“สภาดิจิทัลฯ” เดินหน้าผลักดันไทยก้าวสู่ “ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก” ระดมสมอง “สรรพากร นักลงทุนไทยและต่างประเทศ” ร่วมขับเคลื่อนแบบบูรณาการ สนับสนุนมาตรการยกเว้นภาษี Capital Gain Tax สร้างแรงจูงใจดึงดูดการลงทุนทั่วโลก เสริมศักยภาพสตาร์ทอัพ ยกระดับการแข่งขันในเวทีโลก
เมื่อเร็วๆ นี้ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (DCT) ระดมสมองภาครัฐ และเอกชน ผ่านการจัดเสวนาออนไลน์ในโครงการ DCT Digital Future Talks เรื่อง “นโยบายทางภาษีเพื่อสนับสนุนการระดมทุนของ Tech Companies (Tax Incentives for Tech Companies)” เพื่อรวบรวมความเห็นและแนวทางความเป็นไปได้เกียวกับนโยบายทางภาษีเพืÉอสนับสนุนการลงทุนของสตาร์ทอัพไทย โดยเฉพาะในกลุ่มในประเด็นการยกเว้นการจัดเก็บภาษีจากการลงทุน Capital Gain Tax เพื่อจูงใจให้นักลงทุนไทยและต่างประเทศ (Venture Capital หรือ VC) เข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพมากขึ้น ซึ่งจะเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ สร้างไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก
โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ดร.อธิป อัศวานันท์ ผู้อํานวยการสภาดิจิทัลฯ ดร.ณวัฒน์ คํานูนวัฒน์ ผู้ดูแลโครงการพันธกิจ ศูนย์กลางนวัตกรรมระดับภูมิภาค สภาดิจิทัลฯ อัครราชย์ บุญญาศิริ นักวิชาการภาษีชํานาญการพิเศษ กรมสรรพากร ณิชาภัทร อาร์ค Thailand Coverage, Openspace Ventures ตัวแทนจาก VC ในต่างประเทศ และ ศรัณย์ สุตันติวรคุณ นายกสมาคม Thai Venture Capital Association (TVCA) และผู้ถือหุ้น N-Vest Venture Co., Ltd
ดร.อธิป อัศวานันท์ ผู้อํานวยการสภาดิจิทัลเพืÉอเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (DCT) กล่าวว่า ปัจจัยประการสําคัญทีÉจะส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพไทยให้แข่งขันได้บนเวทีโลก คือการสร้างระบบ
นิเวศ(Ecosystem)ให้เข้มแข็งทั้งด้านนโยบายและกฎระเบียบต่าง ๆ ทั้งนี้ควรจะต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะมาตรการภาษีควรมีการยกเว้นการจัดเก็บภาษีจากการลงทุน Capital Gain Tax ในธุรกิจสตาร์ทอัพและ Tech Companies เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการระดมทุนของธุรกิจสตาร์ทอัพไทยเพืÉอให้เติบโตได้มากขึ Êน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก และจะส่งผลให้รัฐสามารถจัดเก็บรายได้จากธุรกิจสตาร์ทอัพได้มากขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ถือเป็นพันธกิจสําคัญของสภาดิจิทัลฯ ที่จะผลักดันอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยก่อนหน้านี้ ไทยเคยมีมาตรการยกเว้นภาษีดังกล่าวมาแล้วในช่วงปี 2559-2561 และยกเลิกไป จึงขอเสนอให้ภาครัฐพิจารณา เรื่องนี้อีกครั้ง ก่อนที่สตาร์ทอัพจะหันไปจดทะเบียนธุรกิจในต่างประเทศที่จูงใจด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีมากกว่า
ดร.ณวัฒน์ คํานูนวัฒน์ ผู้ดูแลโครงการพันธกิจ ศูนย์กลางนวัตกรรมระดับภูมิภาค สภาดิจิทัลฯ กล่าวว่า ปัจจุบันหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีนโยบายยกเว้นภาษี Capital Gain Tax ทําให้ ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศได้จํานวนมาก ซึ่งประเทศไทยควรมีมาตรการภาษีในทิศทางเดียวกัน เพืÉอเร่งขยายโอกาสการเติบโตของสตาร์ทอัพ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพืÉอนบ้าน โดยตั้งเป้าดึงเม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าการลงทุนใน Tech Companies ในภูมิภาคอาเซียน เข้ามาลงทุนกับธุรกิจสตาร์ทอัพไทย
อัครราชย์ บุญญาศิริ นักวิชาการภาษีชํานาญการพิเศษ กรมสรรพากร กล่าวว่า ในส่วนของกรมสรรพากรนันรับผิดชอบ เรื่องหลัก ได้แก่ เรื่องการจัดเก็บภาษีให้ได้ตามประมาณการของรายได้ และการเสนอแนะนโยบายภาษีเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ที่ผ่านมาได้มีกฎเกณฑ์เพื่อช่วยเหลือ และสนับสนุน ทั้งสตาร์ทอัพและ VC เช่น การยกเว้น Capital Gain Tax ของ VC และ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของสตาร์ทอัพ แต่ปัจจุบันมาตรการดังกล่าวนั้นเกินระยะเวลาที่สามารถเข้าร่วม โครงการได้แล้ว ซึ่งมาตรการใหม่ๆ จะเป็นรูปแบบชั่วคราว เพื่อประโยชน์ในการติดตามผล และการปรับปรุงได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ ในปัจจุบัน การส่งเสริมและสนับสนุน Tech Companies นัยอยู่ในประเด็นที่เป็นนโยบายหลักของรัฐบาล และทีÉผ่านมาเรามีเครืÉองมือทีÉออกมาชัÉวคราว หากจะมีการออกนโยบายอีกครั่ง ก็จําเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทางกรมสรรพากรยินดีฟังความ
คิดเห็นจากทุกภาคส่วน ซึ่งได้รับข้อเสนอมาแล้วจากสภาดิจิทัลฯ และทํางานร่วมกับภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง โดยสภาดิจิทัลฯ สามารถเป็นองค์กรกลาง รวมถึงเป็นตัวแทนภาคเอกชน ในการพูดคุยกับภาครัฐได้ ทั้งนี อีทางกรมสรรพากรจะนําข้อเสนอดังกล่าวมาประกอบการพิจารณา โดยมีกรอบการทํางานที่มุ่งเน้นถึงความจําเป็นและประโยชน์อย่างคุ้มค่าต่อการลงทุน เพืÉอส่งเสริมให้ Ecosystem ของสตาร์ทอัพ และ Tech Companies ให้มีความสมบูรณ์ได้ต่อไปในอนาคต
วณิชาภัทร อาร์ค Thailand Coverage, Openspace Ventures ตัวแทนจากผู้ลงทุนใน ต่างประเทศ กล่าวว่า ในฐานะทีÉเป็นบริษัทร่วมลงทุนต่างประเทศ มีสํานักงานใหญ่อยู่ทีÉสิงคโปร์และมีการ
ลงทุนในภูมิภาคอาเซียน มองว่าการยกเว้นภาษี Capital Gain Tax จะดึงดูดเงินลงทุนเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งการตัดสินใจเลือกลงทุนในสตาร์ทอัพจะพิจารณาหลายปัจจัย ตั้งแต่แผนธุรกิจและศักยภาพของสตาร์ทอัพ ขนาดของตลาด(Market Size) การคํานวณผลตอบแทนจากการลงทุน รวมถึงการพิจารณาเรื่องนโยบายภาษีของประเทศที่จะเข้าลงทุนด้วย โดยมองว่า เป็นเรื่องที่ต้องมีการทํางานแบบบูรณาการ ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดแนวทางทีำเกิดประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด
ด้าน ศรัณย์ สุตันติวรคุณ นายกสมาคม Thai Venture Capital Association (TVCA) และผู้ถือหุ้น N-Vest Venture Co., Ltd กล่าวว่า มาตรการยกเว้นภาษี Capital Gain Tax ถือเป็นสิทธิประโยชน์ พื้นฐานที่จําเป็นต่อการส่งเสริมศักยภาพการลงทุนให้กับสตาร์ทอัพและ Tech companies เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ซึ่งเป็นมาตรการพื้นฐานของสิงคโปร์และฮ่องกง แม้การยกเว้นภาษี Capital Gain Tax อาจไม่ใช่ปัจจัยดึงดูดให้ต่างชาติย้ายฐานการลงทุนมาประเทศไทยทันทีแต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเพื่อให้สตาร์ทอัพไทยเติบโตสู้กับประเทศอื่นได้ และจะทําให้สตาร์ทอัพไทยสามารถดึงบุคลากรที่มีศักยภาพจากทั่วโลกมาร่วมสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับธุรกิจเพิ่มขึ้นด้วย
อรดา วงศ์อําไพวิทย์ ผู้ช่วยประธานสภาฯ และหัวหน้าฝ่ายกฎหมายสภาดิจิทัลฯ สภาดิจิทัลฯ กําลังเร่งดําเนินการรวบรวมข้อคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในประเด็นมาตรการภาษี Capital Gain
Tax ไปนําเสนอต่อภาครัฐเพื่อกําหนดเป็นมาตรการทางภาษีต่อไปโดยเร็วที่สุด อีกทั้งสภาดิจิทัลฯ จะดําเนินการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่นักลงทุนไทยในสื่อต่างๆ ของสภาดิจิทัลฯ และพันธมิตร อันจะช่วยสร้ างโอกาสในการลงทุนนําไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อให้ธุรกิจ ผู้ประกอบการดิจิทัลไทยให้สามารถเติบโตเพื่อการแข่งขันได้ในระดับโลกต่อไป