เอไอเอส ควงแขน NIA-สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ริเริ่มสร้าง “ย่านนวัตกรรมอารีย์”
ก้าวสู่ “เมืองฉลาดรู้” เตรียมเชิญพาร์ทเนอร์ย่านอารีย์ ร่วมยกระดับวิถีความเป็นอยู่
สู่ชุมชนคลาสสิคร่วมสมัย สอดรับโลกวิถีใหม่ ผ่านแพล็ตฟอร์มดิจิทัล และ
5G
กานติมา
เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านทรัพยากรบุคคล
กลุ่มบริษัทเอไอเอสและอินทัช กล่าวว่า
“การเตรียมโครงสร้างพื้นฐานของระบบนิเวศน์ด้านการอยู่อาศัยด้วยนวัตกรรม เพื่อให้มีความพร้อมที่จะส่งเสริมวิถีการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่กลายเป็นเรื่องหลักที่ผู้อยู่อาศัยในชุมชน
ต่างต้องให้ความสำคัญและร่วมแรงร่วมใจกันวางรากฐาน เพื่อรองรับชีวิตวิถีใหม่
ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์รอบตัวที่ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็น โรคระบาด,
สังคม, การเมือง, ฯลฯ จึงเป็นที่มาซึ่งทำให้ เอไอเอส ในฐานะสมาชิกของย่านอารีย์
และ ถนนพหลโยธิน มองเห็นถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของสมาชิกในย่านนี้ ที่ผ่านมากว่า 2 ปี จึงได้ชักชวนพันธมิตร องค์กรต่างๆ ร่วมเป็นภาคีเครือข่าย
โดยเริ่มที่การดูแลสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ กรีนพหลโยธิน ซึ่งเป็นเสมือนต้นแบบของความร่วมมือที่จะปลูกจิตสำนึกการจัดเก็บขยะ
Electronics หรือ E-Waste พร้อมส่งต่อองค์ความรู้เพื่อทำให้ย่านอารีย์และพหลโยธินกลายเป็นพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน”
“วันนี้เราจึงขออาสาทำหน้าที่เป็นแกนกลางพร้อมนำจุดแข็งของเอไอเอส ในฐานะ Digital Life Service Provider มาร่วมเป็นหนึ่งในดิจิทัล แพล็ตฟอร์มอีกครั้ง ในการร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ริเริ่มโครงการ “ย่านนวัตกรรมอารีย์ – Ari Innovation District” พร้อมเชิญพันธมิตรในย่านอารีย์-พหลโยธิน-สะพานควายอีกกว่า 20 รายร่วมในโครงการ เพื่อพัฒนาพื้นที่ย่านอารีย์ให้เป็น ดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เอื้อให้เกิดระบบนิเวศน์นวัตกรรมอย่างยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ “อารีย์ 2025 ก้าวสู่เมืองฉลาดรู้ที่สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตยุคใหม่”
ด้าน
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า “NIA ที่ได้ริเริ่มและพัฒนา
“ย่านนวัตกรรม” มาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังให้เป็นแพลตฟอร์มที่เอื้อให้เกิดการรวมตัวของนโยบาย
กระบวนการ บุคคล และเทคโนโลยี และกลายมาเป็น “ระบบนิเวศนวัตกรรม”
เพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมบนฐานการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่
ซึ่งได้ขยายการดำเนินงานในการพัฒนาย่านนวัตกรรมตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
เช่น ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี ย่านนวัตกรรมไซเบอร์เทค (ปุณณวิถี)
ย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่) ย่านนวัตกรรมอู่ตะเภา-บ้านฉาง
(จังหวัดระยอง) เป็นต้น”
“ทั้งนี้ NIA ยังเล็งเห็นถึงศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาพื้นที่ย่านอารีย์ (พญาไท) ซึ่งนอกจากจะเป็นเสมือนศูนย์รวมของการดำเนินชีวิตที่ครบถ้วน เช่น แหล่งที่อยู่อาศัย ร้านอาหาร การค้า โรงพยาบาล และ Co working Space แล้วยังมีการกระจุกตัวของบริษัทชั้นนำ ผู้ประกอบการ และทรัพยากรด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) การพัฒนาเครื่องจักรกลขั้นสูง (Robotics) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Immersive) และการเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลด้วยระบบอินเทอร์เน็ต (IoTs) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำพาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับประเทศ รวมถึงเป็นที่ตั้งของหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง จึงมีแนวคิดในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในระบบนิเวศนวัตกรรม และเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่เชิงนวัตกรรม สำหรับความร่วมมือในการพัฒนา “ย่านนวัตกรรมอารีย์” แห่งนี้ เป็นอีกหนึ่งย่านที่ขับเคลื่อนจากความต้องการของภาคเอกชนที่เห็นความสำคัญของนวัตกรรม ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดีต่อระบบนวัตกรรมไทยในอนาคต” ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติม
ย่านนวัตกรรมอารีย์-Ari
Innovation District มีเป้าหมายในระยะเวลา 5 ปี
โดยมี วัตถุประสงค์หลัก คือ
1. เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ของนวัตกรรมในย่านอารีย์ซึ่งประกอบไปด้วยทั้งภาครัฐ
เอกชน มหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการ และชุมชน
2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่าง
ๆ ที่พันธมิตรในภาคีเครือข่ายมี เช่น พื้นที่ในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยี
กระบวนการทำงาน ระบบงาน บุคลากร รวมถึงองค์ความรู้ที่สามารถแบ่งปันได้
3. เพื่อพัฒนาย่านอารีย์ให้เป็นพื้นที่ทดสอบทดลองโซลูชั่นใหม่
ๆ ( Sandbox ) ด้านการพัฒนาเมือง ด้วยเทคโนโลยี AI, Robotic และ Immersive
& IoT สำหรับเตรียมความพร้อมก่อนนำไปให้บริการในเชิงพานิชย์
4. เพื่อร่วมจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมเป้าหมายด้านนวัตกรรมของพันธมิตรในภาคีเครือข่ายพร้อมเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง
ๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวได้
5. เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองโดยการเชื่อมโยง
3 ระดับ คือ Local
Link การเชื่อมโยงบุคคล-สิ่งของ
เข้ากับระบบ, International
Link ร่วมมือกับพันธมิตรทั่วโลกในการร่วมถ่ายทอดข้อมูลต่าง
ๆ เพื่อพัฒนาโซลูชั่น, Future
Link ย่านนวัตกรรมอารีย์ จะส่งเสริมนวัตกรรมเมืองอนาคต
เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แสดงความคิดเห็นร่วมกันออกแบบ วิจัย และพัฒนา
ต้นแบบเมืองแห่งอนาคต
โดยนอกจากการเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้ง ARID นี้แล้ว เอไอเอสยังได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรหลัก กับ NIA ในโครงการ Innovation Thailand Alliance ใน concept ”พลิกฟื้นประเทศไทย ด้วยนวัตกรรม” อีกด้วย