27 พ.ค. 2564 1,264 32

dtac เผยแผนใหญ่หลังหมดโควิด-19 เพิ่มโครงข่าย 5G มากที่สุด พร้อมลดชุมสาย 6 แห่ง เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50%

dtac เผยแผนใหญ่หลังหมดโควิด-19 เพิ่มโครงข่าย 5G มากที่สุด พร้อมลดชุมสาย 6 แห่ง เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50%


ดีแทคเผย 3 แนวโน้มสำคัญของโลกที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญในเศรษฐกิจยุคหลังโควิด-19 กางแผนฝ่าความท้าทาย 3 ความปกติใหม่ทางธุรกิจ พร้อมประกาศจุดยืนภายใต้แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Business) และตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50% ใน 10 ปี

ใน 3 ความท้าทายสำคัญของโลกยุคหลังโควิด-19 ได้แก่ ขนาดของธุรกิจ ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล และผลกระทบของห่วงโซ่อุปทานจากภาวะโลกร้อน พร้อมประกาศวิสัยทัศน์ชูแนวคิด ‘การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ’ เพื่อฝ่า 3 ความปกติใหม่ทางธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวท่ามกลางความไม่แน่นอน

ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวในงาน dtac Responsible Business Virtual Forum 2021 ว่า “การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ได้ทำให้เห็นความสามารถของมนุษย์ในการปรับตัวและยืนหยัด (human resilience) ดังเห็นได้จากอัตราการใช้งานช่องทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่วิกฤตดังกล่าวก็นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่สำหรับภาคธุรกิจไทยที่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ให้สอดคล้องกับเมกะเทรนด์ พร้อมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย”

ความท้าทายที่เกิดขึ้นได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในภาคธุรกิจ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แนวโน้มสำคัญ คือ

1. โครงสร้างธุรกิจเปลี่ยนสู่ Economy of Scale

วิกฤตโควิด-19 ได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของภาคธุรกิจ โดย ‘การประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale)’ มีบทบาทมากขึ้นในโลกธุรกิจ ดังจะเห็นได้จากการควบรวมกิจการต่างๆ ในระดับภูมิภาค เช่น ความสนใจในธุรกิจโทรคมนาคมของบริษัทพลังงาน การควบรวมธุรกิจระหว่าง Digi และ Celcom ในมาเลเซีย ขณะที่ Grab สตาร์ทอัพยูนิคอร์นสัญชาติมาเลเซียนั้นมีแผนการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะครั้ง (IPO) ที่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก

2. ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่กว้างขึ้น (Digital Divide)

วิกฤตโควิด-19 ได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม โดยทั้งภาครัฐและธุรกิจต่างส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีในการกระตุ้นการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์การดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนชายขอบและกลุ่มเปราะบางที่เข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต หรือขาดความรู้ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ

3. ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน (Climate change) ต่อห่วงโซ่อุปทานโลก

นอกเหนือจากวิกฤตโควิด-19 ประเทศไทยยังเผชิญกับภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันได้ส่งผลกระทบตามแนวชายฝั่งและระบบนิเวศทางการเกษตรที่เปราะบาง และในอนาคตอันใกล้นี้ การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศอาจส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังเช่นในวิกฤตมหาอุทกภัยในปี 2554 ซึ่งส่งผลให้เกิดการขาดแคลนฮาร์ดไดรฟ์ไปทั่วโลก


กางแผนฝ่าความท้าทาย 3 ความปกติใหม่

ชารัด อธิบายเพิ่มเติมว่า ดีแทคได้กำหนดหลักการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible business) อันจะเป็นหัวใจสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการยืนหยัดท่ามกลางความไม่แน่นอน และสร้างความไว้วางใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ โดยประกอบด้วย 7 เสาหลัก ได้แก่ 1. การสร้างบรรทัดฐานใหม่ด้วยหลักธรรมาภิบาล 2. การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล 3. การสร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน 4. การสร้างสังคมดิจิทัลสำหรับทุกคน 5. การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ 6. สิทธิมนุษยชน และ 7. การสร้างสุขภาวะในที่ทำงาน

