29 ก.ค. 2564 1,385 33

พร้อมแล้ว! ทรู 5G ผนึก มิตซูบิชิ อีเล็คทริค และ เลิศวิลัย สร้างต้นแบบ Smart Factory โรงงานอัตโนมัติ e-F@ctory ไร้มนุษย์ 100%

พร้อมแล้ว! ทรู 5G ผนึก มิตซูบิชิ อีเล็คทริค และ เลิศวิลัย สร้างต้นแบบ Smart Factory โรงงานอัตโนมัติ e-F@ctory ไร้มนุษย์ 100%

ทรู 5G รุกเสริมแกร่งภาคอุตสาหกรรมไทย นำอัจฉริยภาพเครือข่าย 5G ร่วมสร้างต้นแบบ 5G Smart Factory ผนึกความร่วมมือกับ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ผู้นำด้านเทคโนโลยี การผลิตในภาคอุตสาหกรรม และเลิศวิลัย ผู้นำด้านการพัฒนาและออกแบบระบบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ บูรณาการระบบการผลิตและเทคโนโลยีดิจิทัล พัฒนาโซลูชันสายการผลิตอัตโนมัติ ผสานฟังก์ชั่นสุดล้ำของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ในสายการผลิต (Autonomous Mobile Robotic หรือ AMR) พร้อมส่งมอบให้อุตสาหกรรมต่างๆ นำไปใช้จริงได้แล้ววันนี้ ทั้งยังเปิดให้ทดสอบและสัมผัสความล้ำสมัยของเทคโนโลยีการผลิต โรงงานอัจฉริยะไร้มนุษย์ เพื่อก้าวเข้าสู่ยุค Digital Transformation ในพื้นที่ EEC Automation Park บางแสน จ.ชลบุรี

โดยมีทั้งระบบเชื่อมต่อเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆภายในโรงงานแบบอัตโนมัติ รับส่งข้อมูลเรียลไทม์ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ ทรู 5G ที่ติดตั้งแบบ Private Network ให้ความเร็ว ความเสถียร และปลอดภัยสูง จึงสามารถควบคุมและตรวจสอบทั้งระบบการผลิตได้ทันทีตลอดเวลา และยังสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรงงาน ลดต้นทุนธุรกิจตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต เสริมความได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยทรานส์ฟอร์มสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างเต็มรูปแบบ
วิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น เป็นผู้ผลิต จำหน่าย และให้คำปรึกษา ฝึกอบรม เกี่ยวกับระบบออโตเมชันแบบครบวงจร ปัจจุบันมีพันธมิตรที่ช่วยพัฒนาโซลูชันแล้วกว่า 900 บริษัท และมีการนำไปใช้งานจริงแล้วมากกว่า 10,000 โซลูชันทั่วโลก สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆมากมายแต่ยังใช้คนในกระบวนการผลิตอยู่เป็นจำนวนมากนั้น มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ได้นำ “e-F@ctory” เข้ามาให้บริการนานกว่า 5 ปี ด้วยความมุ่งหมาย
ที่จะขยายความรู้ด้านออโตเมชันให้บุคลากรในประเทศไทย (Technology Transfer) และผลักดันให้มีการใช้ระบบออโตเมชันช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ จึงร่วมมือกับ EEC ริเริ่ม EEC Automation Park พื้นที่พัฒนานวัตกรรมและบุคลากรด้านออโตเมชัน ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม สอดคล้องกับนโยบายของ EEC ที่ต้องการพัฒนาประเทศโดยการสนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่ที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมทั้งนำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีออโตเมชัน ช่วยพัฒนาบุคลากรไทย ไม่ว่าจะเป็นการ Up-Skill หรือ Re-Skill ตลอดจนสร้างเครือข่ายการศึกษา โดยร่วมทำงานกับ EEC-HDC นำเทคโนโลยีและโซลูชันที่ร่วมมือกับพันธมิตรมาช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีและสามารถนำไปประยุกต์ใช้จริง เพื่อเพิ่มศักยภาพ ลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนพัฒนาบุคลากรและภาคอุตสาหกรรมการผลิตไปพร้อมๆกัน ซึ่งเทคโนโลยี 5G เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความสำคัญที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมไทยในยุค 4.0 มิตซูบิชิ อีเล็คทริค จึงได้ร่วมกับทรู 5G และ เลิศวิลัย พัฒนาโซลูชันสายการผลิตอัตโนมัติ ที่มีการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้งานจริง โดยจัดแสดงที่ EEC Automation Park จำลองกระบวนการผลิตแบบไร้มนุษย์ 100% เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาเรียนรู้และศึกษาเป็นต้นแบบในการพัฒนาการผลิตต่อไป
พิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ หัวหน้าคณะทำงานและกรรมการยุทธศาสตร์ 5G บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า กลุ่มทรู มุ่งพัฒนาเครือข่ายอัจฉริยะทรู 5G ที่เร็วแรงกว่า ครบกว่าด้วย 7 ย่านความถี่ มากสุดในไทย และครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมเดินหน้าสร้างระบบนิเวศ 5G (5G Ecosystem) ด้วยการผสานความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ผลักดันการนำ 5G ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนไทยและประเทศไทย ซึ่งการใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆเป็นอีกหนึ่งมิติที่ทรู 5G ให้ความสำคัญ เพื่อร่วมยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐ ทรู 5G จึงร่วมมือกับ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ที่มีความเชี่ยวชาญในระบบโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) และ เลิศวิลัย ผู้นำด้านการพัฒนาและออกแบบระบบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ร่วมสร้างต้นแบบ 5G Smart Factory อัตโนมัติเต็มรูปแบบ ก้าวข้ามข้อจำกัดของเทคโนโลยีเดิม ล้ำไปอีกขั้นด้วยการนำศักยภาพเครือข่ายอัจฉริยะ ทรู 5G ภายในพื้นที่ EEC เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่ติดตั้งแบบ Private Network มีความเร็ว ความเสถียรและความปลอดภัยของข้อมูลสูง ร่วมทดสอบและพัฒนาโซลูชันสายการผลิตอัตโนมัติ โดยเชื่อมต่อ สั่งงาน และควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งหุ่นยนต์เคลื่อนที่ในสายการผลิต (AMR) ภายในโรงงานแบบอัตโนมัติอย่างไร้รอยต่อผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ ทรู 5G เพิ่มประสิทธิภาพในการรับ-ส่งข้อมูลแบบไร้สายได้แบบเรียลไทม์ ทั้งยังสามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ได้จำนวนมาก พร้อมเทคโนโลยี AR เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบระบบโรงงานตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตได้ทุกที่ทุกเวลาบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีจัดเก็บ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูล ที่สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการโรงงานและช่วยลดต้นทุนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นการบูรณาการสายการผลิตและเทคโนโลยีสื่อสารดิจิทัลล้ำสมัยอย่างลงตัว พลิกโฉมสายการผลิตอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ และสามารถนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างแท้จริงแล้ววันนี้

