23 ก.ย. 2564 1,501 2

NT ผนึกความร่วมมือ GBDi เปิดตัวระบบ Health Link ตั้งเป้าใช้งาน 1 ล้านราย พร้อมเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษาผู้ป่วยทั่วประเทศจากรพ.รัฐและเอกชน

NT ผนึกความร่วมมือ GBDi เปิดตัวระบบ Health Link ตั้งเป้าใช้งาน 1 ล้านราย พร้อมเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษาผู้ป่วยทั่วประเทศจากรพ.รัฐและเอกชน

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) เปิดตัวบริการ “Health Link” ระบบเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษาผู้ป่วยสถานพยาบาลรัฐ-เอกชนกว่า 100 แห่ง ด้วยมาตรฐานการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นสากล ปลอดภัยสูงสุด พร้อมเปิดให้ประชาชนสมัครร่วมโครงการผ่านแอป“เป๋าตัง”
วงกต วิจักขณ์สังข์สิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานดิจิทัล บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ NT กล่าวว่า NT ได้ร่วมกับ GBDi โดยการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษาผู้ป่วยทั่วประเทศภายใต้ชื่อ “Health Link” โดยรวบรวมข้อมูลประวัติการรักษาของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ มาจัดเก็บด้วยมาตรฐานเดียวกันบนระบบคลาวด์ของ NT ทำให้โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าถึงข้อมูลประวัติการรักษาของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลอื่น ๆ ได้ ระบบ Health Link จะช่วยอำนวยความสะดวกผู้ป่วยในการย้ายโรงพยาบาลหรือกรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน ช่วยให้แพทย์ในโรงพยาบาลใหม่สามารถเรียกดูประวัติการรักษาของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเดิมที่อยู่ในโครงการได้ทันที เพื่อการรักษาที่ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โดยในเฟสแรก Health Link มีเป้าหมายเชื่อมโยงข้อมูลโรงพยาบาล 100 แห่ง
ดร.วงกต กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบ Health Link ได้รับการพัฒนาอยู่บนคลาวด์ของ NT ซึ่งได้มาตรฐานสากลด้านความปลอดภัย ISO 27001 และ CSA STAR เนื่องจากข้อมูลสุขภาพและประวัติการรักษาเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องมีระบบการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานสากล ระบบ Health Link จึงใช้มาตรฐาน Fast Healthcare Interoperability Resources (FHIR) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพที่กำหนดโดยองค์กร Health Level Seven (HL7) International ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก การเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่ระบบ Health Link จะเกิดก็ต่อเมื่อผู้สนใจสมัครใช้งานและยินยอมให้โรงพยาบาลส่งข้อมูลประวัติการรักษาของตนเองเข้าระบบเท่านั้น โดยข้อมูลจะมีการเข้ารหัสในการจัดเก็บเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล และผู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จะต้องเป็นแพทย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภาและปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น อีกทั้ง Health Link ยังรองรับการตรวจสอบย้อนหลังการใช้งานต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนระบบ ประชาชนและโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการจึงสามารถเชื่อมั่นในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของระบบได้
รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบัน GBDi กล่าวว่า การพัฒนาระบบเชื่อมโยงสุขภาพในระดับประเทศที่ผ่านมาเกิดได้ยาก โดยโจทย์สำคัญคือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโรงพยาบาล ที่ผ่านมาโรงพยาบาลต่างมีระบบเก็บข้อมูลผู้ป่วยของตัวเองหลากหลายรูปแบบที่แตกต่าง การแลกเปลี่ยนหรือส่งต่อข้อมูลมีขั้นตอนซับซ้อนและใช้เวลา เป็นอุปสรรคต่อการรักษาผู้ป่วยข้ามโรงพยาบาล เคสฉุกเฉินหรือการส่งผู้ป่วยข้ามจังหวัด ทำให้การรักษาล่าช้าและประชาชนไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร ระบบ Health Link ที่ออกแบบรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลขนาดใหญ่ของโรงพยาบาลทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนามาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพของประเทศไทยให้มีมาตรฐานในระดับสากล ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านข้อมูลสุขภาพของประเทศในภาพรวม
ผู้สนใจใช้บริการ Health Link ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถสมัครใช้บริการ ผ่านทางแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” เลือกเมนู “กระเป๋าสุขภาพ” กดเลือก “Health link” ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.healthlink.go.th/patientinstruction

จากการสอบถามข้อมูลจาก adslthailand พบว่า รายชื่อโรงพยาบาลที่เชื่อมโยงระบบ Health Link

1.โรงพยาบาลบุรีรัมย์
2.สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
3.โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (มช.)
4.โรงพยาบาลศรีสะเกษ
5.โรงพยาบาลระยอง
6.โรงพยาบาล สุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
7.โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
8.โรงพยาบาลแพร่
9.โรงพยาบาลศิริราช
10.โรงพยาบาลสวนปรุง
11.โรงพยาบาลพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
12.โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
13.โรงพยาบาลชลบุรี
14.โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
15.โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
16.โรงพยาบาลเชียงคำ
17.โรงพยาบาลนบพิตำ
18.โรงพยาบาลรามาธิบดี
19.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
20.โรงพยาบาลภูมิพล
21.โรงพยาบาลสมุทรปราการ"