ขณะเดียวกัน ดีแทคยังเล็งเห็นถึงแนวโน้มความปกติใหม่ (new normal) 3 ด้าน และได้มีการกำหนดกลยุทธ์ในการรับมือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดในภาคธุรกิจ ดังนี้


การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ข้อมูลของ GSMA ระบุว่า อุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้นใช้พลังงานไฟฟ้าคิดเป็น 4% ของโลก และกลายมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย โดยประเทศไทยนั้นมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเสาสัญญาณเพื่อเร่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 7% ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยของโลกซึ่งอยู่ที่ 4.2% อันเป็นผลมาจากการหันมาใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในอัตราเร่ง และการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้อัตราการใช้พลังงานสูงขึ้นไปอีก

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอก 3 นี้ ลูกค้าดีแทคมีอัตราการใช้ดาต้าเฉลี่ยพุ่งสูงถึง 20 GB ต่อคนต่อเดือน ซึ่งตัวเลขการเพิ่มขึ้นดังกล่าวส่งผลต่อการใช้พลังงานในการให้บริการโครงข่ายที่ปัจจุบันมีสัดส่วนสูงถึง 97% ของกระบวนการการดำเนินธุรกิจทั้งหมดของดีแทค

ด้วยเหตุนี้ ดีแทคจึงได้กำหนดเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ 50% ภายในปี 2573 ผ่านการใช้พลังงานทางเลือก เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในส่วนงานบริหารโครงข่ายและ call center และแสวงหาความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมในการนำเทคโนโลยี 4G / 5G ร่วมกับโซลูชัน IoT เพื่อสร้างระบบการจัดการพลังงานน้ำและไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อช่วยอุตสาหกรรมอื่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย นอกจากนี้ ภายใต้แผนงานการจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ดีแทคเดินหน้าจะลดปริมาณการทิ้งขยะทั่วไปจากสำนักงานและขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบฝังกลบเป็นศูนย์หรือ zero landfill ภายในปี 2565 โดย 80% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของดีแทคนั้นคือซากอุปกรณ์โครงข่าย

ประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทคโนโลยี ดีแทค กล่าวว่า “เป้าหมายดังกล่าวถือเป็นการสร้างมาตรวัดที่เป็นรูปธรรม ท่ามกลางความท้าทายด้านการเข้าถึงแหล่งพลังงานทางเลือกที่มีจำกัด เนื่องด้วยความต้องการใช้พลังงานของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีความแตกต่างเฉพาะ”

ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน

ภายใต้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม บริการโทรคมนาคมได้กลายเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดีแทคนั้นมีการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชนอย่างยืดหยุ่น ผ่านการดำเนินงานในด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัยในทุกสถานการณ์

ทิพยรัตน์ แก้วศรีงาม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานขาย ดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคมุ่งเน้นการดำเนินงานใน 3 มิติ ได้แก่ 1. การให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยดีแทคได้ปรับเปลี่ยนวิถีการทำงาน และปัจจุบันพนักงานดีแทคกว่า 95% นั้นสลับระหว่างการทำงานที่บ้านและในสำนักงาน 2. การปรับแผนกระจายสินค้าและจุดบริการตามการโยกย้ายพื้นที่ของผู้ใช้งาน และเพิ่มจุดกระจายสินค้าอย่างรวดเร็ว และ 3. เร่งลูกค้าและคู่ค้าทั้งซัพพลายเชนเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ผ่านการกระตุ้นการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการทำธุรกรรมให้มากที่สุด”

นอกจากนี้ ดีแทคยังให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน โดยมีการกำหนดมาตรฐานเข้มงวดในการทำงานกับคู่ค้า ซึ่งครอบคลุมมิติด้านสิทธิแรงงานและข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อลดความเสี่ยงและเสริมแกร่งความสามารถในการปรับตัว โดยประกาศภารกิจพิชิต 0 คือ จะไม่มีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากการทำงานในซัพพลายเชนของดีแทค ไม่มีการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ เป็นต้น

ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

ด้วยการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคโควิด-19 ผู้บริโภคเริ่มหันมาแสดงความกังวลต่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และประเด็นดังกล่าวกลายมาเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้บริการของผู้บริโภค จากผลสำรวจของ Cisco พบว่าผู้คนกว่า 48% รู้สึกว่าตนเองไม่สามารถปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลได้ดีพอ โดยสาเหตุหลักเป็นเพราะไม่รู้ว่าองค์กรต่างๆ นั้นนำข้อมูลไปใช้ในลักษณะใดบ้าง ซึ่งดีแทคในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทย ได้มีการกำหนดนโยบายการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นเพื่อควบคุมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กร สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation - GDPR) และพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย (Personal Data Protection Act - PDPA)

มาร์คุส แอดอัคทูสเซ่น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กร ดีแทค กล่าวว่า “ธุรกิจจำนวนมากต่างต้องพึ่งพาข้อมูลมากขึ้นในการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ซึ่งรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลด้วยในบางกรณี ในยามที่แนวทางการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นยังไม่มีความชัดเจน เราจึงยินดีที่ได้เห็นการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่ส่งเสริมสิทธิความเป็นส่วนตัวในประเทศไทย อย่างไรก็ดี ภาครัฐต้องอาศัยการทำงานแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความชัดเจนทั้งในแง่ของความหมายในบทบัญญัติที่สำคัญ และความสอดคล้องระหว่างกฎหมายอย่าง PDPA กับกฎเกณฑ์เฉพาะในแต่ละหมวดธุรกิจ ซึ่งการกำหนดมาตรฐานและความคาดหวังอย่างเป็นรูปธรรมจะช่วยสร้างความเข้าใจอันดียิ่งขึ้นให้กับผู้บริโภค ว่าข้อมูลของพวกเขาถูกใช้งานอย่างไรบ้าง”

จากการสอบถามของมูลเพิ่มเติมของ adslthailand “ชารัด เมห์โรทรา” ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ dtac กล่าวว่า ปัจจุบัน dtac พร้อมให้บริการช่วยเหลือบริการทางโทรคมนาคมผ่านทาง โรงพยาบาลสนาม ซึ่งผู้ใช้งานโดยปกติ 95% ส่วนใหญ่ทำงานที่บ้านด้วยคุณภาพอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จะได้เห็นธุรกิจโทรคมนาคม มีมูลค่าสูงมากกว่า 9 ล้านเหรียญสหรัฐ ทาง dtac จึงได้แบ่งเป็น 3 เมกะเทรนด์หลักๆ คือ

เมกะเทรนด์ที่ 1 คือความสำคัญของ “ขนาดและประสิทธิภาพ” เห็นได้จากดีลการควบรวมธุรกิจขนาดใหญ่ในภูมิภาค เช่น ความสนใจในธุรกิจโทรคมนาคมของบริษัทพลังงาน การควบรวมธุรกิจระหว่าง Digi และ Celcom ในมาเลเซีย ขณะที่ สตาร์ทอัพยูนิคอร์นสัญชาติสิงคโปร์ Grab มีแผนออก IPO เป็นครั้งแรก

การถือหุ้น Telenor ของ dtac ทำให้เราได้รับประโยชน์จากความรู้ความเชี่ยวชาญโทรคมนาคมในระดับโลก ทั้งการพัฒนา 5G การใช้ระบบ AI และการพัฒนา IoT ซึ่งทาง Telenor มีจำนวนเลขหมายมากกว่า 170 ล้านหมายเลย

เมกะเทรนด์ที่ 2 คือ ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น แม้โควิด-19 จะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลอย่างรวดเร็วในภาครัฐและเอกชน แต่ในกลุ่มคนชายขอบและกลุ่มเปราะบางยังคงต้องได้รับการแก้ไข และนี่คือสิ่งที่ dtac มองว่าเป็น “ความรับผิดชอบร่วม” เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการดิจิทัลได้ง่ายและปลอดภัย ปิดช่องหว่างทางธุรกิจที่มีความเหลือมล่ำ โดยการขยายสัญญาณ 5G ไปยังพื้นที่ชนบทเชื่อมบริการระบบรายเดือนให้เข้าถึงง่าย รวมถึงการให้บริการผ่านคลื่น 700 MHz รวมถึงบริการเน็ตทำกินและ SME ให้บริการของที่ยึดหยุ่นเพิ่มมากขึ้น โครงการ Safe Internet

เมกะเทรนด์ที่ 3 เรื่องการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าหมายถึง 50% ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก “ครึ่งหนึ่ง” ภายในปี 2030 ดีแทคกำหนดกรอบการทำงานด้านความยั่งยืนได้ทั้งสิ้น 7 ด้าน ได้แก่ ธรรมาภิบาล ความเป็นส่วนตัว ซัพพลายเชน เสริมสร้างทักษะดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ สิทธิมนุษยชน และอาชีวอนามัยในการทำงาน

วัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวว่า ตามแผน NAMA 20-25% ต้องลดก๊าชเรือนกระจก โดยผู้ใช้พลังงานที่มากที่สุดคือภาคการขนส่ง ซึ่งเราต้องใช้ความรู้และเทคโนโลยีมาช่วยลดก๊าชเรือนกระจก โดยหลายประเทศก็เร่งดำเนินการ ทางกระทรวงพลังงานได้ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นจากการใช้พลังงานสะอาด การใช้งานรถ EV เพื่อให้เกิดการหมุ่นเวียนพลังงานสะอาด รวมถึงการลดการใช้พลังสะอาด ต้องทำให้ได้ภายในปี 2550-2570

ประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวต่อด้วยว่าจากที่ dtac เร่งสร้างโครงข่ายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ จากปี 2019 จาก 9.3GB ต่อเดือน โตขึ้น 20.4 GB ต่อเดือน ลูกค้าใช้งานมากก็ต้องขยายโครงข่ายสูงมาก โดย 80% ของลูกค้าใช้งาน 4G เป็นหลัก และลูกค้าหลายท่านสามารถใช้คลื่น 700 MHz พลังงานที่ต้องใช้กับโครงข่ายถือเป็น 90% ของงบค่าใช้จ่ายบริษัท ซึ่งเราต้องลดก๊าชเรือนกระจกจากโครงข่ายถึง 50% ให้ได้ 

คริสเตียน ฮอลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาวะอากาศกลุ่ม Telenor จากที่สมัยก่อนสถานีฐานต้องติดแอร์ 24 ชม. เปลี่ยนเป็นช่องลมหรือเติมพัดลมลงไป ยกเว้นอุปกรณ์ที่สำคัญจริงๆยังต้องเสริมแอร์ลงไป ลดชุมสาย จาก 6 ชุมสายทั่วประเทศ ให้มารวมที่กรุงเทพ ส่วนภูมิภาพที่เหลือยังปรับปรุงใหม่ สามารถลดพลังงานได้ 30% ใช้วิธีการง่ายๆเช่นการเดิมพนังเข้าไปเพื่อลดการใช้แอร์ การเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ต้องคำนึกถึงอุปกรณ์เก่าที่ต้องแยกสัดส่วนในการจัดการขยะใหม่ทำให้เราลด CO2e ได้ถึง 9.9 ล้าน CO2e ที่สำคัญเราเปลี่ยนหลังคาเป็นโซล่าเซลล์

การนำพลังงานมาลดในการนำมาช่วยทางการเกษตรทั้งการใช้ AI ลดการใช้น้ำและการเกษตร

คริสเตียน กล่าวทิ้งท้ายว่า ควรยกเลิกการใช้อุปกรณ์รถยนต์เดิม การใช้เทคโนโลยีใหม่ ลดการใช้งานไฟฟ้า โดยสามารถลดพลังงานได้ 5 ล้านตัน ตั้งเป้าลดก๊าชเรือนกระจก 57% ให้ได้ และ 68% ต้องเพิ่มความเร็วและการให้บริการโครงข่ายที่ดีขึ้น ทาง Telenor ได้ให้ความรู้ในการติดตั้งโซล่าเซลล์ ลดการปั่นไฟและการใช้พลังงาน ลดการใช้พลังงานถ่านหินจากภาครัฐ มีการให้บริการ PPA สัญญาในการรับซื้อพลังงาน เป็นต้น