20 มิ.ย. 2564 7,177 24

เล่าสู่กันฟังทางเทคนิคเรื่อง 5G ตอนที่ 5 : 5G SA (5G Standalone) for Consumers

เล่าสู่กันฟังทางเทคนิคเรื่อง 5G ตอนที่ 5 : 5G SA (5G Standalone) for Consumers

ในตอนนี้ เราจะได้มาศึกษาถึงข้อได้เปรียบของ 5G แบบ SA เทียบกับ NSA ซึ่งได้เกริ่นไว้ในตอนที่ 1 ว่า SA เป็น Network 5G ที่สามารถให้บริการได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาโครงข่ายหรือสัญญาณ 4G ข้อได้เปรียบของ 5G SA อาจจะแบ่งได้เป็นสองมุมคือมุมของผู้บริโภค และมุมของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ในบทความตอนนี้จะโฟกัสไปที่มุมของผู้บริโภค

ประสิทธิภาพในขา 5G Uplink

บนคลื่นความถี่ 2600MHz 5G SA มีเทคโนโลยี 2x2MIMO ในขา Uplink ซึ่งเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับ 5G NSA อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี High-Power UE (HPUE) ซึ่งเพิ่มกำลังส่งในขา Uplink จากเดิม 23dBm (จัดอยู่ใน Power Class 3)เป็น 26dBm (จัดอยู่ใน Power Class 2)ทำให้ Coverage ของ5G ขยายไปอีก 3dB

 

รูปที่ 1ประสิทธิภาพ ในขา Uplink ของ 5G SA

ความเร็วและราบรื่นในการ Handover

การ Handover ของ 5G NSA ทำได้โดยการเปลี่ยน Anchor cell ที่เป็น 4G รวมถึงการลดและเพิ่ม 5G cell ที่ใช้งานอยู่ด้วย ทำให้มีช่วงเวลาที่เกิดสะดุดในการ Handover (Handover interruption time)มากกว่ากรณีของ 4G เสียอีก ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวมือถือจะไม่สามารถส่งข้อมูลได้ชั่วขณะ 

ในกรณีของ 5G SA การ Handover จะเกิดขึ้นเฉพาะระหว่าง cell ที่เป็น 5G ด้วยกันเท่านั้น ซึ่งทำได้รวดเร็วและราบรื่นมากกว่า


รูปที่ 2 Handover ของ 5G NSA (บน) และ 5G SA (ล่าง)

ความเร็วในการเข้าสู่ Active Mode

Active mode หมายถึงสถานะของมือถือที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ หากปล่อยมือถือไว้นานๆโดยไม่มีการรับส่งข้อมูล มือถือจะเข้าสู่ Idle mode เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน 

ในกรณี 5G NSA การที่มือถือจะเปลี่ยนจาก Idle เป็น Active จะต้องผ่านกระบวนการบน Anchor 4G เสียก่อน ซึ่งจะมี signaling ไปยัง Core Network ด้วย จากนั้นจึงมีการ add cell 5G เพื่อทำการรับส่งข้อมูล ดังนั้นจะใช้เวลามากกว่าในกรณี 5G SA ที่เปลี่ยนจาก Idle ไปเป็น Active ได้เลยโดยไม่ต้องมีการ add cell

นอกจากนี้ 5G SA ยังมี mode ที่เรียกว่า Inactive mode นั่นคือมือถืออาจจะยังไม่มีการรับส่งข้อมูล แต่ก็ไม่ได้กลับไปสู่ Idle mode เลย มือถือจะเปลี่ยนไปสู่ Inactive mode จากนั้นเมื่อจะการรับส่งส่งข้อมูล การเปลี่ยนจาก Inactive mode เป็น Active mode ทำได้รวดเร็วโดยไม่ต้องอาศัย signalingไปยัง Core Network อีกทั้งทำให้มือถือประหยัดพลังงานมากกว่าที่จะเปลี่ยนจาก Idle เป็น Active mode อีกด้วย

ความเร็วในการโทรออกรับสายและคุณภาพเสียงที่ดีขึ้นด้วย VoNR

การให้บริการVoiceบนโครงข่าย 5G NSA อาศัยเทคโนโลยี VoLTE(Voice over LTE) ซึ่งสัญญาณเสียงจะวิ่งบนโครงข่าย 4G ไปยัง Core Network EPC และ IMS (IMS เป็นโครงข่ายที่ให้บริการ VoLTEและ packet-based service อื่นๆ)

สำหรับ 5G SA ในระยะแรก เนื่องจาก 5G Coverage อาจจะยังไม่ต่อเนื่องและปรับจูนยังไม่ดีพอการให้บริการ Voice ยังคงต้องพึ่งพาโครงข่าย 4G อยู่ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า EPS Fallback ซึ่งหมายถึงการบังคับให้มือถือไปใช้สัญญาณและโครงข่าย 4G ในการให้บริการเสียง ข้อเสียของวิธีการนี้คือจะมี delay ในการ setup call เนื่องจากต้องมี signaling ระหว่างโครงข่าย 4G และ 5G core network

ในระยะยาว เมื่อ 5G Coverage ต่อเนื่องและถูกปรับจูนดีแล้ว VoNR (Voice over NR) จะเป็นเทคโนโลยีที่ให้บริการ Voice ได้ดีกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องอาศัยโครงข่าย 4G 

นอกจากนี้ GSMA ยังกำหนดให้ VoNR ใช้ voice codec แบบใหม่ที่เรียกว่า Enhanced Voice Services (EVS) ในการให้บริการเสียง ซึ่งจะเพิ่มคุณภาพเสียงให้ชัดเจนขึ้นในขณะที่ใช้ bit rate ที่ต่ำลง (VoLTEสามารถใช้ codec นี้ได้เช่นกัน แต่ไม่ได้เป็นข้อบังคับ โดยทั่วไป VoLTEจะใช้ codec AMR-WB (Adaptive Multirate Wide Band)ซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำกว่า EVS)

การตอบสนองที่ว่องไวด้วยบริการที่อยู่บน MEC (Multi-access Edge Computing)

5G SA ได้รับการออกแบบมาให้ทำงานร่วมกับเทคโนโลยี MEC ซึ่งเป็นการนำความสามารถในการประมวลผลแบบ cloud computing ให้มาใกล้ผู้ใช้งานให้มากที่สุด เสมือนว่ามี server อยู่ใกล้ๆกับสถานีฐาน 5G ดังนั้นการตอบสนองของแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานบนMECจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยมาก MEC จะเน้นไปที่แอพพลิเคชั่นของภาคอุตสาหกรรมมากกว่าเช่น ในโรงงานหรือโรงพยาบาล สำหรับในส่วนของผู้บริโภค ที่เมืองจีนได้มีการทดลองMECกับ cloud-gaming โดย MEC จะช่วยในการประมวลผลและสร้างภาพของเกม (Rendering) ในขณะที่ส่วนควบคุมในเกมจะวิ่งไปที่ serverของบริษัทเกมที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตผู้เล่นสามารถเล่นเกมระดับ 4K ที่ 60 frame/second อย่างราบรื่นโดยไม่ต้อง download เกมลงมือถือของตัวเองส่วนในประเทศไทย cloud game ก็เป็นหนึ่งในแอพพลิเคชั่นที่สามารถประยุกต์การใช้ MEC มาช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้เช่นกัน


รูปที่ 3 คลาวด์เกมสามารถเล่นเกมได้จากทั้งแพล็ตฟอร์ม PC และ Consoleบนสมาร์ทโฟน โดยไม่ต้องลงแอพ
(Source: https://5g.truemoveh.com/th/cloudgame)
อ่านข่าว