** โรงพยาบาลอื่นๆ อยู่ระหว่างดำเนินการเชื่อมโยงระบบ
โดย Health Link เฟสแรกมีเป้าหมายเชื่อมโยงระบบโรงพยาบาล 100 แห่ง

ปัจจุบันการเชื่อมโยงระบบมากกว่า 30 โรงพยาบาลเป็นที่แล้วทั่วประเทศและกำลังจะเข้ามาอยู่ในโครงการมากกว่า 100 โรงพยาบาล เช่นการเชื่อมโยงได้กับโรงพยาบาลศิริราชโรงพยาบาลรามาสามารถใช้งานได้ร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวจะทำให้เราทราบข้อมูลของผู้ป่วยระหว่างกันและรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องกับยาถูกต้องกับวิธีการรักษาให้กับผู้ป่วยเพราะผู้ป่วยมีความแตกต่างกัน

ซึ่งในอนาคตจะมีการเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลเอกชนอีกด้วย เช่นโรงพยาบาลในต่างจังหวัดอย่างโรงพยาบาลราชพฤกษ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนก็เข้ามาร่วมเช่นเดียวกัน มีระบบความรักษาความปลอดภัยอย่างดีทั้งการซ่อน IP และมีการจำกัดในการใช้งานของโปรแกรมระหว่างกันที่สำคัญยังมีระบบการรักษาความปลอดภัยในเรื่องของความถี่ในการใช้ข้อมูลมีการใช้รหัสในการเข้าเชื่อมโยงระหว่าง Network อีกด้วยหาก Server ตรงจุดไหนมีปัญหาระบบก็จะมีการป้องกันทางด้านข้อมูลของผู้ใช้งานทันที

ระบบดังกล่าวถือว่าเป็นระบบใหญ่ที่โรงพยาบาลเล็กและโรงพยาบาลใหญ่สามารถใช้งานได้ร่วมกันดังนั้นศักยภาพของโรงพยาบาลเล็กที่พยายามจากสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถมาพึ่งพาเทคโนโลยีนี้ได้ทันทีเพราะเทคโนโลยี่นี้มีความปลอดภัยมากๆ ตั้งเป้าปีนี้ต้องการให้ได้คนใช้มากกว่า 100,000 รายโดยปัจจุบันมีการใช้งานแล้วมากกว่า 40,000 ราย โครงการดังกล่าวเป็นโครงการระยะยาวตั้งเป้าที่จะต้องมีผู้ใช้งานผ่านระบบนี้มากกว่า 1 ล้าน ราย เพื่อให้เกิดเป็นอินแพ็คของการใช้งานอย่างแท้จริง ในอนาคตมีลุ้นการเชื่อมโยคค่ารักษาพยาบาลระหว่างกัน



รายชื่อโรงพยาบาลที่เชื่อมโยงระบบ Health Link ????????


1.โรงพยาบาลบุรีรัมย์
2.สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
3.โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (มช.)
4.โรงพยาบาลศรีสะเกษ
5.โรงพยาบาลระยอง
6.โรงพยาบาล สุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
7.โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
8.โรงพยาบาลแพร่
9.โรงพยาบาลศิริราช
10.โรงพยาบาลสวนปรุง
11.โรงพยาบาลพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
12.โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
13.โรงพยาบาลชลบุรี
14.โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
15.โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
16.โรงพยาบาลเชียงคำ
17.โรงพยาบาลนบพิตำ
18.โรงพยาบาลรามาธิบดี
19.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
20.โรงพยาบาลภูมิพล
21.โรงพยาบาลสมุทรปราการ"
 
** โรงพยาบาลอื่นๆ อยู่ระหว่างดำเนินการเชื่อมโยงระบบ
   โดย Health Link เฟสแรกมีเป้าหมายเชื่อมโยงระบบโรงพยาบาล 100 แห่ง

Security ระบบ Health Link

  นอกเหนือจากการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐาน ISO 27001  ระบบ Health Link ยังได้รับการปกป้องความปลอดภัยของระบบและความลับข้อมูล ด้วยกลไกภายในระบบที่ปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ การเข้ารหัสข้อมูลตลอดเส้นทางและการจัดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับอย่างดี  อีกทั้งยังมีการตรวจสอบความปลอดภัยทาง cyber อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

   1. ข้อมูลจัดเก็บบนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ที่มีกลไกการสร้างระบบภายในแบบคู่แฝด (redundancy) เพื่อการปกป้องข้อมูลจากการสูญเสีย
  2. มีกลไกสำหรับการจัดการการใช้งานที่ปกป้องไม่ให้ระบบล่ม โดยระบบคลาวด์ของโครงการมี SLA ที่ 99.8% มอนิเตอร์การใช้งานของระบบอยู่ตลอดเวลา และรองรับการขยายการประมวลผลของระบบให้ตอบสนองต่อความต้องการใช้งานได้ทันที
  3. ข้อมูลสุขภาพจะถูกเข้ารหัส (Encrypted) ตลอดกระบวนการของการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีบุคคลภายนอกสามารถเปิดอ่านข้อมูลได้ระหว่างทาง
  4. บันทึกรายละเอียดประวัติการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนระบบโดยอัตโนมัติ
  5. ระบบได้ออกแบบในส่วนของ Privacy ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล