว่า 200 ประเทศ ภายใต้เป้าหมายที่ว่า เมื่อร่วมมือกัน เราจะสร้างสรรค์อนาคตที่ทุกอย่างเชื่อมโยงถึงกัน
ข้อมูลเพิ่มเติม เยี่ยมชมได้ที่ hello.global.ntt
วิธีการเก็บข้อมูลรายงานรายงานข้อมูลภัยคุกคามทั่วโลก (GTIR)
รายงาน Global Threat Intelligence Report ปี 2021 ได้รวบรวมข้อมูลการโจมตีทั่วโลกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2020 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2021 โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการบันทึก เหตุการณ์ต่างๆ การโจมตีที่เกิดขึ้น และข้อมูลช่องโหว่จากกลุ่มลูกค้า และเครือข่าย Honeypot ทั่วโลกของเอ็นทีที รายงานประกอบด้วยข้อมูลจากองค์กรปฏิบัติการต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน ข้อมูลจากคณะที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของเอ็นทีที และ WhiteHat Security รวมถึงงานวิจัยชั้นนำจากทั่วโลก