ดร. ประพิณ อภินรเศรษฐ์ กรรมการบริหาร บริษัท เลิศวิลัย แอนด์ ซันส์ จำกัด กล่าวว่า จากความสำเร็จของการนำ 5G ไปใช้ทำงานร่วมกับหุ่นยนต์เคลื่อนที่ในสายการผลิต AMR (Autonomous Mobile Robot) ทำให้ AMR เสมือนมีสมองเชื่อมต่อกับระบบควบคุม สามารถทำงานได้อย่างเสถียรต่อเนื่อง เคลื่อนที่ หลบหลีกสิ่งกีดขวางได้อย่างคล่องตัว ซึ่งเห็นถึงความพร้อมของการนำ 5G ไปใช้งานได้จริงกับวงการอุตสาหกรรม เพราะ 5G เป็น การเชื่อมต่อไร้สาย (Wireless connectivity) ที่มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสมกับการใช้งาน Use case ที่ต้องการการเคลื่อนที่ เช่น กรณีที่ต้องมีการลากสาย เพื่อทำการเชื่อมต่อ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง หรือพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยีแบบมีสาย เป็นพื้นที่ Outdoor พื้นที่ที่ต้องการหลีกเลี่ยงความร้อน หรือป้องกันการระเบิด อีกทั้งยังตัดปัญหาเรื่องสัญญาณการรบกวนได้ด้วย เราพร้อมที่จะพัฒนาและต่อยอดจากโรงงานอัจฉริยะ หรือ Smart Factory ไปสู่การทดลองใช้งานจริงของ Smart City ในพื้นที่ EEC เพื่อที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศไทยต่อไป

จากการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม adslthailand พบว่า ทรู 5G รุกเสริมแกร่งภาคอุตสาหกรรมไทย โดยการตั้งเป้าหมายต้องการเปลี่ยนโรงงานทั้งหมด 20,000 โรงงานทั่วประเทศไทย ลดต้นทุนการผลิตลดลง 30% ทุกขนาดโรงงานสามารถนำข้อมูลเดิมของผลิตมาปรับปรุงการผลิตครั้งใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากลงทุน 1.6 ล้านบาท คืนทุนได้ภายใน 4ปี เนื่องจากค่าแรงคนจำนวน 2 ช่วงเวลา และการลดภาษีก็คืนทุนได้รวดเร็ว ส่วนลูกค้าทั่วไป 5G SA ลูกค้าทั่วไปก็จะสามารถใช้งานได้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์