บทความประชาสัมพันธ์โดย
คุณเอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท วีเอ็มแวร์ จำกัด
VMware แนะ 8 กลยุทธ์ เสริมความยืดหยุ่นและความคล่องตัวให้กับหน่วยงานสาธารณสุขในประเทศไทย
องค์กรด้านสาธารณสุขทั่วโลกต่างเป็นด่านหน้าที่กำลังต่อสู้กับโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงคุณค่าของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาช่วยจัดการสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและน่าทึ่ง ในฐานะด่านหน้าทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก พวกเขามุ่งมั่นที่จะทำให้ระบบสาธารณสุขมีความยืดหยุ่น และให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีในระดับองค์กรรูปแบบใหม่ ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น
การประสบความสำเร็จในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนในอนาคต องค์กรด้านสาธารณสุขในประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง “พร้อมสำหรับอนาคต” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความยืดหยุ่นที่สามารถรองรับการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่จากทุกที่ โดยการวางรากฐานระบบดิจิทัลที่มีความน่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้องค์กรด้านสาธารณสุขของไทยสามารถใช้นวัตกรรมใหม่ๆ, สร้างความยืดหยุ่น และมอบประสบการณ์การดูแลสุขภาพในรูปแบบดิจิทัลที่จะช่วยสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการ
นี่คือภาพรวมกลยุทธ์เชิงลึก 8 ประเด็น ที่แสดงให้เห็นว่า การระบาดของไวรัสครั้งนี้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคสาธารณสุขของประเทศไทยได้อย่างไร
กลยุทธ์เชิงลึก #1: โควิด-19 ได้ทำลายอุปสรรคที่สั่งสมมานานหลายทศวรรษสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
โควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเร่งการพัฒนาแผนงานทางเทคโนโลยีรองรับอนาคต จากการศึกษาของ Digital Frontiers 3.0 จาก VMware พบว่าผู้บริโภคชาวไทยไว้วางใจในเทคโนโลยีแห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ (70%), 5G (81%) และระบบการจดจำใบหน้า (74%)[1]
องค์กรไอทีที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุข ตระหนักถึงข้อดีของรากฐานทางดิจิทัลที่แข็งแรงที่สามารถสนับสนุนการทำงานบน คลาวด์, แอปพลิเคชัน และอุปกรณ์ที่หลากหลาย ช่วยให้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ทำให้แน่ใจว่าจะมีความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจและมีความหยืดหยุ่น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้านเทคโนโลยีดิจิทัลนี้ เป็นหัวใจสำคัญในการช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นจนล้นโรงพยาบาลให้มีสุขภาพดีและปลอดภัย
กลยุทธ์เชิงลึก #2: การบริโภคและความต้องการของผู้ป่วยเป็นสิ่งสร้างความแตกต่างทางธุรกิจรูปแบบใหม่
จากการสำรวจล่าสุดของ Forrester ในกลุ่ม CIOs และ SVPs ทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก พบว่า องค์กรทางด้านสาธารสุขมากกว่าครึ่งหนึ่ง (51%) เพิ่มการลงทุนเกี่ยวกับความต้องการของผู้ป่วย โดย 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามจากการศึกษาของ VMware’s Digital Frontiers 3.0 กล่าวว่า พวกเขาจะเปลี่ยนไปใช้บริการในสถานบริการใหม่ที่มีคุณภาพเทียบเท่ากัน หากการจัดการทางด้านดิจิทัลของสถานบริการที่ใช้บริการอยู่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ดังนั้นองค์กรทางด้านสาธารณสุขในประเทศไทย จึงจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้งาน เช่น ระบบแอปพลิเคชันที่ทันสมัย รวมถึงระบบคลาวด์ เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและนำเสนอแนวทางการบริการดูแลสุขภาพรูปแบบใหม่ให้แก่ผู้ป่วย
กลยุทธ์เชิงลึก #3: การให้บริการดิจิทัลรูปแบบใหม่สร้างความเสี่ยงทางไซเบอร์มากยิ่งขึ้น
บริการใหม่ ๆ ผ่านระบบดิจิทัลกำลังเพิ่มความเสี่ยงทางไซเบอร์ จากการสำรวจของ VMware’s Digital Frontiers 3.0 พบว่า ผู้บริโภคชาวไทย 45% ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของการบริการผ่านดิจิทัลเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ดังนั้นองค์กรทางด้านสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า องค์กรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มแข็งแบบ zero-trust, มีนโยบายและการควบคุมสิทธิ์อย่างน้อยต้องครอบคลุมทั้ง on-premises, บนคลาวด์ ไปจนถึงอุปกรณ์ปลายทาง
กลยุทธ์เชิงลึก #4: Telehealth และความสามารถในการกระจายการทำงาน เปลี่ยนจาก ”สิ่งที่ควรมี”กลายเป็น”สิ่งที่ต้องมี”
