14 ก.ย. 2564 789 0

NTT DATA มั่นใจศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย แนะปรับกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัล เร่งสร้างโอกาสเสริมจุดแข็ง

NTT DATA มั่นใจศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย แนะปรับกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัล เร่งสร้างโอกาสเสริมจุดแข็ง

NTT DATA (Thailand) ย้ำมั่นใจศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน ด้วย 5 จุดแข็ง จุดยุทธศาสตร์ประเทศเป็นฮับของภูมิภาคอาเซียน เครื่องจักรการผลิตมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับโลก มีระบบขนส่งทางบกและทางน้ำดี นโยบายภาครัฐส่งเสริมเต็มที่ พร้อมทั้งมีโครงข่ายโทรคมนาคมทันสมัยลงทุน 5จี เผยปัจจุบันไทยถูกท้าทายด้วยยานยนต์อนาคตระบบอัจฉริยะ เช่นยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ แนะวาง 4 กลยุทธ์ปรับกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อก้าวข้ามความท้าทายช่วยสร้างโอกาสในการแข่งขัน พร้อมทั้งเสริมจุดแข็งให้อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมการผลิตของไทย 


ฮิโรนาริ โทมิโอกะ (Hironari Tomioka)  ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็นทีที เดต้า (ประเทศไทย) จำกัด หรือ NTT DATA (Thailand) ในเครือบริษัท เอ็นทีที เดต้า คอร์ปอเรชัน จำกัด เปิดเผยว่า มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive) และอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเพื่อประกอบยานยนต์ ของประเทศไทย โดยมี 5 จุดแข็งสำคัญ ได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน เป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 11 ของโลก และเป็นอันดับที่5 ของเอเชีย โดยเป็นรองเพียงประเทศจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และเกาหลีใต้ ทั้งยังเป็นฐานการผลิตเป็นสินค้าประเภทอื่น เช่น สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าอุปโภคและบริโภค ฯลฯ ที่สำคัญของโลก 2.มีระบบขนส่งทางบกและทางน้ำโดยเฉพาะท่าเรือน้ำลึกมีศักยภาพส่งออกสินค้าข้ามทวีป 3.ประเทศไทยเป็นฐานของอุตสาหกรรมการยานยนต์และอุตสาหกรรมการผลิตมานาน เครื่องจักรมีคุณภาพและมาตรฐานการผลิตเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก 4.ภาครัฐให้นโยบายการสนับสนุนยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเต็มที่เช่น นโยบายผลักดันไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก รวมถึงศูนย์กลางการผลิตรถไฟฟ้าทุกประเภทของภูมิภาค ด้วยเป้าหมายผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศในปี 2568 จะมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,051,000 คัน ไปพร้อมกับการเร่งพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อดึงดูดผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าจากทั่วโลก 5.มีโครงข่ายโทรคมนาคมที่ทันสมัย โดยเป็นประเทศต้นๆ ในภูมิภาคที่มีการลงทุนขยายเครือข่าย 5จี ต่อเนื่องพร้อมรองรับการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี 


อย่างไรก็ดี ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเพื่อประกอบรถยนต์ในประเทศไทย กำลังถูกท้าทาย ด้วยทั่วโลกกำลังมุ่งนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปสร้างสรรค์นวัตกรรมยานยนต์แห่งอนาคต นอกจากนี้ยังมี แนวคิด “MaaS (Mobility as a Service)” เปรียบได้กับคลื่นลูกใหม่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า, Connected Car, ระบบขับขี่อัตโนมัติ และอื่นๆ และแนวคิดนี้กำลังวิวัฒนาการไปพร้อมกับเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยี 5จี และ IoT 

“อุตสาหกรรยานยนต์และอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเพื่อประกอบรถยนต์จำเป็นต้องมีการวางกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีให้สอดคล้องเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงและสร้างโอกาสทางการแข่งขันด้วย 4  กลยุทธ์สำคัญคือ 1.Digital Supply Chain and Connected Manufacturing นำเทคโนโลยีและข้อมูลเข้ามาเป็นศูนย์กลาง เพื่อเปลี่ยนกระบวนการการผลิตและการจัดจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล 2.Engaging the Changing Workforce เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในการทำงานของพนักงานทุกคน ผ่านการใช้ข้อมูลเชิงลึกปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและการดูแลพนักงานของธุรกิจอย่างชาญฉลาด3.Customer Centricity นำข้อมูลเชิงลึกและพฤติกรรมของลูกค้ามาออกแบบสินค้าและบริการโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง 4.Digital Smart Products พัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยียานยนต์ครบทุกมิติ ตั้งแต่การเชื่อมต่อ, การเสริม AI ในยานยนต์ไร้คนขับ, การใช้พลังงานไฟฟ้าและการนำเสนอ Digital Product ที่หลากหลายไปกับยานยนต์” 

ฮิโรนาริ กล่าวเสริมว่า ในอุตสาหกรรมยานยนต์การวางแผนเพิ่มการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับการทำงานให้เป็นดิจิทัล ด้วยการมุ่งสร้างนวัตกรรมจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับสร้างประสบการณ์ใหม่อำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค ที่ผ่านมา NTT DATA ประสบผลสำเร็จจากการร่วมมือกับพาทเนอร์ผู้ผลิตยานยนต์ชั้นนำของโลก ในการพัฒนาแพลทฟอร์มสำหรับรวบรวมข้อมูลต่างๆ ผ่านยานพาหนะ Connected Car เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาสินค้าและบริการที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่และมากไปกว่านั้นคือการยกระดับประสบการณ์ผู้บริโภคในด้านยานยนต์อัจฉริยะที่มีความปลอดภัยและประหยัดพลังงานสูง และยังต่อยอดสู่การริเริ่มบริการ MaaS ได้อีกด้วย 


นอกจากการมุ่งสร้างนวัตกรรมใหม่ ในด้านอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเพื่อประกอบรถยนต์จำเป็นต้องพัฒนากระบวนการทำงานของธุรกิจ (Business Process Improvement หรือ BPI)โดยมีที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญการในด้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เป็นดิจิทัล ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มาช่วยวางแผนเพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผล และตรงตามความต้องการของลูกค้า อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ลดเวลาการทำงาน และความสูญเสียที่ไม่จำเป็น