ด้วยความแตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ งานทางด้านสาธารณสุขเป็นสิ่งที่ต้องลงมือปฎิบัติ ในสภาพแวดล้อมของการทำงานแบบกระจายตัว รวมถึงเครื่องมือและแพลตฟอร์มที่ใช้ในการทำงานร่วมกัน ตัวอย่างเช่น Digital workspace ที่รวมการจัดการอุปกรณ์ และการระบุตัวตน กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ให้บริการด้านการดูแลผู้ป่วย รวมถึงแนวทางในการบริการ telehealth, และเป็นเจ้าภาพให้กับพนักงานผู้ต้องปฏิบัติหน้าที่ในรูปแบบใหม่ ซึ่งไอทีสามารถช่วยให้ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถดูแลผู้ป่วย พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลได้แบบเรียลไทม์และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถเลือกใช้งานตามแพลตฟอร์มที่ต้องการได้
กลยุทธ์เชิงลึก #5: การลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการปฏิรูปกำลังเพิ่มมากขึ้น – โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจด้านสาธารณสุขมีมากกว่าอุตสาหกรรมประเภทอื่น
จากการศึกษาของ VMware-MIT Executive Study พบว่า ผู้ให้ดูแลทางด้านสุขภาพที่ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมด (98%) กล่าวว่าพวกเขาหวังว่าจะสามารถผ่านพ้นช่วงวิกฤตนี้ไปได้ ด้วยการลงทุนในการปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีให้สามารถรองรับการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ในขณะที่ผู้บริหารองค์กรทางด้านสาธารณสุขและคณะกรรมการบริษัทตระหนักถึงคุณค่าในการลงทุนทางด้านไอทีสำหรับการสาธารณสุข ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ให้การดูแล, และประสบการณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่ในองค์กร โดยธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้จะได้รับประโยชน์จากการวางแผนเชิงรุกและการเปิดรับเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์กร อันจะช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ จากนวัตกรรมดิจิทัลอีกด้วย
กลยุทธ์เชิงลึก #6: เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (HIT) ที่ยืดหยุ่น คือ กุญแจสู่ความสำเร็จทางดิจิทัล – การทำงานแบบอัตโนมัติและมัลติ-คลาวด์ คือ อนาคต
เมื่อมีคำถามเกี่ยวกับความยืดหยุ่น มากกว่าครึ่ง (58%) ขององค์กรทางด้านสาธารณสุขที่ตอบการสำรวจจากแบบสำรวจเดียวกันของ VMware-MIT กล่าวว่าประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ
โครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีของงานสาธารณสุขแบบอัตโนมัติรวมถึงรูปแบบของการดำเนินงาน ถูกยกให้เป็นความคิดริเริ่มอันดับต้นๆ เนื่องจากองค์กรทางด้านสาธารณสุขมองหาช่องทางการป้องกันสุขภาพ และเพื่อความปลอดภัยของผู้ให้บริการดูแลผู้ป่วย โดยการส่งเสริมการให้มีการบริการดูแลสุขภาพทางไกล รวมถึงสนับสนุนการทำงานแบบที่พนักงานไม่จำเป็นต้องสัมผัสผู้ป่วยผ่านการทำงานแบบ work-from-home
กลยุทธ์เชิงลึก #7: การเติบโตของคลาวด์ที่เพิ่มขึ้น – การประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสมดุลทางสาธารณสุข
ไม่มีข้อกังขาในคุณประโยชน์ในการใช้งานคลาวด์อีกต่อไป เพียงประยุกต์ใช้ unified digital foundation จะช่วยให้องค์กรทางด้านสาธารณสุขสามารถลดความซับซ้อนในการปรับใช้ระบบคลาวด์โดยขยายไปสู่มัลติ-คลาวด์ได้อย่างราบรื่นโดยไม่ต้องปรับทักษะ, ปรับโครงสร้างแอปพลิเคชัน หรือปรับแต่งเครื่องมือใหม่ สิ่งเหล่านี้ช่วยปรับปรุงการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ดูแลและเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม การรักษาธรรมาภิบาลและการปฏิบัติตามกฎระเบียบยังคงเป็นความท้าทายอันดับต้น ๆ ในการปฏิบัติงาน
กลยุทธ์เชิงลึก #8: การฟื้นตัวจากวิกฤติ เทียบไม่ได้กับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่องค์กรทางด้านสาธารณสุขระบุว่าพวกเขามีแผนสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจก่อนเกิดการระบาดใหญ่ ผู้บริหารในกลุ่มสาธารณสุข 3 ใน 10 คนที่ร่วมทำแบบสำรวจของ VMware-MIT รู้สึกว่าแผนของพวกเขามีประสิทธิภาพน้อยลงเมื่อต้องพยายามรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาด สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่องค์กรต้องมีความพร้อมรับต่ออนาคตเพื่อบูรณาการความต่อเนื่องทางธุรกิจ พร้อมด้วยแผนการฟื้นฟูองค์กรจากวิกฤติเข้าไว้ในการดำเนินงานทั้งหมด เพื่อตอบสนองต่อวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และปรับให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงใหม่ และเร่งสร้างนวัตกรรม
วิกฤตการณ์ COVID-19 เป็นบททดสอบล่าสุด – ที่รุนแรงที่สุด – เป็นการทดสอบความสามารถขององค์กรด้านสาธารณสุขในการตอบสนองและการประสบความสำเร็จในช่วงเวลาที่เลวร้าย พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความคล่องตัวและความยืดหยุ่นของระบบสาธารณสุข รวมถึงการใช้งานสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสม การให้อำนาจแก่ผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแล การมีแนวทางการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุม เมื่อมองไปในอนาคต, สิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยพัฒนาให้ระบบสาธารณสุขก้าวไปสู่โลกแห่งดิจิทัลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น